ท่าอากาศยานนราธิวาส

ท่าอากาศยานนราธิวาส (IATA: NAWICAO: VTSC) ตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4136 (นราธิวาส-บ้านทอน) ที่บ้านทอน ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือ ระยะทาง 13 กิโลเมตร เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[1] และได้ประกาศเป็นท่าอากาศยานศุลกากรเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2539[2] มีลานจอดรถยนต์ที่สามารถจุรถยนต์ได้ประมาณ 350 คัน

ท่าอากาศยานนราธิวาส
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานทหาร / สาธารณะ (ศุลกากร)
ผู้ดำเนินงานกองทัพเรือไทย / กรมท่าอากาศยาน
พื้นที่บริการจังหวัดนราธิวาส
ที่ตั้งตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
เหนือระดับน้ำทะเล16 ฟุต / 5 เมตร
พิกัด06°31′12″N 101°44′36″E / 6.52000°N 101.74333°E / 6.52000; 101.74333
เว็บไซต์https://minisite.airports.go.th/narathiwat/
แผนที่
แผนที่
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
02/20 8,202 2,500 ยางมะตอย
สถิติ (2563)
ผู้โดยสาร149,049
เที่ยวบิน1,311
แหล่งข้อมูล: http://www.airports.go.th

ปัจจุบันท่าอากาศยานนราธิวาสมีทางวิ่ง 2,500 เมตรเพื่อรองรับอากาศยานลำใหญ่ในอนาคต เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2556 ได้เปิดเที่ยวบินปฐมฤกษ์ เดินทางจากท่าอากาศยานนราธิวาสไปท่าอากาศยานเมืองญิดดะฮ์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ด้วยเครื่องบินของการบินไทย

ประวัติ

แก้

ท่าอากาศยานนราธิวาส เดิมเรียกว่า สนามบินบ้านทอน ต่อมาได้ชื่อเรียกตามทางราชการว่า ท่าอากาศยานนราธิวาส เนื่องจากได้มีการก่อสร้างพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สำหรับประทับในกรณีแปรพระราชฐานเสด็จฯ เยี่ยมพสกนิกรในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสและใกล้เคียง ในปี พ.ศ. 2517 ทางราชการจึงได้มอบหมายการปรับปรุงและพัฒนาสนามบินของกองทัพอากาศให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยแก่เครื่องบินพระที่นั่ง รวมทั้งพระราชอาคันตุกะและบุคคลทั่วไป

ในปี พ.ศ. 2518 ได้มีการต่อเติมความยาวทางวิ่งออกไปทางทิศใต้ สร้างทางขับ ลานจอดอากาศยาน และอาคารต่างๆ เช่น หอบังคับการบินสูง 3 ชั้น และอาคารรับรอง โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 12,118,282 บาท จากนั้นก่อสร้างและต่อเติมอาคารที่พักผู้โดยสารพื้นที่ 100 ตารางเมตร โดยใช้รวมกับผู้โดยสารขาเข้าและขาออก ในปี พ.ศ. 2523 วงเงินงบประมาณ 1,040,000 บาท

พ.ศ. 2533 ได้มีการต่อเติมอาคารขยายอาคารที่พักผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอีก ขนาดพื้นที่ 135 ตารางเมตร วงเงินงบประมาณ 2,440,000 บาท และในปี พ.ศ. 2538 มีการก่อสร้างหอบังคับการบินหลังใหม่ สูง 6 ชั้น วงเงิน 12,210,000 บาท

พ.ศ. 2540 มีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ พร้อมระบบปรับอากาศและก่อสร้างลานจอดรถยนต์ วงเงิน 99,980,800 บาท และปรับปรุงทางวิ่ง ทางขับ อาคารรับเสด็จ และอาคารประกอบใหม่ทั้งหมดจนถึงปี พ.ศ. 2551

พ.ศ. 2552 กรมการขนส่งทางอากาศ (กรมท่าอากาศยานในปัจจุบัน)ได้ดำเนินโครงการต่อเติมความยาวทางวิ่ง ท่าอากาศยานนราธิวาส จากเดิมที่มีความยาวทางวิ่ง 2,000 เมตร และได้รับงบประมาณสำหรับต่อเติมความยาวทางวิ่ง ลานกลับลำ ความยาวอีก 500 เมตร รวมเป็น 2,500 เมตร เพื่อให้ทางวิ่งสามารถรองรับเครื่องบินพาณิชย์ขนาด 250 ที่นั่ง แบบ แอร์บัส เอ300-600 ทำการบินระหว่างประเทศตามนโยบายที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการขยายปรับปรุงทางขับและลานจอดเครื่องบินของเดิมให้สามารถจอดเครื่องบินแบบ แอร์บัส เอ300-600 ได้ 1 ลำ เครื่องบิน โบอิง 737-400 ได้ 2 ลำ เครื่องบินขนาดไม่เกิน 80 ที่นั่ง 1 ลำ และที่จอดรถเฮลิคอปเตอร์ แบบ 212/UH-IN 2 ลำ จอดพร้อมกันได้เวลาเดียวกัน พร้อมทั้งระบบไฟฟ้าท่าอากาศยาน ถนนภายใน ระบบระบายน้ำ ทาสีเครื่องหมาย และอื่นๆ ตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ[3]

อาคารสถานที่

แก้

อาคารผู้โดยสาร

แก้

ท่าอากาศยานนราธิวาสมีอาคารผู้โดยสาร 1 อาคาร โดยมีรายละเอียดดังนี้[4]

  • ร้านอาหาร บริเวณชั้น 1 ของอาคารผู้โดยสาร
  • ร้านขายของที่ระลึก บริเวณชั้น 1 ของอาคารผู้โดยสาร
  • ห้องน้ำ - ตั้งอยู่ทั้งสองด้านของชั้น 1 และชั้น 2 ของอาคารผู้โดยสาร
  • ตู้กดเงินอัตโนมัติ บริเวณด้านหน้าสนามบิน ติดถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4136 (นราธิวาส-บ้านทอน) (ตู้ธนาคารกรุงไทย)
  • เคาน์เตอร์เช็คอิน ไทยแอร์เอเชีย และ การบินไทย - ภายในอาคารผู้โดยสาร บริเวณด้านหน้าประตูทางเข้าอาคารผู้โดยสาร
  • เคาเตอร์จำหน่ายตั๋ว บริเวณชั้น 1 ไทยแอร์เอเชีย บริเวณทางออกอาคารผู้โดยสาร การบินไทย บริเวณทางเข้าอาคารผู้โดยสาร(ข้างๆเครื่องเอกซเรย์)
  • เคาน์เตอร์ตรวจหนังสือเดินทาง บริเวณชั้น1 ด้านหน้าทางเข้าอาคารผู้โดยสารขาออกและด้านในบริเวณอาคารผู้โดยสารขาเข้า(ช่วงพิธีฮัจย์)

ลานจอดอากาศยาน หน้าอาคารรับเสด็จฯ มีขนาดกว้าง 80 เมตร และยาว 180 เมตร และหน้าอาคารที่พักผู้โดยสาร มีขนาดกว้าง 90 เมตร และยาว 120 เมตร[3]

ห้องละหมาด

แก้

ณ ท่าอากาศยานนราธิวาส มีห้องละหมาดสำหรับการประกอบศาสนกิจของผู้ใช้บริการที่เป็นมุสลิม ทั้งหมด 2 จุด ดังนี้

  • บริเวณชั้น 2 ภายในอาคารที่พักผู้โดยสาร ฝั่งห้องผู้โดยสารขาออก (ทิศตะวันตก) แบ่งเป็นห้องละหมาดหญิงและชาย มีห้องน้ำและที่อาบน้ำละหมาดภายในตัว
  • บริเวณอาคารอเนกประสงค์ แบ่งเป็นห้องละหมาดหญิง (อยู่หลังเวทีในตัวอาคาร) และห้องละหมาดชาย (อยู่ข้างอาคารฝั่งซ้าย) มีที่อาบน้ำละหมาดในอาคาร[5]

ทางวิ่ง (รันเวย์) และทางขับ (แท็กซี่เวย์)

แก้

ทางวิ่งของท่าอากาศยานนราธิวาสมี 1 เส้น พื้นผิวแอสฟัลติกคอนกรีต (asphaltic-concrete) ขนาดกว้าง 45 เมตร พร้อมไหล่ทางวิ่งข้างละ 7.5 เมตร และยาว 2,500 เมตร พร้อมพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง (blastpads) ขนาดกว้างข้างละ 60 เมตร และความยาวข้างละ 65 เมตร

ทางขับของท่าอากาศยานนราธิวาสมี 2 เส้น พื้นผิวแอสฟัลติกคอนกรีต (asphaltic-concrete) ขนาดกว้าง 25 เมตร และยาว 150 เมตร จำนวน 1 เส้น และขนาดกว้าง 23 เมตร และยาว 178 เมตร จำนวน 1 เส้น[3]

เหตุการณ์สำคัญ

แก้

11 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เครื่องบินของกองทัพเรือ แบบ Fokker F-27 ทะเบียน RTN-1202 บินจากท่าอากาศยานอู่ตะเภา ปลายทางท่าอากาศยานนราธิวาส ประสบเหตุขัดข้องล้อหน้าไม่กาง ท่าอากาศยานนราธิวาสได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่กู้ภัยและดับเพลิงเตรียมพร้อมก่อนเครื่องลงจอด ทั้งนี้ เที่ยวบินดังกล่าวมีกัปตันและลูกเรือรวม 11 คนโดยนักบินสามารถประคองเครื่องลงจอดได้อย่างปลอดภัย ขณะที่เครื่องบินได้รับความเสียหายเล็กน้อย ต่อมาท่าอากาศยานนราธิวาส ออกประกาศ NOTAM แจ้งปิดรันเวย์ เพื่อเคลื่อนย้ายเครื่องบิน ส่งผลให้สายการบินไทยสมายล์ เที่ยวบินที่ WE 291 เส้นทาง สุวรรณภูมิ - นราธิวาส ต้องบินไปลงที่ท่าอากาศยานหาดใหญ่ โดยสายการบินจัดรถรับส่งผู้โดยสารต่อมายัง จ.นราธิวาส[6][7]

รายชื่อสายการบิน

แก้

รายชื่อสายการบินที่ให้บริการ

แก้
สายการบิน จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
การบินไทย เฉพาะฮัจญ์ ญิดดะฮ์ ขาเข้า/ขาออก ระหว่างประเทศ
มะดีนะฮ์ ขาออก/ขาเข้า ระหว่างประเทศ
การบินไทย กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ ยกเลิกชั่วคราว ภายในประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
นกแอร์ เหมาลำทหาร/ตำรวจ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
นกแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง อนาคต ภายในประเทศ

รายชื่อสายการบินที่เคยให้บริการ

แก้
สายการบิน จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
การบินไทย หาดใหญ่ ภายในประเทศ
กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
วันทูโก กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
นิวเจนแอร์เวย์ส กรุงเทพฯ-ดอนเมือง เช่าเหมาลำทางทหาร
ไทยสมายล์ กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ

สถิติ

แก้

ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ

แก้
ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศในแต่ละปีปฏิทิน[8]
ปี (พ.ศ.) ผู้โดยสาร ความเปลี่ยนแปลง จำนวนเที่ยวบิน คาร์โก้ (ตัน)
2544 32,295 730 275.81
2545 23,676   26.69% 886 92.58
2546 16,384   30.80% 591 15.34
2547 307   98.13% 55 0.00
2548 30,877   9,957.65% 297 0.00
2549 65,240   111.29% 662 0.00
2550 79,876   22.43% 804 0.00
2551 78,942   1.17% 724 0.00
2552 79,802   1.09% 734 0.00
2553 105,152   31.77% 1,020 16.10
2554 116,478   10.77% 1,027 0.00
2555 104,612   10.19% 735 0.00
2556 111,891   6.96% 728 0.00
2557 111,328   0.50% 732 0.00
2558 162,413   45.89% 1,512 0.00
2559 241,721   48.83% 2,039 0.00
2560 258,864   7.09% 1,892 0.00
2561 216,856   16.23% 1,486 0.00
2562 230,701   6.38% 1,628 0.15
2563 149,049   35.39% 1,311 0.00

การเดินทางสู่ท่าอากาศยาน

แก้

ท่าอากาศยานนราธิวาสตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4136 (นราธิวาส-บ้านทอน) โดยมีลานจอดรถยนต์ทั้งหมด 8 ลานจอด สามารถจุรถยนต์ได้ประมาณ 350 คัน สามารถจอดรถชั่วคราว (ระยะเวลาจอดไม่เกิน 1 คืน) บริเวณลานจอด 1, 2, 3,4,5, 6, 7, 8 สำหรับทั้งเจ้าหน้าที่และผู้มารับ-ส่งผู้โดยสารเท่านั้น แต่ไม่อนุญาตให้จอดรถค้างคืน เนื่องจากในปัจจุบันท่าอากาศยานนราธิวาสได้ยกระดับมาตรการรักษาความปลอดภัยเพิ่มขึ้น

บริการรถรับ-ส่ง

แก้

ท่าอากาศยานนราธิวาส ยังไม่มีบริการรถประจำทาง (รถสองแถว) แต่มีบริการรถรีมูซีนรับ-ส่งผู้โดยสาร ตามเส้นทางดังนี้

  • ท่าอากาศยานนราธิวาส – ตัวเมืองนราธิวาส
  • ท่าอากาศยานนราธิวาส – อำเภอตากใบ
  • ท่าอากาศยานนราธิวาส – อำเภอสุไหงโก-ลก
  • ท่าอากาศยานนราธิวาส – ด่านตาบา
  • สถานีรถไฟตันหยงมัส (อ.ระแงะ) ตั้งอยู่ห่างจากท่าอากาศยานนราธิวาส ประมาณ 35 กิโลเมตร ผูโดยสารสามารถนั่งรถรีมูซีนจากท่าอากาศยานนราธิวาส ไปยังสถานีขนส่งนราธิวาส และต่อรถประจำทาง (สองแถว) สาย นราธิวาส - ตันหยงมัส เพื่อไปยังสถานีรถไฟได้

[9]

อ้างอิง

แก้
  1. "รายชื่อท่าอากาศยานของกรมท่าอากาศยาน". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "รายชื่อท่าอากาศยานศุลกากร". กรมท่าอากาศยาน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 "ประวัติและข้อมูลทางกายภาพของท่าอากาศยานนราธิวาส". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ข้อมูลแสดงลักษณะกายภาพของท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมท่าอากาศยานจากเว็บไซต์ กรมท่าอากาศยาน
  5. "ห้องละหมาด ท่าอากาศยานนราธิวาส". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "เครื่องบินกองทัพเรือ จอดฉุกเฉินสนามบินนราธิวาส ล้อหน้าไม่กาง โชคดีผู้โดยสารปลอดภัย". mgronline.com. 2020-08-11.
  7. "ระทึก! เครื่องบิน ทร.ล้อหน้าไม่กาง ลงจอดฉุกเฉิน". Thai PBS.
  8. "ข้อมูลสถิติท่าอากาศยานสังกัดกรมท่าอากาศยาน". กรมท่าอากาศยาน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "บริการรถโดยสารรับ-ส่ง ท่าอากาศยานนราธิวาส". กรมท่าอากาศยาน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-28. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)