ข้อพิพาทดินแดนในทะเลจีนใต้

ข้อพิพาททะเลจีนใต้เกี่ยวกับการอ้างสิทธิเหนือเกาะและทะเลในหลายรัฐเอกราชบริเวณทะเลจีนใต้ คือ ประเทศบรูไน จีน ไต้หวัน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และเวียดนาม

ภาพแสดงการอ้างสิทธิเหนือทะเลของรัฐต่างๆ

มีข้อพิพาทเกี่ยวกับหมู่เกาะสแปรตลีและพาราเซล เช่นเดียวกับแนวแบ่งเขตทางทะเลในอ่าวตังเกี๋ยและที่อื่น มีข้อพิพาทอีกในน่านน้ำใกล้หมู่เกาะนาตูนาของอินโดนีเซีย ผลประโยชน์ของหลายชาติมีการได้พื้นที่ประมงรอบสองกลุ่มเกาะดังกล่าว การแสวงหาประโยชน์ที่เป็นไปได้จากน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติซึ่งสงสัยว่าอยู่ใต้หลายส่วนของทะเลจีนใต้ และการควบคุมเส้นทางเดินเรือสำคัญทางยุทธศาสตร์

ข้อพิพาทเฉพาะ

แก้
สรุปข้อพิพาท
BN KH CN ID MY PH SG TW VN
พื้นที่เส้นเก้าขีด
ชายฝั่งเวียดนาม
พื้นที่ทะเลทางเหนือของเกาะบอร์เนียว
หมู่เกาะทะเลจีนใต้
พื้นที่ทะเลทางเหนือของหมู่เกาะนาทูนา
พื้นที่ทะเลทางตะวันตกของปาลาวันและลูซอน
พื้นที่ซาบะฮ์
ช่องแคบลูซอน
พื้นที่เปดราบลังกา

ข้อพิพาทเกี่ยวข้องทั้งแนวแบ่งเขตทางทะเลและหมู่เกาะ มีหลายข้อพิพาทโดยข้อพิพาทหนึ่งจะมีประเทศเกี่ยวข้องต่างกัน

  1. พื้นที่เส้นเก้าขีด (nine-dash line) มีสาธารณรัฐจีนอ้าง ต่อมาคือ ประเทศจีน ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทะเลจีนใต้ส่วนมากและทับซ้อนกับการอ้างเขตเศรษฐกิจเฉพาะของประเทศบรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวันและเวียดนาม
  2. แนวแบ่งเขตทางทะเลตามชายฝั่งเวียดนามระหว่างประเทศบรูไน กัมพูชา จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวันและเวียดนาม
  3. แนวแบ่งเขตทางทะเลทางเหนือของเกาะบอร์เนียวระหว่างประเทศบรูไน จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวันและเวียดนาม
  4. หมู่เกาะทะเลจีนใต้ ซึ่งรวมหมู่เกาะพาราเซล หมู่เกาะปราตัส เกาะปะการังสการ์โบโรห์ และหมู่เกาะสแปรตลี ระหว่างประเทศบรูไน จีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวันและเวียดนาม
  5. แนวแบ่งเขตทางทะเลในน่านน้ำทางเหนือของหมู่เกาะนาทูนาระหว่างประเทศกัมพูชา จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไต้หวันและเวียดนาม[1]
  6. แนวแบ่งเขตทางทะเลนอกชายฝั่งปาลาวันและลูซอนระหว่างประเทศบรูไน จีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวันและเวียดนาม
  7. แนวแบ่งเขตทางทะเล ดินแดนทางบก และเกาะซาบะฮ์ซึ่งรวมอัมบาลัต (Ambalat) ระหว่างประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซียและฟิลิปปินส์
  8. แนวแบ่งเขตทางทะเลและหมู่เกาะในช่องแคบลูซอนระหว่างประเทศจีน ฟิลิปปินส์และไต้หวัน
  9. แนวแบ่งเขตทางทะเลและหมู่เกาะในเปดราบรังกา (และมิดเดิลร็อกส์) ระหว่างประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. John Pike. "Natuna Islands". สืบค้นเมื่อ 30 July 2015.