กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ

กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ (อักษรย่อ: สสท.ทร.[8]; อังกฤษ: Naval Communications and Information Technology Department) หรือชื่อเดิม กรมสื่อสารทหารเรือ (อักษรย่อ: สส.ทร.[4]) เป็นส่วนราชการของกองทัพเรือไทย ซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ[1][2] โดยมีเจ้ากรมคนปัจจุบัน ( 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566) ได้แก่ เจ้ากรมคนปัจจุบันได้แก่ พลเรือโท วัชระ พัฒนรัฐ​[9]รองเจ้ากรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือได้แก่ พลตรี วรัญ เกษร[10] นอกจากนี้ กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ ยังเป็นหนึ่งในกำลังพลที่เข้าร่วมการปฏิบัติภารกิจความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[11]

กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ
กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ
ประเทศ ไทย
บทบาทการสื่อสาร[1][2]
เทคโนโลยีสารสนเทศ[1][2]
การสงครามอิเล็กทรอนิกส์[1][2]
ส่งกำลังและซ่อมบำรุง[1][2]
กิจการวิทยุกระจายเสียง[1][2]
กองบัญชาการพระราชวังเดิม ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600
สมญานักรบไซเบอร์[3]
เพลงหน่วยเพลงมาร์ชกรมสื่อสารทหารเรือ
(ประพันธ์โดยพันจ่าเอก บรรพต พุทธรักษา)
วันสถาปนา13 มกราคม พ.ศ. 2456; 111 ปีก่อน (2456-01-13)[2]
ปฏิบัติการสำคัญสงครามอินโดจีน[4]
ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้[5]
ผู้บังคับบัญชา
เจ้ากรมปัจจุบันพลเรือโท[6] วัชระ พัฒนรัฐ​[7]
ผบ. สำคัญพลเรือตรี ศักดิ์สิทธิ์ เชิดบุญเมือง[4]
พลเรือตรี ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์[2]

ประวัติ แก้

กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ ถือกำเนิดพร้อมกับการก่อตั้งกรมเสนาธิการทหารเรือ ในฐานะแผนกหนึ่งของกรมเสนาธิการทหารเรือ ในชื่อ "แผนกอาณัติสัญญาณ" โดยมีหน่วยงานในสังกัด 3 หน่วย ได้แก่ สถานีวิทยุโทรเลขทหารเรือกรุงเทพ, สถานีวิทยุโทรเลขทหารเรือสงขลา และสถานีวิทยุโทรเลขในเรือหลวง[2]

ซึ่งสถานีวิทยุของแผนกอาณัติสัญญาณได้เปิดการติดต่อสื่อสารทางวิทยุครั้งแรกในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2456 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณากระทำพิธีเปิดสถานีวิทยุโทรเลขทหารเรือเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ณ ตำบลศาลาแดง พระนคร ซึ่งมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ รับพระราชโทรเลขฉบับปฐมฤกษ์ ที่สถานีวิทยุทหารเรือสงขลา[2][4]

กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ จึงถือเอาวันที่ 13 มกราคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนา[2][4]

สำหรับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2496 การสื่อสารราชนาวีได้ถือกำเนิดใหม่ในชื่อ "กองสื่อสาร" ซึ่งขึ้นกับกรมยุทธการทหารเรือ โดยในช่วงประมาณกลางปีดังกล่าวได้ย้ายจากพระราชวังเดิม ไปอยู่ที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า[4]

ครั้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2498 ได้มีพระราชกฤษฎีกา ให้กองสื่อสารเปลี่ยนชื่อเป็น "กรมสื่อสารทหารเรือ" และในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 ก็ได้ย้ายมาอยู่พระราชวังเดิมชั้นใน พร้อมจัดตั้งส่วนราชการใหม่ โดยจัดเป็นกรมในส่วนบัญชาการของกองทัพเรือ[4]

กระทั่งปี พ.ศ. 2552 กองทัพเรือไทยได้ปรับปรุงโครงสร้างกองทัพ โดยได้ทำการเปลี่ยนกรมสื่อสารทหารเรือ มาเป็น "กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ"[2]

การศึกษาดูงาน แก้

ตั้งแต่อดีต กรมสื่อสารทหารเรือได้จัดส่งบุคลากรไปศึกษาดูงานในต่างประเทศ เพื่อกลับมาพัฒนาระบบของทหารเรือให้มีประสิทธิภาพ[4] รวมถึงปี พ.ศ. 2555 คณะข้าราชการจากกรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ ได้เดินทางไปศึกษาดูงานที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร[12] ส่วนในปี พ.ศ. 2561 กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ ก็ได้ให้การต้อนรับคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสารมวลชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่เดินทางมาศึกษาดูงาน[13]

สิ่งสืบทอด แก้

กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ ยังได้นำเสนอแนวทางการรักษาความปลอดภัย ด้านการสื่อสารและสารสนเทศ แก่หน่วยต่าง ๆ ของกองทัพเรือ[14] รวมถึงพัฒนาบุคลากรทางการทหารให้มีความเชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ ทั้งเชิงรับและเชิงรุก[3]

กิจกรรมเพื่อสังคม แก้

เดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ ได้มีส่วนช่วยผู้ประสบภัยหนาวอย่างรุนแรง ในบริเวณชายแดนภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยการมอบผ้าห่มกันหนาว ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากบริษัท แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)[15]

รางวัลที่ได้รับ แก้

  • พ.ศ. 2560 : รางวัลระดับพื้นฐาน – วันแห่งการจัดการความรู้ของกองทัพเรือ ประจำปีงบประมาณ 2560 จากพลเรือเอก ณะ อารีนิจ ผู้บัญชาการทหารเรือ[16][17]

รายนามเจ้ากรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ แก้

  1. นาวาโท พระวิทยุทูรลิขิต (1 เมษายน พ.ศ. 2456 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2468)
  2. นาวาโท พระโทรกิจชำนาญ (1 มิถุนายน พ.ศ. 2468 - 4 มกราคม พ.ศ. 2475)
  3. นาวาตรี หลวงวิทยุกลวิจักษณ์ (5 มกราคม พ.ศ. 2475 - 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476)
  4. เรือเอก หลวงตะรีกลรักษ์ (27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 - 19 ธันวาคม พ.ศ. 2476)
  5. เรือเอก หลวงชินะนาวิน (22 ธันวาคม พ.ศ. 2476 - 14 มกราคม พ.ศ. 2477)
  6. นาวาโท หลวงสวัสดิ์วรฤทธิ์ (17 ธันวาคม พ.ศ. 2477 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482)
  7. นาวาโท สงบ จรูญพร (9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 - 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2484)
  8. พลเรือตรี ชรี สินธุโสภณ (16 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 - 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2494)
  9. นาวาเอก ชลอ สินธุเสนีย์ (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2494)
  10. นาวาเอก ใบ เทศนสดับ (2 สิงหาคม พ.ศ. 2494 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2495)
  11. นาวาเอก แสวง กาญจนกนก (1 มกราคม พ.ศ. 2496 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2498)
  12. พลเรือตรี เอกไชย อิศรางกูร ณ อยุธยา (1 มกราคม พ.ศ. 2499 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2499)
  13. พลเรือตรี ยิ่ง ศรีหงษ์ (1 มกราคม พ.ศ. 2500 - 7 สิงหาคม พ.ศ. 2500)
  14. พลเรือตรี ประสิทธิ์ ใยเงิน (30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2500)
  15. พลเรือตรี ประชุม ธรรมโมกขะเวส (1 มกราคม พ.ศ. 2501 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2501)
  16. พลเรือตรี สถาปน์ เกยานนท์ (1 มกราคม พ.ศ. 2502 - 30 กันยายน พ.ศ. 2504)
  17. พลเรือตรี ปิติ ตันติเวสส (1 ตุลาคม พ.ศ. 2504 - 30 กันยายน พ.ศ. 2510)
  18. พลเรือตรี สุรพล แสงโชติ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2510 - 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516)
  19. พลเรือตรี ศิริ ศิริรังษี (1 ตุลาคม พ.ศ. 2520 - 30 กันยายน พ.ศ. 2526)
  20. พลเรือตรี เจตน์ ธัมมรัคคิต (1 ตุลาคม พ.ศ. 2526 - 30 กันยายน พ.ศ. 2529)
  21. พลเรือตรี สมพงษ์ กมลงาม (1 ตุลาคม พ.ศ. 2529 - 30 กันยายน พ.ศ. 2531)
  22. พลเรือตรี สุวิทย์ บัวเผื่อน (1 ตุลาคม พ.ศ. 2531 - 30 กันยายน พ.ศ. 2532)
  23. พลเรือตรี เกษมศักดิ์ พรหมบุตร (1 ตุลาคม พ.ศ. 2532 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2533)
  24. พลเรือตรี พยุง ผดุงนาวิน (1 เมษายน พ.ศ. 2533 - 30 กันยายน พ.ศ. 2533)
  25. พลเรือตรี ทวีศักดิ์ ศรีประยูร (1 ตุลาคม พ.ศ. 2533 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2534)
  26. พลเรือตรี ธำรง วิบูลย์เสถียร (1 เมษายน พ.ศ. 2534 - 30 กันยายน พ.ศ. 2535)
  27. พลเรือตรี เกรียงวุธ สมุทรกลิน (1 ตุลาคม พ.ศ. 2535 - 30 กันยายน พ.ศ. 2537)
  28. พลเรือตรี วีระ จงเจริญ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2537 - 30 กันยายน พ.ศ. 2539)
  29. พลเรือตรี มนตรี อติแพทย์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2539 - 30 กันยายน พ.ศ. 2540)
  30. พลเรือตรี วิชล ภูษา (1 ตุลาคม พ.ศ. 2540 - 30 กันยายน พ.ศ. 2541)
  31. พลเรือตรี ไพศาล อัมระปาล (1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - 30 กันยายน พ.ศ. 2542)
  32. พลเรือตรี ชัชวาลย์ อัมระปาล (1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 - 30 กันยายน พ.ศ. 2544)
  33. พลเรือตรี นพดล โชคระดา (1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 - 30 กันยายน พ.ศ. 2545)
  34. พลเรือตรี ศักดิ์สิทธิ์ เชิดบุญเมือง (1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 30 กันยายน พ.ศ. 2547)
  35. พลเรือตรี อมรเทพ ณ บางช้าง (1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 - 30 กันยายน พ.ศ. 2549)
  36. พลเรือตรี ชุมนุม อาจวงษ์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 30 กันยายน พ.ศ. 2551)
  37. พลเรือตรี พัลลภ ตมิศานนท์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 - 30 กันยายน พ.ศ. 2552)
  38. พลเรือตรี ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 - 30 กันยายน พ.ศ. 2553)
  39. พลเรือตรี พงษ์เทพ หนูเทพ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 - 30 กันยายน พ.ศ. 2554)
  40. พลเรือตรี พลเดช เจริญพูล (1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 30 กันยายน พ.ศ. 2555)
  41. พลเรือตรี วิโรจน์ ธันวรักษ์กิจ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557)
  42. พลเรือโท พูลศักดิ์ อุบลเทพ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558)
  43. พลเรือโท วิโรจน์ ธันวรักษ์กิจ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560)
  44. พลเรือโท พงศกร กุวานนท์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561)
  45. พลเรือโท อรัญ นำผล (1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 - 30 กันยายน พ.ศ. 2562)
  46. พลเรือโท กฤษดา ประพฤติธรรม (1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 - 30 กันยายน พ.ศ. 2564)
  47. พลเรือโท อะดุง พันธุ์เอี่ยม (1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 - 30 กันยายน พ.ศ. 2565)
  48. พลเรือโท ชยุต นาเวศภูติกร (1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 - 30 กีนยายน พ.ศ. 2566)
  49. พลเรือโท[18] วัชระ พัฒนรัฐ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน)[19]

ยศทหารเป็นยศขณะดำรงตำแหน่งและในวงเล็บเป็นระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 พระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการ กองทัพเรือ กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 ๑๓ มกราคม วันคล้ายวันสถาปนากรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ
  3. 3.0 3.1 ทัพเรือเร่งฝึก 'นักรบไซเบอร์' รับมือภัยคุกคามระบบสารสนเทศ - ไทยรัฐ
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 วารสาร 100 ปี กรมสื่อสาร - SlideShare
  5. ไม่ใช่แค่ สวย แกร่ง เก่ง...แต่เสียสละสุด ๆ !! พร้อมแล้ว !! 121 "เหยี่ยวดำ" ทหารพรานหญิง นย.รุ่นแรกลงใต้.ผบ.ทร.ให้กำลังใจ และชื่นชมประดู่เหล็กหญิง
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 39 ข หน้า 8 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 27 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  8. "ส่วนบัญชาการ : Command and General Staff Group - โรงเรียนนายเรือ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-24. สืบค้นเมื่อ 2019-05-02.
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 34 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 38 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  11. "บ้านเมือง - แกร่งไม่แพ้ชาย! ทหารพรานหญิงคืนความสงบสุขภาคใต้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-19. สืบค้นเมื่อ 2019-05-02.
  12. ไอซีทีต้อนรับคณะผู้เยี่ยมชม กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ทหารเรือ
  13. "นางเสาวณี สุวรรณชีพ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สาม พร้อมคณะ ศึกษาดูงานเกี่ยวกับระบบการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศและศูนย์ไซเบอร์กองทัพเรือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-30. สืบค้นเมื่อ 2019-05-02.
  14. “ทัพเรือ” จัดกิจกรรม “โชว์ แชร์ ช็อป ใช้” เพิ่มทักษะ-เสริมความรู้กำลังพล - ข่าวสด
  15. ทร.รับมอบผ้าห่มกันหนาว 7,000 ผืน-อุปกรณ์การศึกษา ช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาว
  16. ทร.ยกระดับขีดความสามารถกำลังพลในกิจกรรม 'วันแห่งการจัดการความรู้' - ไทยรัฐ
  17. หอประชุมกองทัพเรือ
  18. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 39 ข หน้า 8 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  19. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 34 วันที่ 30 สิงหาคม 2566

แหล่งข้อมูลอื่น แก้