กองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ

กองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ (อักษรย่อ: กทบ.กร.;[1] อังกฤษ: Mine Squadron, Royal Thai Fleet) เป็นกองเรือที่มีบทบาทสำคัญในการสงครามทุ่นระเบิดของกองทัพเรือไทย[2][9][10] พลเรือตรี[11] วิชชุ ดำรง[12]รองผู้บัญชาการได้แก่ นาวาเอก วิชาญ วันทนียกุล และ นาวาเอก สุชาต นุชนารถ

กองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ
กองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ
ประเทศ ไทย
บทบาทป้องกันประเทศจากภัยคุกคามทางทะเล[1][2]
การสงครามทุ่นระเบิด[1]
วางทุ่นระเบิด[1]
กวาดทุ่นระเบิด[1]
สกัดกั้นการค้ายาเสพติดผิดกฎหมาย[1]
ต่อต้านการกระทำอันเป็นโจรสลัด[1]
ต่อต้านการก่อการร้าย[1]
กองบัญชาการตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ 10290
คำขวัญทำศึกทุ่นระเบิด เปิดวิถีนาวา ขวางมรรคาไพรี[1]
วันสถาปนา22 ธันวาคม พ.ศ. 2485; 81 ปีก่อน (2485-12-22)[1][2][3]
ปฏิบัติการสำคัญสงครามโลกครั้งที่สอง[1][2]
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการปัจจุบันพลเรือตรี วิชชุ ดำรง
ผบ. สำคัญพลเรือตรี ลือชัย รุดดิษฐ์[1][4][5]
พลเรือตรี ชาติชาย ศรีวรขาน[2][6][7]
พลเรือตรี เชษฐา ใจเปี่ยม[4][8]
พลเรือตรี วิชชุ ดำรง

ประวัติ แก้

ปี พ.ศ. 2446 ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมทหารเรือได้กำหนดให้มี "กองทุ่นระเบิด"[1][2]

จากนั้น ในปี พ.ศ. 2485 สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เรือดำน้ำสหรัฐได้เข้ามาวางทุ่นระเบิดบริเวณเกาะริ้น, เกาะคราม และเกาะสีชัง ส่งผลให้เรือซิดนีย์มารูของประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นพันธมิตรกับประเทศไทยในขณะนั้น ได้รับความเสียหายอย่างหนัก รวมถึงเรือสินค้าและเรือประมงไม่กล้าออกทะเล[1][2][3]

กองทัพเรือไทยจึงลงคำสั่งให้เรือหลวงจวง (ลำเก่า) กับเรือประมงจำนวนหนึ่งเป็นหมู่เรือกวาดทุ่นระเบิด โดยออกปฏิบัติการวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2485 ถึงวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2486 นับเป็นการกวาดทุ่นระเบิดครั้งแรก ที่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน จึงได้มีการถือเอาวันที่ 22 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนากองเรือทุ่นระเบิด[1][2][3]

ต่อมา เครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองได้เข้ามาวางทุ่นระเบิดในแม่น้ำเจ้าพระยา ทางกองทัพเรือไทยจึงได้ลงคำสั่งจัดตั้งกองกวาดทุ่นระเบิดในแม่น้ำเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2487[1]

ครั้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 ชื่อ "กองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ" ได้ปรากฏครั้งแรกเมื่อย้ายกองเรือจากกรุงเทพมหานคร ไปรวมอยู่ที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี[1][2]

การฝึก แก้

การฝึกสำคัญ อาทิ การฝึกความพร้อมรบร่วมกันทางทะเล (อังกฤษ: Cooperation Afloat Readiness and Training; อักษรย่อ: CARAT) และการฝึกผสมต่อต้านทุ่นระเบิดภาคพื้นแปซิฟิกตะวันตก (อังกฤษ: Western Pacific Mine Countermeasure Exercise; อักษรย่อ: WP MCMEX) ที่กองเรือทุ่นระเบิดได้จัดหมู่เรือ เพื่อร่วมฝึก ณ ประเทศสิงคโปร์[1][13]

ในปี พ.ศ. 2562 กองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ ได้ทำการฝึกวางทุ่นระเบิดทอดประจำที่ ปราบเรือดำน้ำแบบล่องหน เอ็มไอ 9 (Mi9) จำนวน 2 ลูก นับเป็นครั้งแรกของกองทัพเรือที่จุดระเบิดทุ่นระเบิดจริงในทะเลฝั่งอันดามัน โดยเป็นทุ่นระเบิดที่กองทัพเรือผลิตใช้เอง[14]

กิจกรรมเพื่อสังคม แก้

เมื่อครั้งอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 กองเรือทุ่นระเบิดได้ส่งกำลังเข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล[1] นอกจากนี้ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 กองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ และการประปานครหลวง ได้ร่วมทำกิจกรรมปลูกป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติฯ จำนวน 450 ต้น[15]

รางวัลที่ได้รับ แก้

  • พ.ศ. 2556 : โล่ประกาศเกียรติคุณ ประเภทบุคคลดีเด่น ด้านการป้องกันยาเสพติด ประจำปี 2556 จากยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี[16]
  • พ.ศ. 2560 : เรือหลวงลาดหญ้า ได้รับรางวัลเรือพร้อมรบสูงสุด ประจำปี 2560 สาขาสงครามทุ่นระเบิด[17]
  • พ.ศ. 2560 : รางวัลดีเด่น ผลงานการวิจัยและพัฒนาการทางทหารด้านยุทโธปกรณ์ – จากทุ่นระเบิดทอดประจำที่ปราบเรือดำน้ำแบบล่องหน ในงานนาวีวิจัย 2017[18][19]

ยุทโธปกรณ์ แก้

เรือในปัจจุบัน แก้

ภาพ ที่มา ชื่อ ประเภท เข้าประจำการ หมายเหตุ
  อิตาลี เรือหลวงท่าดินแดง[5] เรือล่าทำลายทุ่นระเบิดใกล้ฝั่ง[5] มกราคม พ.ศ. 2543
  อิตาลี เรือหลวงลาดหญ้า[1] เรือล่าทำลายทุ่นระเบิดใกล้ฝั่ง[20] มีนาคม พ.ศ. 2542 ได้รับรางวัลเรือพร้อมรบสูงสุด สาขาสงครามทุ่นระเบิด[17]
  ไทย เรือ ท.12[5] เรือกวาดทุ่นระเบิดน้ำตื้น[5] 6 ตุลาคม พ.ศ. 2537
  ไทย เรือ ท.11[5] เรือกวาดทุ่นระเบิดน้ำตื้น[5] 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2537


  เยอรมนี เรือหลวงหนองสาหร่าย[13] เรือล่าทำลายทุ่นระเบิดใกล้ฝั่ง[13] 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530
  เยอรมนี[20] เรือหลวงบางระจัน[20] เรือล่าทำลายทุ่นระเบิดใกล้ฝั่ง[20] 29 เมษายน พ.ศ. 2530 มีแผนปลดประจำการในปีงบประมาณ 2560–2561[1]
  ไทย[21] เรือหลวงถลาง[2] เรือสนับสนุนการต่อต้านทุ่นระเบิด[22] 25 มิถุนายน พ.ศ. 2523 หมายเลข 261[23] มีแผนปลดประจำการในปีงบประมาณ 2563[1]

เรือในอดีต แก้

ภาพ ที่มา ชื่อ ประเภท เข้าประจำการ ปลดประจำการ หมายเหตุ
  แคนาดา[24] เรือหลวงโพสามต้น[25] เรือกวาดทุ่นระเบิดไกลฝั่ง[24] 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490[24] ไม่ทราบ[26] ชื่อเดิมคือเรือหลวงมินสเทรล (HMS Minstrel)[26]
ได้รับเชิญสวนสนามทางเรือ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร[24]
  ไทย เรือหลวงจวง (ลำเก่า)[1] เรือน้ำ ไม่ทราบ ไม่ทราบ

อ้างอิง แก้

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 1.19 1.20 1.21 1.22 22 ธ.ค.วัน'กองเรือทุ่นระเบิด' - คมชัดลึก
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 ครบ 70 ปี'กองเรือทุ่นระเบิด'ขวางไพรี - คมชัดลึก
  3. 3.0 3.1 3.2 วันคล้ายวันสถาปนากองเรือทุ่นระเบิด - ข่าวออนไลน์
  4. 4.0 4.1 กองทัพเรือ โดยกองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ ทดลองใช้งานทุ่นระเบิดทอดประจำที่ปราบเรือดำน้ำแบบล่องหน
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 ทัพเรือไทย เจ๋ง สร้างทุ่นระเบิด : INN News[ลิงก์เสีย]
  6. TIPMSE ร่วมกับกองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ จัดงานแถลงข่าวเปิดตัว “โครงการร้าน 0 บาท” เคลื่อนที่
  7. กปน. ร่วมแสดงความยินดี ผู้บัญชาการกองเรือทุ่นระเบิด - การประปานครหลวง[ลิงก์เสีย]
  8. เรียงคนมาเป็นข่าว : ‘สังคม’ หน้า 4 วันที่ 1 กรกฎาคม 2560
  9. กองทัพเรือ โดยกองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ ทดสอบยานล่าทำลายทุ่นระเบิดทำการจุดระเบิดทุ่นระเบิดปราบเรือดำน้ำแบบล่องหน
  10. กองทัพเรือจัดใหญ่ 120 ปี ร.ศ. 112 รำลึกวีรกรรมทหารเรือไทย - ผู้จัดการ
  11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 39 ข หน้า 15 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  12. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 39 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  13. 13.0 13.1 13.2 เอกอัครราชทูตฯ ต้อนรับ ผบ.หมู่เรือฝึกผสมต่อต้านทุ่นระเบิดภาคพื้นแปซิฟิคตะวันตก ของกองทัพเรือ และคณะ ในโอกาสที่หมู่เรือฝึกฯ เดินทางเข้าจอดเรือเพื่อร่วมการฝึก ณ ฐานทัพเรือจางี สาธารณรัฐสิงคโปร์
  14. ทร.โชว์ศักยภาพการใช้ทุ่นระเบิดปราบเรือดำน้ำล่องหนครั้งแรก - โพสต์ทูเดย์
  15. กปน. ร่วมปลูกป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติฯ กับกองเรือยุทธการ[ลิงก์เสีย]
  16. "ทัพเรือขนปชช.-นร.-ตร. ปฏิญาณตน ไม่ยุ่งเกี่ยวยา วันยาเสพติดโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-04. สืบค้นเมื่อ 2019-04-06.
  17. 17.0 17.1 'บิ๊กชีพ'มอบรางวัล 9 เรือรบ ที่คว้าเรือพร้อมรบสูงสุดประจำปี 60 ของ ทร. - ไทยรัฐ
  18. 'บิ๊กลือ' คว้ารางวัล 'นาวีวิจัย 2017' ทุ่นระเบิดปราบเรือดำน้ำแบบล่องหน - ไทยรัฐ
  19. ราชนาวี โชว์ศักยภาพผลงานวิจัยกองทัพเรือ – พล.ร.อ.ณะ มอบประกาศเกียรติคุณ - ข่าวสด
  20. 20.0 20.1 20.2 20.3 ทร.ทดสอบยานล่าทำลายทุ่นระเบิด-ตูมสนั่นกลางทะเล สำเร็จครั้งแรกในไทย
  21. “กองทัพเรือไทย” ต้อนรับเรือรบ 26 ลำ จาก 19 ประเทศ ร่วมมหกรรมทางเรือนานาชาติ
  22. ฝึกใช้ทุ่นระเบิดปราบเรือดำน้ำแบบล่องหน - กรุงเทพธุรกิจ
  23. ต้อนรับเรือรบ 26 ลำร่วมงานมหกรรมทางเรือนานาชาติ - กรุงเทพธุรกิจ
  24. 24.0 24.1 24.2 24.3 เรือรบหลวงโพสามต้น อนุสรณ์ความสัมพันธ์ไทย-อังกฤษ ที่กำลังรอวันจมลงสู่ทะเลโดยสมบูรณ์
  25. บทวิเคราะห์/กองทัพผลัดใบ โฟกัส ‘บิ๊กแดง-บิ๊กลือ-บิ๊กต่าย’ จาก Foxhall-SeaHawk-Rabbit สู่ยุค Smart Soldiers Strong Army จับตา ‘บิ๊กเจี๊ยบ’ ในสถานการณ์พิเศษ
  26. 26.0 26.1 "เรือหลวงโพสามต้น - Thai Seafarer Community". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-06. สืบค้นเมื่อ 2019-04-06.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้