เกาะคราม
เกาะคราม เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในเขตตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี มีเนื้อที่ 13.9 ตารางกิโลเมตร อยู่ในความรับผิดชอบดูแลของกองทัพเรือ
ชายหาดบนเกาะคราม | |
ภูมิศาสตร์ | |
---|---|
พื้นที่ | 13.9 ตารางกิโลเมตร (5.4 ตารางไมล์) |
การปกครอง | |
จังหวัด | จังหวัดชลบุรี |
อำเภอ | อำเภอสัตหีบ |
ตำบล | ตำบลสัตหีบ |
ข้อมูลอื่น ๆ | |
เขตเวลา |
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของเกาะมีสภาพเป็นภูเขา มีหาดทรายและหาดกรวดสลับกันโดยรอบเกาะ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพื้นที่ราบ มีที่พักของเจ้าหน้าที่ทหารเรือ เกาะเป็นแหล่งวางไข่ของเต่าทะเล โดยพบ 2 ชนิดคือเต่ากระและเต่าตนุ ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นอ่าวที่มีหาดทราย บริเวณกลางเกาะมีลำธารและแหล่งน้ำกร่อย สภาพป่าเป็นป่าชายหาด ป่าดิบแล้ง ป่าหน้าผา และมีป่าชายเลนขึ้นเล็กน้อย[1] จากการสำรวจไลเคน พบไลเคน 12 สกุล 30 ชนิดโดยพบในวงศ์ Thelotremataceae มากที่สุดอีกทั้งสามารถพบไลเคนในกลุ่มโฟลิโอสที่มีลักษณะเป็นแผ่นใบในวงศ์ Physciaceae อีกด้วย[2]
ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 12.6 กิโลเมตรของเกาะเป็นร่องน้ำลึก พบซากสำเภาท้องแบนขนาดใหญ่แบบมีกระดูกงูจมอยู่ใต้น้ำ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นซากเรือสำเภาของกรุงศรีอยุธยา กำหนดอายุได้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19–20[3] พบเครื่องถ้วยชามสังคโลก เครื่องถ้วยแม่น้ำน้อย เครื่องถ้วยเวียดนาม งาช้าง ตะกั่ว ดีบุก และแท่งเหล็ก[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ พงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา. "การจัดลำดับความสำคัญของเกาะต่างๆ ในพื้นที่ อพ.สธ. ในการอนุรักษ์ปักษาพรรณ : รายงานผลการดำเนินงาน" (PDF). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- ↑ "ไลเคนที่พบทั่วไปบนเกาะคราม และเกาะแสมสาร" (PDF).
- ↑ "ข้อมูลที่ได้จากการขุดค้นแหล่งเรือจมเกาะคราม จังหวัดชลบุรี". กรมศิลปากร.
- ↑ เกศสุดา อนุวัตรเกษม. "การวิเคราะห์ตัวอย่างแท่งเหล็กจากแหล่งเรือจมเกาะคราม อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้