อำเภอเชียงแสน

อำเภอในจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย

เชียงแสน (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบ มีซากโบราณสถานของเมืองเชียงแสนเก่าอยู่ในบริเวณตัวอำเภอ ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวและท่าเรือขนส่งสินค้าที่สำคัญในภาคเหนือ นอกจากนี้เชียงแสนมีพื้นที่ซึ่งเรียกว่า สามเหลี่ยมทองคำ ในพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านสบรวก ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย อันเป็นบริเวณที่บรรจบกันของชายแดนสามประเทศ คือ ไทย ลาว และพม่า และเมืองประวัติศาสตร์เชียงแสน กำลังพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย

อำเภอเชียงแสน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Chiang Saen
จุดบรรจบของแม่น้ำรวกและแม่น้ำโขง มุมมองจากวัดพระธาตุดอยปูเข้าในบ้านสบรวก
คำขวัญ: 
ถิ่นอมตะ พระเชียงแสน
แดนสามเหลี่ยม เยี่ยมน้ำโขง จรรโลงศิลปะ
แผนที่จังหวัดเชียงราย เน้นอำเภอเชียงแสน
แผนที่จังหวัดเชียงราย เน้นอำเภอเชียงแสน
พิกัด: 20°16′30″N 100°5′18″E / 20.27500°N 100.08833°E / 20.27500; 100.08833
ประเทศ ไทย
จังหวัดเชียงราย
พื้นที่
 • ทั้งหมด554.0 ตร.กม. (213.9 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด55,677 คน
 • ความหนาแน่น100.50 คน/ตร.กม. (260.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 57150
รหัสภูมิศาสตร์5708
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเชียงแสน เลขที่ 1
หมู่ที่ 2 ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย รหัสไปรษณีย์ 57150
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอเชียงแสนตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ แก้

 
ป้ายประวัติเมืองเชียงแสน

ในปี พ.ศ. 2413 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าอินทวิชยานนท์ (พระเจ้านครเชียงใหม่) ได้ทรงส่งใบบอกข้อราชการไปยังกรุงเทพมหานครว่า มีชาวพม่า ไทลื้อ และไทเขิน จากเมืองเชียงตุงประมาณ 300 ครอบครัวได้อพยพลงมาอยู่เมืองเชียงแสนและตั้งตนเป็นอิสระไม่ยอมอยู่ใต้การปกครองของสยามและล้านนา จึงแต่งคนไปว่ากล่าวให้ถอยออกจากเมือง ถ้าอยากจะอยู่ ให้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของเมืองเชียงรายและนครเชียงใหม่ แต่ก็ไม่ได้ผล ไม่มีใครยอมออกไป

ในปี พ.ศ. 2417 พระเจ้านครเชียงใหม่จึงทรงเกณฑ์กำลัง 4,500 คน จากเมืองต่าง ๆ ยกทัพจากนครเชียงใหม่มาเมืองเชียงรายและ เมืองเชียงแสน ไล่คนเหล่านั้นออกจากเมืองเชียงแสน จึงทำให้เชียงแสนกลายเป็นเมืองร้าง จนถึงปี พ.ศ. 2423 ได้ทรงให้เจ้าอินต๊ะ พระโอรสในพระเจ้าลำพูนไชย เป็นพระยาราชเดชดำรง เจ้าเมืองเชียงแสน และให้พระเจ้าลำพูนไชยทรงเกณฑ์ราษฎรจากหลาย ๆ เมืองประมาณ 1,500 ครอบครัว ขึ้นมาตั้งรกราก "ปักซั้งตั้งถิ่น" อยู่ที่เมืองเชียงแสนจวบจนถึงปัจจุบัน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2442 ทางราชการได้ย้ายศูนย์การปกครองเมืองไปอยู่ที่ตำบลกาสา เรียกชื่อว่า อำเภอเชียงแสน ส่วนบริเวณเมืองเชียงแสนเดิมถูกยุบลงเป็น กิ่งอำเภอเชียงแสนหลวง[1] ขึ้นกับอำเภอเชียงแสน และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น กิ่งอำเภอเชียงแสน ในปี พ.ศ. 2482 (โดยอำเภอเชียงแสนซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลกาสานั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอแม่จันแทน[2]) จนกระทั่งได้รับการยกฐานะเป็น อำเภอเชียงแสน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา[3] ในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เกิดเหตุสังหารหมู่ลูกเรือชาวจีน 13 ราย ที่อำเภอเชียงแสน โดยทางตำรวจไทยได้ฟ้องร้องทหารไทยต่ออัยการว่ามีส่วนร่วมในการสังหารลูกเรือชาวจีน ต่อมาได้มีการสืบสวนพบว่า สังหารหมู่ลูกเรือชาวจีน 13 ราย เป็นฝีมือของ "หน่อคำ" นักค้ายาเสพติดรายใหญ่ เป็นหัวหน้าในการปล้นและฆ่าคนในลุ่มแม่น้ำโขงเกี่ยวกับขบวนเรือต่าง ๆ ที่ผ่านเส้นทางดังกล่าวอยู่เสมอ และเป็นอดีตทหารไทยใหญ่ กองทัพเมืองไต ลูกน้องขุนส่า มีประวัติไม่มีที่อยู่ที่ชัดเจน เขาใช้ชีวิตหลบหนีไปมาระหว่างเมืองสามพลู เขตรอยต่อของประเทศพม่าและจีน โดยศาลตัดสินโทษประหารชีวิตด้วยการฉีดยาพิษ (วันที่ 1 มี.ค. 2556) [4]

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอเชียงแสนแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 ตำบล 70 หมู่บ้าน ได้แก่

ที่ ชื่อตำบล ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร[5]
1. เวียง   Wiang 9 6,024 11,334
2. ป่าสัก   Pa Sak 13 3,093 7,807
3. บ้านแซว   Ban Saeo 15 4,217 10,461
4. ศรีดอนมูล   Si Don Mun 13 3,170 7,765
5. แม่เงิน   Mae Ngoen 12 2,723 8,286
6. โยนก   Yonok 8 1,851 4,670

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอเชียงแสนประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเวียง
  • เทศบาลตำบลเวียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน)
  • เทศบาลตำบลโยนก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโยนกทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบ้านแซว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแซวทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลแม่เงิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่เงินทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลป่าสัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าสักทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีดอนมูลทั้งตำบล

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอเชียงแสนหลวง เก็บถาวร 2012-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 17 กรกฎาคม 2470, เล่ม 44, หน้า 1232
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒ เก็บถาวร 2009-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 17 เมษายน 2482, เล่ม 56, หน้า 354
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเชียงแสน พ.ศ. ๒๕๐๐ เก็บถาวร 2012-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 9 เมษายน 2500, เล่ม 74, ตอนที่ 36, หน้า 565-567
  4. https://www.msn.com/th-th/news/national/5-%E0%B8%95%E0%B8%84-2554-%E0%B9%82%E0%B8%82%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88-13-%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99/ar-BBNXR5T
  5. จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดเชียงราย ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย