พระเจ้าลำพูนไชย
พระเจ้าลำพูนไชย[2] (พ.ศ. 2303 - พ.ศ. 2370)[3] เป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูนพระองค์ที่ 2 ครองราชย์ในระหว่างปี พ.ศ. 2358 ถึงปี พ.ศ. 2370 เป็นหนึ่งในเจ้าเจ็ดตนต้นราชวงศ์ทิพย์จักร และทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเลื่อนพระเกียรติยศขึ้นเป็น "พระเจ้าประเทศราช" องค์ที่ 3 (20 พฤษภาคม พ.ศ. 2369 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2370) ในรัชสมัย รัชกาลที่ 3[4]
พระเจ้าลำพูนไชยบุญมา | |
---|---|
พระเจ้าลำพูนไชย | |
พระเจ้านครลำพูน | |
ครองราชย์ | 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2359 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2370[1] |
รัชสมัย | 10 ปี 9 เดือน 27 วัน |
รัชกาลก่อนหน้า | พระยาคำฟั่น |
รัชกาลถัดไป | พระยาน้อยอินท์ |
ประสูติ | พ.ศ. 2303 |
พิราลัย | 25 มีนาคม พ.ศ. 2370 (67 ปี) |
พระราชบุตร | 5 พระองค์ |
พระเจ้าลำพูนไชย | |
ราชวงศ์ | ทิพย์จักร |
พระบิดา | เจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว |
พระมารดา | แม่เจ้าจันทาราชเทวี |
พระประวัติ
แก้พระเจ้าลำพูนไชย หรือ พระเจ้านครลำพูนบุญมา[5] มีพระนามเดิมว่า เจ้าบุญมา ประสูติเมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2303 เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในเจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว มีพระเชษฐาและพระขนิษฐา รวม 10 พระองค์ (หญิง 3 ชาย 7) (เจ้าชายทั้ง 7 พระองค์ได้ทรงช่วยกันต่อสู้อริราชศัตรูขยายขอบขัณฑสีมาล้านนาออกไปอย่างเกรียงไกร เป็นเหตุให้มีพระสมัญญาว่า "เจ้าเจ็ดตน") มีพระนามตามลำดับ ดังนี้[6]
- พระเจ้ากาวิละ พระเจ้านครเชียงใหม่ องค์ที่ 1 และเป็นพระยานครลำปาง องค์ที่ 3
- พระยาคำโสม พระเจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 4
- พระยาธรรมลังกา พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 2
- พระเจ้าดวงทิพย์ พระเจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 5
- เจ้าศรีอโนชา พระอัครชายาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
- เจ้าหญิงสรีวัณณา (ถึงแก่พิราลัยแต่เยาว์)
- พระยาอุปราชหมูล่า
- พระยาคำฟั่น เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 3 และ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 1
- เจ้าหญิงสรีบุญทัน (พิราลัยแต่เยาว์)
- พระเจ้าลำพูนไชย พระเจ้านครลำพูน องค์ที่ 2
ในปี พ.ศ. 2317 พระยาบุญมา ได้รับพระราชทานอาชญาสิทธิ์เป็นพระยาราชวงศ์[7]
พระราชโอรสและราชธิดา
แก้พระเจ้าลำพูนไชย มีพระราชโอรสและราชธิดา รวม 6 พระองค์ ดังนี้[8]
- เจ้าจอมจน (เสียจริต)[9]
- พระยาคำตัน
- พระยาน้อยลังกา
- เจ้าคำเที่ยง สมรสกับเจ้าน้อยขัติยะวงศ์ เจ้าหลวงเมืองตาก
- เจ้ารินคำ
- เจ้าอินทวิไชย หรือเจ้าหลวงอินต๊ะ เจ้าหลวงเมืองเชียงแสน
ลำดับสาแหรก
แก้พงศาวลีของพระเจ้าลำพูนไชย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ รุ่งพงษ์ ชัยนาม. ประวัติศาสตร์ล้านนา : ประวัติศาสตร์ไทยที่คนไทยไม่ค่อยมีโกาสได้ศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ↑ ประชุมพงษาวดารภาคที่ 3 เรื่อง พงษาวดารเมืองนครเชียงใหม่ นครลำปาง นครลำพูนไชย, หน้า 84
- ↑ หนานอินแปง. พระราชชายา เจ้าดารารัศมี. กรุงเทพฯ : บางกอกบุ๊ค, 2546
- ↑ เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่. เจ้าหลวงเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง, 2539
- ↑ วรชาติ มีชูบท, เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ, กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, หน้า 35
- ↑ คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. [1] เก็บถาวร 2021-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ วรชาติ มีชูบท (2556) เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊ค หน้า 4
- ↑ วรเทวี (ณ ลำพูน) ชลวณิช. เจ้าหลวงลำพูน. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้ง. 2552
- ↑ สำเนาคำให้การนายน้อยปินตาว่าด้วยเรื่องวงศ์สกุลที่เป็นพระยาเชียงใหม่ จ.ศ. 1203 (พ.ศ. 2389) เลขที่ 101
ก่อนหน้า | พระเจ้าลำพูนไชย | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระยาคำฟั่น | เจ้าผู้ครองนครลำพูน (พ.ศ. 2358 - พ.ศ. 2370) |
พระยาน้อยอินท์ | ||
พระเจ้าดวงทิพย์ (พระเจ้านครลำปาง) |
พระเจ้าประเทศราช องค์ที่ 3 (20 พฤษภาคม พ.ศ. 2369 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2370) |
พระเจ้ามโหตรประเทศ (พระเจ้านครเชียงใหม่) |