กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น

กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลของญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 海上自衛隊โรมาจิKaijō Jieitai) มีชื่อเรียกอย่างง่ายว่า กองทัพเรือญี่ปุ่น[5] เป็นกองกำลังที่ก่อตั้งขึ้นหลังการยุบกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งเป็นสอง[6]

กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น
海上自衛隊
ประจำการ1 กรกฎาคม 1954; 69 ปีก่อน (1954-07-01)[1]
ประเทศ ญี่ปุ่น
รูปแบบกองทัพเรือ
บทบาทสงครามทางทะเล
กำลังรบกำลังพล 50,800 นาย
เรือมากกว่า 150 ลำ[2][3]
อากาศยาน 346 ลำ[4]
ขึ้นกับ กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น
กองบัญชาการอิจิงายะ เขตชินจูกุ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
เพลงหน่วยมาร์ชกุนกัง เกี่ยวกับเสียงนี้ Play
Fleetเรือบรรทุกอากาศยานเบา 1 ลำ
เรือดำน้ำ 19 ลำ
เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ
เรือพิฆาต 26 ลำ
เรือฟริเกต 10 ลำ
เรือพิฆาตคุ้มกัน 6 ลำ
เรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ 3 ลำ
เรือกวาดทุ่นระเบิด 30 ลำ
เรือตรวจการณ์ 6 ลำ
เรือฝึก 8 ลำ
(เรือช่วยรบ 21 ลำ)
เว็บไซต์www.mod.go.jp/msdf/en/
ผู้บังคับบัญชา
จอมทัพ นายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โนบูโอะ คิชิ
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พลเอก โคจิ ยามาซากิ
ผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือเอก ฮิโรชิ ยามามูระ
เครื่องหมายสังกัด
ธงผู้บังคับการเรือ
ธงกองทัพเรือ

กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลก็ค่อย ๆ เติบโตบวกกับประสบการณ์การสร้างเรือรบมาตลอดของญี่ปุ่น ทำให้วันนี้กองทัพเรือญี่ปุ่นหรือกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล เป็นกองทัพเรือที่ทันสมัยอย่างมากและมีเรือรบที่เพียงพอต่อยุทธศาสตร์ป้องกันประเทศญี่ปุ่น

การจัดวางกำลัง แก้

ประเทศญี่ปุ่นเป็นหมู่เกาะ มีเกาะขนาดใหญ่มาก ๆ ถึง 4 เกาะและเกาะเล็ก ๆ อีกสามพันกว่า ๆ มีทะเลล้อมรอบทั้งทะเลญี่ปุ่นที่ใกล้ทวีปเอเซีย และทางมหาสมุทรแปซิฟิค ที่เป็นทะเลเปิด เพราะฉะนั้น กองกำลังป้องกันตนเองทางเรือของญี่ปุ่น (JMSDF) จึงต้องจัดวางกำลังและขีดความสามารถในการป้องกันตนเองให้มากที่สุด กองกำลังป้องกันตนเองทางเรือของญี่ปุ่น (JMSDF) มีกำลังพลประมาณ 45,800 นาย

กองเรือภาคที่ 1 มีฐานทัพเรืออยู่ที่ โยโกซูกะ ซึ่งรับผิดชอบด้านตะวันออกและตอนกลางของเกาะญี่ปุ่นที่ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิค

กองเรือภาคที่ 2 มีฐานทัพเรืออยู่ที่ ซาเซโบะ รับผิดชอบทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะญี่ปุ่นหรือทะเลญี่ปุ่นตอนล่าง

กองเรือภาคที่ 3 มีฐานทัพเรืออยู่ 2 แห่งคือที่ มาอิซุรุ และ โอมินาโตะ มีพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ตอนกลางของญี่ปุ่นที่ติดทางฝั่งทะเลญี่ปุ่น และตอนเหนือของญี่ปุ่นคือรอบ ๆ เกาะฮกไกโด

กองเรือภาคที่ 4 มีฐานทัพเรืออยู่ที่ คุเระ มีพื้นที่รับผิดชอบตอนกลางช่วงล่างของญี่ปุ่นและพื้นที่โดยรอบเกาะชิโกกุ ที่ติดกับฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิค

เรือรบ แก้

กองเรือหลักป้องกันตนเอง ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 4 กองเรือหลัก ในแต่ละกองเรือหลักจะมีอยู่ 2 หมวดเรือ ซึ่งจะกระจายไปในกองเรือภาคและฐานทัพเรือประจำภาคต่าง ๆ มีหน้าที่หลักโดยตรงก็คือป้องกันตนเอง รักษาดูแลน่านน้ำรอบ ๆ เกาะญี่ปุ่น ปกป้องผละประโยชน์และทรัพยาการทางทะเลเหมือนกับกองทัพเรือของทุกประเทศนั่น การจัดกำลังหมวดเรือจะมี เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ (DDH) , เรือพิฆาต (หนัก) ติดอาวุธปล่อยนำวิถี (DDG), เรือพิฆาต (DD) รวมถึงเรือพิฆาตเบาหรือจัดอยู่ประเภทเรือฟริเกต (DE) ในอัตราหมวดละ 3-4 ลำ กองเรือประจำภูมิภาค ซึ่งอาจจะคล้าย ๆ กับภารกิจกองเรือตรวจอ่าวของบ้านเรา กองเรือประจำภูมิภาคจะมีอยู่ 5 หมวดเรือซึ่งประจำการอยู่ในภูมิภาคและฐานทัพเรือทั้ง 5 ฐานทัพเรือและรับผิดชอบในแต่ละพื้นที่ จากภูมิศาสตร์ที่เป็นเกาะ ซึ่งจะมีหน้าที่ลาดตระเวนตรวจการณ์หรืออาจร่วมกับกองเรือหลักป้องกันตนเอง เพราะฉะนั้นจึงต้องใช้เรือที่มีขนาดใหญ่และมี เช่น เรือพิฆาต (DD) และ เรือพิฆาตเบาหรือจัดอยู่ประเภทเรือฟริเกต (DE) ในอัตราหมวดละ 3-4 ลำ เป็นกองกำลัง

กองเรือดำน้ำ ของกองกำลังป้องกันตนเองทางเรือของญี่ปุ่น (JMSDF) จะมีอยู่ 2 กองเรือดำน้ำคือกองเรือดำน้ำที่1 (หมวด 1, 3 และ5) กับกองเรือดำน้ำที่ 2 (หมวด 2 และ 4) หมวดละ 3-4 ลำ ซึ่งกองเรือดำน้ำญี่ปุ่นมีเรือดำน้ำประจำการอยู่ทั้งหมด 17 ลำ (อนาคตเพิ่มอีก 3 ลำ) ซึ่งถือว่ามากพอสมควรนะครับ มีฐานทัพอยู่ 2 แห่งคือ โยโกซูกะ ที่กองเรือดำน้ำที่ 2 ใช้เป็นฐานทัพและ คิเระ ที่มีกองเรือดำน้ำที่ 1 ประจำการอยู่และอย่างที่ทราบเรือดำน้ำทุกลำผลิตเองใช้งานในประเทศ

กองเรือกวาดทุ่นระเบิด ถือว่าเป็นกองเรือที่มีความจำเป็นต่อทุกกองทัพเรือนอกเหนือจากเรือรบหลัก เพราะสงครามทุ่นระเบิดก็มีผลมากถ้าถูกปิดล้อมโดยการวางทุ่นระเบิด ถึงแม้รอบ ๆ เกาะญี่ปุ่นจะเป็นทะเลเปิดแต่ก็มีบางพื้นที่ถ้าถูกปิดอย่างทะเลญี่ปุ่นก็จะส่งผลต่อการเดินทางทางทะเล กองเรือกวาดทุ่นระบิดของของกองกำลังป้องกันตนเองทางเรือของญี่ปุ่น (JMSDF) มีเรือพี่เลี้ยงและสนับสนุนเรือกวาดทุ่นระเบิด, เรือกวาดทุ่นระเบิดไกลฝั่งและเรือกวาดทุ่นระเบิดใกล้ฝั่ง รวม ๆ กันประมาณ 30 ลำซึ่งกองเรือกวาดทุ่นระเบิดจะมีฐานทัพอยู่ที่โยโกซูกะ และ คิเระ เหมือนกับกองเรือดำน้ำ

กองเรือยกพลขึ้นบกและลำเลียง จะเป็นกองเรือที่ให้การสนับสนุนการรบยกพลขึ้นบกทั้งทหารราบและรถถัง ยานเกราะขนาดต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งมีเรือสงครามสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกขนาดใหญ่ (LST) จำนวน 3 ลำสามารถบรรทุก ยาน LCAC รถถังและยานเกราะ รวมถึงเฮลิคอปเตอร์, เรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ (LSU), เรือยกพลขึ้นบกขนาดกลาง (LCU) อย่างละ 2 ลำ, เรือระบายพลขนาดต่าง ๆ (LCM) รวมถึงยานสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก (LCAC) อีก 6 ลำ ซึ่งกองเรือยกพลจะมีฐานทัพหลักอยู่ที่ โยโกซูกะ และบางส่วนก็กระจายไปตามอีก 4 ฐานทัพเรือที่เหลือ

กองเรือสนับสนุน จะเป็นกองเรือสนับสนุนในด้านต่าง ๆ เช่น เรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ (AMS) , เรือเติมน้ำมันขนาดใหญ่ (AOE) ซึ่งเรือทั้งสองประเภทสามารถส่งเสบียงและเติมน้ำมันได้ในกลางทะเล มีไม่กี่ประเทศที่สามารถทำภารกิจแบบนี้ได้ ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งที่มีศักยภาพด้านนี้นะครับ นอกจากนี้ก็ยังมี เรือตัดน้ำแข็ง (AGB), เรือสำรวจทะเลลึกและเรืออุทกศาสตร์ (AGS-ASE), เรือกู้ภัยช่วยเหลือโดยใช้เรือดำน้ำและเรือกู้ภัยเรือดำน้ำ (ASR-AS) และเรือประเภทต่าง ๆ สำหรับใช้งานในการสนับสนุน ซึ่งกองเรือสนับสนุนนี้จะมีฐานทัพหลักอยู่ที่ โยโกซูกะและฐานทัพเรืออื่น ๆ ตามภารกิจ

กองเรือฝึก จะมีหน้าที่สำหรับฝึกฝึกนักเรียนนายเรือและกำลังพลโดยเฉพาะ ซึ่งทางกองกำลังป้องกันตนเองทางเรือของญี่ปุ่น (JMSDF) มีเรือที่ออกแบบมาเป็นเรือฝึกโดยตรงอยู่ 1 ลำ และก็ได้ทำการปรับปรุงเรือพิฆาตชั้น ฮัทซูยุกิ และ อซากิริ อย่างละ 2 ลำมาปรับปรุงเป็นเรือฝึก ซึ่งกำลังพลหรือนักเรียนนายเรือ สามารถทำการฝึกฝนได้เหมือนจริง เพราะระบบอาวุธและระบบต่าง ๆ ก็ไม่แตกต่างจากเรือรบหลักที่ประจำการเท่าไหร่ รวมไปถึงการปรับปรุงเรือดำน้ำชั้น ฮารุชิโอะ 2 ลำให้เป็นเรือดำน้ำฝึกด้วย เพื่อสร้างศักยภาพให้กำลังพลเรือดำน้ำ นอกจากนี้ ยังกองบัญชาการฝึกทางเรือและทางอากาศ และหน่วยงานด้านอื่น ๆ

กำลังรบทางเรือของกองกำลังป้องกันตนเองทางเรือของญี่ปุ่น (JMSDF) จะประกอบด้วย

เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ (DDH) 4 ลำ แก้

(ชั้น Hyuga 2 ลำและชั้น Shirane 2 ลำ)

ชั้น Hyuga แก้

ขนาด
  • ระวางขับน้ำปกติ 13,950 ตัน เต็มที่ 19,000 ตัน
  • ความยาว 197 เมตร กว้าง 33 เมตร
เครื่องจักร
  • เครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ จำนวน 4 เครื่องขนาด 75,000 KW มีเพลาใบจักร 2 เพลา
ความเร็ว
  • 30 นอต
ระบบอำนวยการรบ

ATECS (advanced technology command system)

  • OYQ-10 advanced combat direction system
  • FCS-3 AAW system
  • OQQ-21 ASW system
  • NOLQ-3C EW system
  • OPS-20C surface search radar

ระบบอาวุธ

  • MK 41 VLS จำนวน 16 ท่อยิงใช้สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศแบบ ESSM (Evolved Sea Sparrow Missile) และจรวดปราบเรือดำน้ำ RUM-139 VL ASROC

ระวางขับน้ำ 18,000 ตัน(สูงสุด)

  • ตอร์ปิโดปราบเรือดำน้ำแฝดสาม 2 แท่นยิง
  • ระบบป้องกันระยะประชิด Phalanx (CIWS) จำนวน 2 ระบบ
  • ปืนกลขนาด 12.7 มม.

เฮลิคอปเตอร์ประจำบนเรือ

  • SH-60 3 เครื่อง
  • MCH-101 1 เครื่อง

ชั้น Shirane แก้

ขนาด
  • ระวางขับน้ำปกติ 5,200 ตัน เต็มที่ 7,500 ตัน
เครื่องจักร
  • เครื่องยนต์กังหันไอน้ำเทอร์โบชาร์จ 2 ตัวและเครื่องยนต์เทอร์ไบน์อีก 2 ตัว ให้กำลังขนาด 52 MW โดยมีเพลาใบจักร 2 เพลา
ความเร็ว

31 นอต

ระบบอาวุธ
  • อาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศพิสัยใกล้แบบ Sea Sparrow Missile บนแท่นยิง 8 ท่อยิง
  • จรวดปราบเรือดำน้ำ ASROC MK 112 (8 ท่อยิง)
  • ตอร์ปิโดปราบเรือดำน้ำ MK 46 บนแท่นยิงแฝดสามแบบ MK 32 จำนวน 2 แท่นยิง,
  • ระบบป้องกันระยะประชิด Phalanx (CIWS) จำนวน 2 ระบบ
  • ปืนใหญ่ขนาด 5 นิ้ว (127 มม.) Mark 42 จำนวน 2 กระบอก
เฮลิคอปเตอร์ประจำบนเรือ
  • SH 60 J(K) Seahawk 3 เครื่อง

เรือพิฆาต (หนัก) ติดอาวุธปล่อยนำวิถี (DDG) 8 ลำ แก้

(ชั้น Kongo 4 ลำ, ชั้น Atago 2 ลำ, ชั้น Tachikaze 2 ลำ)

ชั้น Kongo แก้

ขนาด
  • ระวางขับน้ำปกติ 7,500 ตัน เต็มที่ 9,500 ตัน


เครื่องจักร
  • เครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ 4 เครื่อง ขนาด 75 MW มีเพลาใบจักร 2 เพลา
  • มีความยาว 161 เมตร กว้าง 21 เมตร
ความเร็ว
  • 30 นอต
ระบบอำนวยการรบ
  • AN/SPY-1D
  • OPS-28 surface search radar
  • OQS-102 bow mounted sonar
  • Electronic warfare

& decoys: NOLQ-2 intercept / jammer

ระบบอาวุธ
  • อาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-พื้น RGM 84 Harpoon 2 แท่น ๆ ละ 4 ท่อยิง
  • ระบบแท่นยิงแนวดิ่งแบบ MK 41 VLS สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศพิสัยกลางแบบ SM-2 MR Standard และรุ่น SM 3 Standard IA (หัวเรือ 29 ลูกและท้ายเรือ 61 ลูก) และจรวดปราบเรือดำน้ำ RUM VL 139 ASROC (ยิงแนวดิ่ง)
  • ตอร์ปิโดปราบเรือดำน้ำ MK 46 หรือ Type 73 บนแท่นยิงแฝดสามแบบ Type 68 จำนวน 2 แท่นยิง
  • ระบบป้องกันระยะประชิด Phalanx (CIWS) จำนวน 2 ระบบ
  • ปืนใหญ่ขนาด 5 นิ้ว (127 มม.) Oto-Breda จำนวน 1 กระบอก
เฮลิคอปเตอร์ประจำบนเรือ
  • SH 60 J(K) Seahawk 1 เครื่อง

ชั้น Atago แก้

ขนาด
  • ระวางขับน้ำปกติ 7,700 ตัน เต็มที่ 10,000+ ตัน
  • มีความยาว 170 เมตร กว้าง 21 เมตร
เครื่องจักร

ขับเคลื่อนด้วยระบบ เครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ 4 เครื่อง ขนาด 75 MW มีเพลาใบจักร 2 เพลา

ความเร็ว
  • 30 นอต
ระบบอำนวยการรบ

processing systems: AN/SPY-1D(V) radar OPS-28E surface search radar AN/SQS-53C sonar

3 x AN/SPG-62 FCS AN/SQQ-89 Mk 46 Optronic director Mk 160 FCS Mk 116 FCS Electronic warfare & decoys: ESM/ECM:NOLQ-2 4 x Mark 36 SRBOC

ระบบอาวุธ
  • อาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-พื้น SSM 1 B (Type 90) ที่ญี่ปุ่นพัฒนาเองใช้ยิงโจมตีทำลายเรือรบ
  • ระบบแท่นยิงแนวดิ่งแบบ MK 41 VLS ใช้สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศพิสัยกลางแบบ SM-2 MR Standard (หัวเรือ 64 ลูกและท้ายเรือ 32 ลูก) และจรวดปราบเรือดำน้ำ RUM 139 ASROC (ยิงแนวดิ่ง)
  • ตอร์ปิโดปราบเรือดำน้ำ MK 46 หรือ Type 73 บนแท่นยิงแฝดสามแบบ Type 68 จำนวน 2 แท่นยิง
  • ระบบป้องกันระยะประชิด Phalanx (CIWS) จำนวน 2 ระบบ
  • ปืนใหญ่ขนาด 5 นิ้ว (127 มม.) MK 45 Mod 4,จำนวน 1 กระบอกและปืน 12.7 มม.
เฮลิคอปเตอร์ประจำบนเรือ
  • SH 60 J(K) Seahawk 1 เครื่อง

ชั้น Tachikaze แก้

ขนาด
  • ระวางขับน้ำปกติ 4,700 ตัน
  • ความยาว 150 เมตร กว้าง 16.4 เมตร
เครื่องจักร

เครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ 4 เครื่อง ของ Rolsl-Royce Spey และ Rolsl-Royce Olympus อย่างละ 2 เครื่องมีเพลาใบจักร 2 เพลา ขนาด 54,000 KW ทำความเร็วได้ถึง 30 นอต

ระบบอาวุธ
  • ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-พื้น RGM 84 Harpoon ใช้ยิงโจมตีทำลายเรือรบ2 แท่น ๆ ละ 4 ท่อยิง
  • อาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศพิสัยกลางแบบ SM-2 MR Standard บนแท่นยิงเดี่ยว
  • จรวดปราบเรือดำน้ำ RUM 139 ASROC
  • ตอร์ปิโดปราบเรือดำน้ำ MK 46 บนแท่นยิงแฝดสามแบบ Type 68 จำนวน 2 แท่นยิง
  • ระบบป้องกันระยะประชิด Phalanx (CIWS) จำนวน 2 ระบบ
  • ปืนใหญ่ขนาด 5 นิ้ว (127 มม.) Mark 42 จำนวน 2 กระบอก
เฮลิคอปเตอร์ประจำบนเรือ
  • SH 60 J(K) Seahawk 1 เครื่อง

เรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถี (DD) 33 ลำ แก้

(ชั้นMurasame 9 ลำ, ชั้นTakanami 5 ลำ, ชั้น Asagirii 6 ลำ ชั้น Akizuki 4 ลำ)

ชั้น Murasame แก้

ขนาด
  • ระวางขับน้ำปกติ 4,550 ตัน เต็มที่ 6,100 ตัน
  • มีความยาว151 เมตร กว้าง 17.4 เมตร
เครื่องจักร
  • ขับเคลื่อนด้วยระบบ เครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ 4 เครื่อง ของ Kawasaki Rolls-Royce Spey และ Ishikawajima Harima LM-2500 อย่างละ 2 เครื่องและ 2 เพลา
ระบบอาวุธ
  • ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-พื้น SSM 1 B (Type 90)
  • ระบบท่อยิงแนวดิ่งแบบ MK 48 VLS จำนวน 16 ท่อยิงใช้สำหรับปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศแบบ ESSM (Evolved Sea Sparrow Missile)
  • ระบบท่อยิงแนวดิ่งแบบ MK 41 VLS จำนวน 16 ท่อยิงใช้สำหรับจรวดปราบเรือดำน้ำ RUM 139 VL ASROC
  • ตอร์ปิโดปราบเรือดำน้ำ MK 46 หรือ Type 73 บนแท่นยิงแฝดสามแบบ Type 68 จำนวน 2 แท่นยิง
  • ระบบป้องกันระยะประชิด Phalanx (CIWS) จำนวน 2 ระบบ
  • ปืนใหญ่ขนาด 76 มม. OTO Melara 3 จำนวน 1 กระบอก
เฮลิคอปเตอร์ประจำบนเรือ
  • SH 60 J(K) Seahawk 1 เครื่อง

ชั้นTakanami แก้

  • ระวางขับน้ำปกติ 4,650 ตัน เต็มที่ 6,300 ตัน
  • มีความยาว151 เมตร กว้าง 17.4 เมตร
เครื่องจักร
  • ขับเคลื่อนด้วยระบบ เครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ 4 เครื่อง ของ Kawasaki Rolls-Royce Spey และ Ishikawajima Harima LM-2500 อย่างละ 2 เครื่องและ 2 เพลา
ระบบอาวุธ
  • ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-พื้น SSM 1 B
  • ระบบท่อยิงแนวดิ่งแบบ MK 41 VLS จำนวน 32 ท่อยิงใช้สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศแบบ ESSM (Evolved Sea Sparrow Missile)
  • จรวดปราบเรือดำน้ำ RUM 139 VL ASROC, ตอร์ปิโดปราบเรือดำน้ำ MK 46 หรือ Type 73 บนแท่นยิงแฝดสามแบบ Type 68 จำนวน 2 แท่นยิง
  • ระบบป้องกันระยะประชิด Phalanx (CIWS) จำนวน 2 ระบบ
  • เรือพิฆาต (เบา) หรือเรือฟริเกต (DE) 6 ลำ
  • ปืนใหญ่ขนาด 5 นิ้ว (127 มม.) รุ่นOto-Breda จำนวน 1 กระบอก
เฮลิคอปเตอร์ประจำบนเรือ
  • SH 60 J(K) Seahawk 1 เครื่อง

ชั้นAsagiri แก้

  • ระวางขับน้ำปกติ 3,500 ตัน เต็มที่ 4,900 ตัน
  • มีความยาว 137 เมตร กว้าง 14.6 เมตร
เครื่องจักร

ขับเคลื่อนด้วยระบบ เครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ 4 เครื่อง เครื่องมีเพลาใบจักร 2 เพลา ขนาด 54,000 KW ทำความเร็วได้ถึง 30 นอต

ระบบอาวุธ
  • ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-พื้น RGM 84 Harpoon ใช้ยิงโจมตีทำลายเรือรบ 2 แท่น ๆ ละ 4 ท่อยิง
  • อาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศพิสัยใกล้แบบ Sea Sparrow Missile Mark 29 บนแท่นยิง 8 ท่อ
  • ระบบป้องกันระยะประชิด Phalanx (CIWS) จำนวน 2 ระบบ
  • จรวดปราบเรือดำน้ำ RUM 139 ASROC และตอร์ปิโดปราบเรือดำน้ำ MK 46 บนแท่นยิงแฝดสามแบบ HOS-301 จำนวน 2 แท่นยิง
  • ปืนใหญ่ขนาด 76 มม. Otobreda จำนวน 1 กระบอก
เฮลิคอปเตอร์ประจำบนเรือ
  • SH 60 J(K) Seahawk 1 เครื่อง

ชั้น Akizuki แก้

  • ระวางขับน้ำปกติ 5,000 ตัน เต็มที่ 6,800 ตัน
  • มีความยาว 150.5 เมตร กว้าง 18.3 เมตร
เครื่องจักร
  • เคลื่อนด้วยระบบ เครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ 4 เครื่องเพลาใบจักร 2 เพลา ทำความเร็วได้ถึง 30 นอต
ระบบอำนวยการรบ
  • ATECS (advanced technology command system)
  • OYQ-11 ACDS
  • FCS-3A AAW system
  • OQQ-22 ASW system
  • NOLQ-3D EW system
ระบบอาวุธ
  • ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-พื้น Type 90 ใช้ยิงโจมตีทำลายเรือรบ 2 แท่น ๆ ละ 4 ท่อยิง
  • ระบบท่อยิงแนวดิ่งแบบ MK 41 VLS จำนวน 32 ท่อยิงใช้สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศแบบ ESSM (Evolved Sea Sparrow Missile)
  • จรวดปราบเรือดำน้ำ RUM 139 ASROC (DD 115) และ Type07 VL-ASROC (DD 116 to DD 118)
  • ระบบป้องกันระยะประชิด Phalanx (CIWS) จำนวน 2 ระบบ
  • ตอร์ปิโดปราบเรือดำน้ำ MK 46 บนแท่นยิงแฝดสามแบบ HOS-301 จำนวน 2 แท่นยิง
  • ปืนใหญ่ขนาด 127 มม. caliber Mark 45 จำนวน 1 กระบอก
เฮลิคอปเตอร์ประจำบนเรือ
  • SH 60 J(K) Seahawk 1 เครื่อง

ชั้น Abukuma แก้

6 ลำ

  • เริ่มประจำการปี 1989
  • ระวางขับน้ำ 2000 ตัน
  • ระวางขับน้ำเต็มที่ 2,550 ตัน
  • อาวุธ ปืนเรือ 76 มม., อาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-พื้น RGM 84 Harpoon 2 ท่อยิง 8 ลูก, ASROC 8 ลูก, ตอร์ปิโดแบบ HOS-301 2 แท่นยิง 6 ลูก, Phalanx CIWS 1 ระบบ

เรือตรวจการณ์ติดอาวุธปล่อยนำวิถี (PG) แก้

ชั้น Hayabusa แก้

  • เรือตรวจการณ์ติดอาวุธปล่อยนำวิถี (Guided Missile Patrol craft) ชั้น Hayabusa เรือตรวจการ หรือ Patrol Boats (PB)-(PG) ความเร็วสูง ของญี่ปุ่น

Hayabusa ถูกสร้างตั้งแต่ปี 2000 ถึงปี 2004 โดยทาง JMSDF ตั้งใจจะเอามาทดแทน PG 1 Go ที่ไม่เหมาะกับทะเลเปิดขนาดใหญ่แบบญี่ปุ่น (PG 1 Go ที่ได้แบบมาจาก Sparviero-class ของอิตาลีนั้น เหมาะกับทะเลปิดมากกว่าโดยตัวเรือนั้น ถูกต่อขึ้นที่อู่ ชิโมโนะเซกิ(Shimonoseki) ซึ่งเป็นอู่เอกชนขนาดเล็ก (แต่เป็นคนละอู่กับที่สร้าง เรือเร็วโจมตีขีปนาวุธ PG 1 Go) โดยเริ่มต้นวางกระดูกงู ในเดือน พฤศจิกายน ปี 2000 และทยอยต่อเข้าประจำการ จนครบ 6 ลำในเดือน มีนาคม ปี 2004 เพื่อลบข้อด้อยของ PG 1 Go ที่มีขนาดเล็ก ทางผู้ออกแบบจึงได้ขยายแบบเรือ ให้ใหญ่ขึ้น 4 เท่าติดอาวุธให้หนักขึ้น และใช้เครืองยนต์ที่มีกำลังสูงขึ้น โดยได้นำระบบ Water Jet ที่ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่ใหม่มากๆ ในสมัยนั้นมาใช้ จึงทำให้ Hayabusa เป็นเรือเร็วโจมตี ติดอาวุธปล่อยนำวิถี ที่ทำความเร็วสูงและมีอาวุธที่หนักมากในยุคนั้น

  • ระบบอาวุธ Weapon systems

มีระบบอาวุธปล่อยพื้น-สู่-พื้น แบบท่อคู่ SSM 1 B (Type 90 ship-to-ship missile) ซึ่งมีช่วงหมัดยาวถึง 200 km แต่มีน้ำหนักเพียง 260 kg เท่านั้น สำหรับทำลายเรือรบ, ปืนใหญ่ขนาด 76 มม.Otobreda รุ่น super rapid จำนวน 1 กระบอก และปืนกลขนาด 12.7 มม จำนวน 2 กระบอก

  • ระบบตรวจจับ Sensors / radars

เรดาร์JRC OPS-20 ที่มีรูปแบบเป็น I-band ที่คลื่นความถี่ 8 ถึง 10 GHz

  • ระบบขับเคลื่อน Propulsion

เรือชั้น Hayabusa มีระวางขับน้ำสูงสุด 240 ตัน มีความยาว 50.1 เมตรและกว้าง 8.4 เมตร ขับเคลื่อนด้วยระบบ General electric LM 500-G07 Gas-turbine จำนวน 3 เครื่อง สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 46 นอต(ประมาณ 85 กม.ต่อชั่วโมง) มีพลประจำเรือ 21 นาย เรือชั้นนี้ถูกสร้างขึ้นมา จำนวนทั้งสิ้น 6 ลำคือ PG 824 Hayabusa,PG 825 Wakataka,PG 826 Otaka,PG 827 Kumataka,PG 828 Umitaka และ PG 829 Shirataka

  • Hayabusa class Patrol boats
  • PG-824 - PG-829
  • เริ่มประจำการปี 2002
  • จำนวน 6ลำ
  • ข้อมูลเรือ
  • ผู้สร้าง MHI's Shimonoseki Shipyard & Machinery Works
  • ยาว 50.1 ม.
  • กว้าง 8.4 ม.
  • กินน้ำลึก 1.7 ม.
  • ระวางขับน้ำ ปกติ 200 ตัน, สูงสุด 240 ตัน
  • ระบบขับเคลื่อน แก๊สเทอร์ไบน์ 3 เครื่อง
  • ความเร็ว 46 น็อต
  • ระวางขับน้ำ 200 ตัน
  • อาวุธ ปืนประจำเรือขนาด 76มม., ปืนกล 12.7มม. 2 กระบอก, ขีปนาวุธโจมตีเรือ SSM-1B 4 ลูก
  • เป้าลวง Mk 36 decoys จำนวน 2 ชุด

เรือสนับสนุนการกวาดทุ่นระเบิด (MST-MCL) 4 ลำ (ชั้น Uraga มี 2 ลำ, ชั้น Nijima มี 1 ลำ, ชั้น Ieshima มี 1 ลำ) เรือดำน้ำ (SS) 17 ลำ (ชั้น Soiyu 4 ลำ, ชั้น Harushio 2 ลำ, ชั้น Oyashio 11 ลำ)


เรือกวาดทุ่นระเบิดไกลฝั่ง (ทะเลลึก) (MSO) 3 ลำ (ชั้น Yaeyama มี 3 ลำ)

เรือกวาดทุ่นระเบิดใกล้ฝั่ง (MSC) 19 ลำ (ชั้น Sugashima 12 ลำ, ชั้น Uwajima 7 ลำ)

เรือสงครามสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกขนาดใหญ่ (LST) 3 ลำ (ชั้น Osumi 3 ลำ)

เรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ (LSU) 2 ลำ (ชั้น Yura 2 ลำ)

เรือยกพลขึ้นบกขนาดกลาง (LCU) 2 ลำ (ชั้น I-Go 2 ลำ)

เรือระบายพล (LCM) 12 ลำ (LCM ชั้น YF 2121 จำนวน 10 ลำ, LCM ชั้น YF 2150 จำนวน 2 ลำ)

ยานเบาะอากาศสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก (LCAC) 6 ลำ

เรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ (AMS) 5 ลำ (ชั้น Hiuchi 5 ลำ)

เรือเติมน้ำมันขนาดใหญ่ (AOE) 5 ลำ (ชั้น Mashu 2 ลำ, ชั้น Towada 3 ลำ)

เรือสำรวจอุทกศาสตร์ (AGS) 4 ลำ เรือสำรวจทางทะเล (ASE) 2 ลำ เรือตัดน้ำแข็ง (AGB) 1 ลำ เรือสำหรับวางเคเบิลใต้น้ำ (ARC) 1 ลำ เรือกู้ภัยเรือดำน้ำ (ASR) 1 ลำ เรือสนับสนุนกู้ภัยเรือดำน้ำ (AS) 1 ลำ

เรือฝึก (TV) 5 ลำ (ชั้น Kashima 1 ลำ, ชั้น Hatsuyuki 2 ลำ, ชั้น Asagiri 2 ลำ)

เรือดำน้ำฝึก (TSS) 2 ลำ (ชั้น Harushio 2 ลำ)

เรือพี่เลี้ยงและสนับสนุนการฝึก (ATS) 2 ลำ (ชั้น Tenryu 1 ลำ, ชั้น Kurobe 1 ลำ)

 
ธงประจำกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น

เรือรบในอนาคต แก้

  • เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้นฮารุกะ (ปล่อยลงน้ำ 1 ลำส่วนอีกลำกำลังก่อสร้างคาดว่าจะปล่อยลงน้ำในปี 2009)
  • เรือพิฆาต 5000 ตัน (4 ลำกำลังก่อสร้าง)
  • เรือดำน้ำชั้นโซริว (ปล่อยลงน้ำ1ลำกำลังก่อสร้าง 2 ลำ 1 ลำกำลังวางแผน)
  • เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ 22DDH DDH -183 (วางแผนต่อ 2 ลำ วางกระดูกแล้ว 1 ลำ คาดแล้วเสร็จปี 2015)

อากาศยาน แก้

กองบินนาวีของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลของญี่ปุ่น (JMSDF)

นอกจากกำลังทางเรือแล้วก็ยังมีกำลังทางอากาศในส่วนของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลของญี่ปุ่น หรือเรียกกันเข้าใจง่าย ๆ ว่า กองบินนาวี ซึ่งมีสำนักงานหรือกองบัญชาการตั้งอยู่ที่ อัทซูกิ และมีฐานบินอยู่ถึง 7 แห่ง คือ อัทซูกิ, เคโนยะ, ฮาชิโนเฮะ, นาฮา, ทาเทะยะมะ, โอมูระ และอิวาคูนิ ซึ่งส่วนใหญ่มีภารกิจตรวจการณ์ทางทะเล ค้นหาช่วยเหลือผู้ประสบภัย ลำเลียงทางยุทธวิธี ปราบเรือดำน้ำอย่างเช่น เครื่องบิน P 3 C Orion ที่มีประจำการถึง 80 เครื่อง (ประเทศไทยมีใช้งานตั้ง 3 เครื่อง) หรือ เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ SH 60 J/K Seahawk ที่มีประจำการแค่ 130 เครื่องกองบินนาวีของญี่ปุ่นถือว่าเป็นกองบินนาวีที่มีขนาดใหญ่ประเทศหนึ่งของโลกซึ่งแบ่งออกเป็น

อากาศยาน ประเภท รุ่น ประจำการ[7] หมายเหตุ
Fixed-wing aircraft
Lockheed P-3 Orion ลาดตระเวนทางทะเล
ลาดตระเวนทางอิเล็กทรอนิกส์
ลาดตระเวน
ทดสอบอาวุธ
ฝึกลาดตระเวนทางอิเล็กทรอนิกส์
P-3C
EP-3C
OP-3C
UP-3C
UP-3D
80
5
4
1
3
*P-3C ต่อต้านเรือเรือดำน้ำและต่อต้านเรือรบ
Kawasaki P-1 ลาดตระเวนทางทะเล XP-1 2 มีแผนจะนำมาทดแทน P-3C ทั้งหมด
NAMC YS-11 เครื่องบินขนส่ง YS-11T 3 มีแผนจะทดแทนด้วยเครื่องบิน KC-130R[8]
KC-130 Hercules เติมน้ำมันทางอากาศ KC-130R 6 ลำที่ปลดประจำการ ได้รับการปรับปรุงกลับเข้าประจำการ[9]
Learjet 35 เครื่องบินขนส่ง U-36A 4
Beechcraft King Air เครื่องบินขนส่ง/สื่อสาร
เครื่องบินฝึก
LC-90
TC-90
5
27
Fuji T-5 เครื่องบินฝึก T-5 50
ShinMaywa US-1 ค้นหาและกู้ภัย US-1A 2
ชินเมวะ ยูเอส-2 ค้นหาและกู้ภัย US-2 5 ทดแทนเครื่องบิน US-1A
เฮลิคอปเตอร์
Mitsubishi SH-60 ลาดตระเวนทางทะเล SH-60J
SH-60K
97 ต่อต้านเรือดำน้ำ
CH-53E Super Stallion เฮลิคอปเตอร์กวาดทุ่นระเบิด MH-53E 10
AgustaWestland AW101 เฮลิคอปเตอร์กวาดทุ่นระเบิด
เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง
MCH-101
CH-101
7 7 ลำและมีคำสั่งซื้อเพิ่ม ทดแทน MH-53E
MD Helicopters MD 500 เฮลิคอปเตอร์ฝึก OH-6D
OH-6J
5
4
Eurocopter EC 135 เฮลิคอปเตอร์ฝึก TH-135 6 9 ลำและมีคำสั่งซื้อเพิ่ม
UH-60 Black Hawk ค้นหาและกู้ภัย UH-60J 19

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "History - Japanese Maritime Self Defense Force". Japan Ministry of Defense. สืบค้นเมื่อ 23 May 2020.
  2. "C㎩qFM[Fʐ^M[Fq́i͒j". สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
  3. "海上自衛隊:ギャラリー:潜水艦(艦艇)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-22. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
  4. "Flightglobal - World Air Forces 2015" (PDF). Flightglobal.com.
  5. Kyle, Mizokami (16 October 2016). "Sorry, China: Why the Japanese Navy is the Best in Asia". The National Interest. สืบค้นเมื่อ 5 June 2020.
  6. "Japan> National Security> Self-Defense Forces> Early Development". Library of Congress Country Studies. สืบค้นเมื่อ 9 May 2015.
  7. "World Air Forces 2013". Flightglobal.com
  8. Kyle Mizokami (2012-02-27). "The Mystery of Japan's KC-130 Buy". Japan Security Watch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-03.
  9. Sale Gives New Life to Excess C-130s เก็บถาวร 2019-12-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Defense-Aerospace.com, March 7, 2013

อ่านเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

พิกัดภูมิศาสตร์: 35°18′40″N 139°38′10″E / 35.31111°N 139.63611°E / 35.31111; 139.63611