จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระมหากษัตริย์สเปน และดยุกแห่งบรูกอญ (ค.ศ. 1500–1558

จักรพรรดิคาร์ล (ชาลส์) ที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์[3] (เยอรมัน: Karl V ; สเปน: Carlos I or Carlos V ; อังกฤษ: Charles V, 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2043 - 21 กันยายน พ.ศ. 2101) สมัยราชวงศ์ฮาพส์บวร์คในสเปนทรงครองราชย์ในนามของพระเจ้าการ์โลสที่ 1 แห่งสเปน เป็นประมุขแห่งดัชชีบูร์กอญ (ในปี พ.ศ. 2049 - 2098) พระมหากษัตริย์แห่งสเปน (พ.ศ. 2059 - 2099) พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรเนเปิลส์และราชอาณาจักรซิซิลี (พ.ศ. 2059 - 2097) อาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย (พ.ศ. 2062 - 2064) และจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (พ.ศ. 2073 - 2099)

คาร์ลที่ 5
จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
พระมหากษัตริย์แห่งชาวโรมัน
พระมหากษัตริย์แห่งอิตาลี
ครองราชย์28 มิถุนายน 1519 – 27 สิงหาคม 1556
(37 ปี 60 วัน)[1]
ราชาภิเษก26 ตุลาคม 1520 (เยอรมนี)
22 กุมภาพันธ์ 1530 (อิตาลี)
24 กุมภาพันธ์ 1530 (จักรวรรดิ)
ก่อนหน้าจักรพรรดิมัคซีมีลีอานที่ 1
ถัดไปจักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ที่ 1
อาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย
ครองราชย์12 มกราคม 1519 – 28 เมษายน 1521
(2 ปี 106 วัน)
ก่อนหน้าอาร์ชดยุกมัคซีมีลีอานที่ 1
ถัดไปอาร์ชดยุกแฟร์ดีนันท์ที่ 1
พระมหากษัตริย์แห่งสเปน
ครองราชย์23 มกราคม 1516 – 16 มกราคม 1556
(39 ปี 358 วัน)
ก่อนหน้าสมเด็จพระราชินีนาถฆัวนาที่ 1 และ พระเจ้าเฟร์นันโดที่ ที่ 2 และที่ 4
ถัดไปพระเจ้าเฟลีเปที่ 2
ผู้ร่วมในราชสมบัติสมเด็จพระราชินีนาถฆัวนาที่ 1
ลอร์ดแห่งเนเธอร์แลนด์
ดยุกแห่งบูร์กอญ
ครองราชย์25 กันยายน 1506 –
25 ตุลาคม 1555[2]
ก่อนหน้าพระเจ้าเฟลีเปที่ 4
ถัดไปพระเจ้าเฟลีเปที่ 5
พระราชสมภพ24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1500(1500-02-24)
ฟลันเดอร์ส, เนเธอร์แลนด์
สวรรคต21 กันยายน ค.ศ. 1558(1558-09-21) (58 ปี)
ยุสเต
ฝังพระศพเอลเอสโกเรียล, สเปน
คู่อภิเษกอิซาเบลลาแห่งโปรตุเกส
พระราชบุตรพระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปน
มาเรียแห่งออสเตรีย จักรพรรดินีโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
โจฮันนา เจ้าหญิงแห่งโปรตุเกส
จอห์นแห่งออสเตรีย (นอกกฎหมาย)
มาร์กาเร็ด ดัสเชสแห่งปาร์มา(นอกกฎหมาย)
ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค
พระราชบิดาพระเจ้าเฟลิเปที่ 1 แห่งกัสติยา
พระราชมารดาสมเด็จพระราชินีนาถฆัวนาแห่งกัสติยา
ศาสนาโรมันคาทอลิก
ลายพระอภิไธย

พระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเฟลิเปที่ 1 แห่งกัสติยา พระราชโอรสในจักรพรรดิมัคซีมีลีอานที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์กับมารีแห่งบูร์กอญ และสมเด็จพระราชินีนาถฆัวนาแห่งกัสติยา พระราชธิดาในพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอนกับสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา ทรงเป็นพระภาคิไนย(หลานน้า)ของกาตาลินาแห่งอารากอน สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษพระมเหสีองค์แรกในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ

พระราชประวัติ

แก้

จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 พระราชสมภพที่เมืองเกนท์ในประเทศเบลเยียมในปัจจุบัน เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศง 1500 ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าเฟลิเปที่ 1และสมเด็จพระราชินีนาถฆัวนาแห่งกัสติยา โดยพระองค์นั้นมีสิทธิ์ในราชบัลลังก์ทั้งสเปนและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์โดยผ่านทางสายทั้งบิดา และ มารดาต่อไปนี้

1.  พระองค์มีสิทธิ์บนบัลลังก์สเปน โดยทางสายพระมารดาโดยพระนางฆัวนาเป็น พระราชธิดาของสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลแห่งกัสติยาและพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน

2.  พระองค์มีสิทธิ์บนบัลลังก์จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์โดยทางสายพระราชบิดา โดยพระเจ้าเฟลิเปที่ 1 แห่งกัสติยา ทรงเป็นพระราชโอรสของ จักรพรรดิมัคซีมีลีอานที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ขึ้นบัลลังก์สเปน

แก้

สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลแห่งกัสติยา สวรรคตในปี 1506 ในพระราชพินัยกรรมของพระนางได้ยกราชสมบัติกัสติยาให้อินฟันเตการ์โลส ผู้เป็นพระราชนัดดาโดยให้พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2แห่งอารากอนเป็นผู้สำเร็จราชการแต่พระเจ้าเฟร์นันโดกลับให้อาร์ชดยุกฟิลลิพรูปงามผู้เป็นพระราชบิดาของอินฟันเตการ์โลสครองราชย์แทนเป็นพระเจ้าเฟลิเปที่ 1 แห่งกัสติยา แต่หลังจากที่พระเจ้าเฟลิเปสวรรคต พระองค์ก็ได้เป็นกษัตริย์กัสติยาอยู่ดี

แต่เมื่อพระเจ้าเฟลิเปสวรรคตในปีเดียวกัน พระเจ้าเฟร์นันโด กลับให้ พระนางฆัวนา ครองราชสมบัติแทนและจับพระนางฆัวนาไปขังในสำนักชีเสียอย่างนั้นและพระเจ้าเฟร์นันโดก็สถาปนาตนเป็นผู้สำเร็จราชการแทน จนถึงปี 1516 ระหว่างนั้น อินฟันเตคาร์ลได้กลับไปที่บูร์กอญ และเรียนรู้ศิลปวิทยาการในยุคเรเนซองก์มากขึ้น จนถึงปี 1516 พระเจ้าเฟร์นันโดสวรรคต พระองค์ได้เป็นกษัตริย์สเปน

ปัญหาในสเปน

แก้

พระเจ้าการ์โลสที่ 5 เดินทางจากเกนต์ มาถึงสเปนในปี 1517 โดยระหว่างนี้ที่สเปน ผู้สำเร็จราชการคือ สังฆราช จิมิเนส เมื่อพระองค์เดินทางมาถึงสเปนพระองค์พบปัญหาทันทีคือ

1.     การปกครองในแคว้นต่างๆของสเปนนั้น มีความแตกต่างกันอย่างมาก แคว้นกัสติยานั้น พระองค์มีอำนาจเต็มที่ แต่แคว้น อารากอน กาตาลุญญา และ นาวาร์ นั้นไม่ใช่ เพราะแคว้นเหล่านี้มีระบอบอภิสิทธิ์ หรือ Fueros อยู่ ซึ่งมีอำนาจตรวจสอบกษัตริย์ได้ คล้ายๆกับที่อังกฤษ

2.    ชาวสเปนมองว่าพระองค์เป็นชาวต่างชาติ เพราะพระองค์เสด็จพระราชสมภพในเนเธอร์แลนด์ และทรงตรัสภาษาสเปนไม่ได้ดีนัก ทำให้ชาวสเปนมองพระองค์อย่างรังเกียจอย่างไรก็ดี พระองค์ก็ทรงเป็นคนเคร่งศาสนาเหมือนกับชาวสเปน ทำให้ชาวสเปน (อย่างน้อยก็ในกัสติยา) เริ่มนิยมในตัวพระองค์มากขึ้น เพราะพระองค์มีนิสัยคล้ายชาวสเปน (ชาวสเปนเคร่งศาสนาเพราะตัวเองต้องทำสงครามครูเสดกับพวกมัวร์ ที่เรียกกันว่า เรกองกิสตา อยู่ถึง 760 ปี ตั้งแต่ปี 732 จนถึงปี 1492 ซึ่งนิสัยนี้จะติดอยู่กับคนสเปนจนถึงทุกวันนี้) พระเจ้าการ์โลสในวัย 17 พรรษาก็ต้องแก้ปัญหาในสเปน โดยเฉพาะความขัดแย้งที่มีมาตั้งแต่สมัย พระมหากษัตริย์คาทอลิก (พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน และ สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา) ที่ยังแก้ไขไม่ลุล่วง จนถึงปี 1519 เหตุการณ์ร้ายแรงจะเกิดขึ้นในอีกฟากของยุโรปที่ราชสำนักจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ขึ้นเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

แก้

ปี 1519 จักรพรรดิมัคซีมีลีอานที่ 1 พระราชอัยกา(ปู่)ของพระเจ้าการ์โลส เสด็จสวรรคตที่ พระราชวังในเวียนนาออสเตรียและจะมีการเรียกประชุมเจ้านครรัฐผู้คัดเลือก

อีกครั้งซึ่งมีคู่แข่งทั้งหมด 3 คน ในการชิงตำแหน่งคราวนี้ คือ

1.  พระเจ้าการ์โลสที่ 1 แห่งสเปน พระราชนัดดาของจักรพรรดิมัคซีมีลีอาน

2.  พระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส

3.  พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ

แต่จักรพรรดิมัคซีมีลีอานได้เตรียมการก่อนสวรรคตได้แล้ว ซึ่งจะเป็นรากฐานให้ราชวงศ์ฮาพส์บวร์คครองอำนาจในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ไปอีก 290 ปี

นั่นคือ พระองค์ได้ติดต่อให้ โยฮัน ยาคอบ ฟุกเกอร์ นักธนาคารชาวยิว ซึ่งเป็นเจ้าของธนาคารฟุกเกอร์ ซึ่งว่ากันว่ารวยที่สุดในโลกในศตวรรษที่ 16 ทำการติดสินบนเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกทั้ง 7 ให้เลือกฝั่งพระเจ้าการ์โลสสที่ 1 ให้เป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์พระองค์ใหม่ โดยพระองค์จะพระราชทานเหมืองเงินที่ ออกสเบิร์ก (Augsburg) เป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารฟุกเกอร์แต่เพียงผู้เดียว เป็นรางวัลในครั้งนี้

ผลออกมาคือ พระเจ้าการ์โลสที่ 1 ได้เป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และราชาภิเษกเป็น จักรพรรดิคาร์ลที่ 5แห่งราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค ซึ่งพระองค์จะครอบครองดินแดนในยุโรปถึง 1 ใน 4 ทั้ง เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี ลีชเทินชไตน์ ออสเตรีย ฮังการี เช็กเกีย อิตาลีตอนเหนือ และ สเปน

กบฎคอมมูนในสเปน

แก้

ปัญหาในสเปนที่กล่าวไปแล้วในตอนต้นว่า แต่ละแคว้นในสเปนไม่ได้มีเอกภาพที่แท้จริง นับแต่การรวมชาติสเปน ในสมัยของกษัตริย์คาทอลิก ในปี 1469 โดยเฉพาะปัญหาของอภิสิทธิ์ชน ในแคว้น คาทาโลเนีย ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่พระองค์ต้องประสบตลอดรัชสมัย และมันจะทำให้เกิดกบฏคอมมูนขึ้นในปี 1524

ซึ่งพระองค์พยายามเรียกร้องทหารมาจากแคว้นอรากอน แต่ไม่ได้ผล แคว้นอรากอนไม่ส่งอะไรมาช่วยพระองค์เลย ทำให้พระองค์ตัดสินใจใช้ทหารจากคาสติล และ โลว์แลนด์ มาปราบปรามกบฏคอมมูนในคาทาโลเนีย และ แคว้นบาสก์ อย่างเด็ดขาด แต่กบฏคอมมูนนี้จะส่งผลกับสเปนดังนี้

1.  แคว้นคาสติลต้องแบกรับภาระหนักในเรื่อง ภาษี และ กองทหาร ซึ่งกว่าจะแก้ไขได้สำเร็จต้องรอไปจนถึง รัชสมัย พระเจ้าฟิลิเปที่ 5 ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์บูร์บอง ในสเปน

2.  แคว้นต่างๆยังคงอำนาจของ Fueros ได้ต่อไป ทำให้สร้างปัญหาในการปกครองให้กับพระองค์

ดังนั้น พระองค์จึงไม่ค่อยอยู่ที่สเปน พระองค์กลับไปอยู่ที่ เบอร์กันดีเป็นหลักมากกว่า

ปัญหาในเยอรมนี

แก้

จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 ทรงพบปัญหาใหญ่อีกครั้งในแผ่นดินเยอรมัน ก็คือ ระหว่างที่พระองค์มัวแต่ยุ่งอยู่กับปัญหาในสเปน และ ปัญหาสงครามฝรั่งเศส-สเปน ในปี 1521-1526 ซึ่งสเปนชนะอย่างเด็ดขาดที่สมรภูมิปาเวีย เมื่อ ยอร์ช ฟอน ฟรันเบิร์ก แม่ทัพผู้ซื่อสัตย์ของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์สามารถจับเอาพระเจ้าฟรังซัวร์ที่ 1 มาเรียกค่าไถ่ได้สำเร็จ

ทำสงครามกับจักรวรรดิออตโตมัน

แก้

สุลต่านสุไลมานแห่งจักรวรรดิออตโตมันทรงเริ่มดำเนินการแผ่ขยายอำนาจของจักรวรรดิออตโตมันโดยการทำการทัพต่าง ๆ ที่รวมทั้งการที่ทรงสามารถปราบการแข็งข้อที่นำโดยข้าหลวงแห่งดามัสกัสผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งไปจากจักรวรรดิออตโตมันเองใน ค.ศ. 1521 ต่อจากนั้นพระองค์ก็ทรงเตรียมการยึดเมืองเบลเกรดจากราชอาณาจักรฮังการีซึ่งพระอัยกาสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 ได้ทรงพยายามในปี ค.ศ. 1456 แต่ไม่ทรงประสบความสำเร็จ เจ็ดสิบปีต่อมาสุลต่านสุลัยมานก็ทรงนำกองทัพเข้าล้อมเบลเกรดและทรงโจมตีโดยการยิงลูกระเบิดจากเกาะกลางแม่น้ำดานูบเข้าไปยังตัวเมือง เมื่อมีกองทหารป้องกันอยู่เพียง 700 คนและปราศจากความช่วยเหลือจากราชอาณาจักรฮังการี เบลเกรดก็เสียเมืองในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1521 หลังจากที่ทรงยึดเมืองได้แล้วพระองค์ก็มีพระบรมราชโองการให้เผาเมือง และเนรเทศประชากรที่เป็นคริสเตียนทั้งหมดที่รวมทั้งชาวฮังการี กรีก และอาร์เมเนียออกจากเมืองไปยังอิสตันบูล การยึดเบลเกรดได้เป็นสิ่งสำคัญในการกำจัดฮังการี ผู้ที่หลังจากได้รับชัยชนะต่อเซอร์เบีย บัลแกเรีย และไบแซนไทน์แล้วก็กลายเป็นมหาอำนาจที่แข็งแกร่งพอที่จะหยุดยั้งการขยายตัวของจักรวรรดิออตโตมันเข้าไปในยุโรปได้

ข่าวการเสียเมืองเบลเกรดอันที่เป็นที่มั่นสำคัญที่มั่นหนึ่งของคริสตจักรทำให้ยุโรปเสียขวัญ และกระจายความหวั่นกลัวในอำนาจของจักรวรรดิออตโตมันกันไปทั่วยุโรป ราชทูตของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในอิสตันบูลบันทึกว่า “การยึดเมืองเบลเกรดเป็นต้นกำเนิดของเหตุการณ์อันสำคัญต่าง ๆ ที่ท่วมท้นราชอาณาจักรฮังการี และเป็นเหตุการณ์ที่ในที่สุดก็นำมาซึ่งการสวรรคตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 2, การยึดเมืองบูดา การยึดครองทรานซิลเวเนีย, การทำลายราชอาณาจักรที่รุ่งเรือง และความหวาดกลัวของประเทศเพื่อนบ้านที่ต่างก็มีความหวาดกลัวว่าจะประสบความหายนะเช่นเดียวกัน[กับที่เบลเกรดประสบ]”

เมื่อสุลต่านสุลัยมานทรงยึดเบลเกรดได้แล้วก็ดูเหมือนว่าหนทางที่จะเอาชนะราชอาณาจักรฮังการีและออสเตรียก็เปิดโล่ง แต่สุลต่านสุลัยมานกลับทรงหันไปสนพระทัยกับเกาะโรดส์ทางตะวันออกของเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งขณะนั้นเป็นที่ตั้งมั่นของอัศวินแห่งโรดส์มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 โรดส์เป็นจุดยุทธศาสตร์อันสำคัญที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากอานาโตเลีย และบริเวณลว้าน ที่อัศวินแห่งโรดส์หรือฝ่ายคริสเตียนใช้เป็นฐานในการสร้างความคลอนแคลนให้แก่จักรวรรดิออตโตมันในบริเวณนั้นมาโดยตลอด ในฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1522 สุลต่านสุลัยมานก็ทรงส่งกองทัพเรือจำนวน 400 ลำไปล้อมโรดส์ ส่วนพระองค์เองก็เสด็จนำทัพจำนวนอีก 100,000 คนเดินทางทางบกไปสมทบ ข้ามอานาโตเลียไปยังฝั่งตรงข้ามกับเกาะโรดส์ หลังจากการล้อมเมืองโรดส์อยู่เป็นเวลาห้าเดือนโดยการปิดอ่าว ระเบิดทำลายกำแพงเมือง และเข้าโจมตีต่อเนื่องกันอย่างรุนแรงหลายครั้ง ในปลายปี ค.ศ. 1522 ทั้งสองฝ่ายต่างก็หมดแรงและตกลงทำการเจรจาหาทางสงบศึก สุลต่านสุลัยมานทรงเสนอว่าจะทรงยุติการโจมตี จะไม่ทรงทำลายชีวิตประชากร และจะทรงประทานอาหารถ้าชาวโรดส์ยอมแพ้ แต่เมื่อฝ่ายโรดส์เรียกร้องให้พระองค์ทรงยืนยันคำมั่นสัญญาที่หนักแน่นกว่าที่ประทานพระองค์ก็พิโรธและมีพระราชโองการให้เริ่มการโจมตีเมืองขึ้นอีกครั้ง กำแพงเมืองโรดส์เกือบทั้งหมดถูกทำลาย เมื่อเห็นท่าว่าจะแพ้แกรนด์มาสเตอร์ของอัศวินแห่งโรดส์ก็ยื่นข้อเสนอขอเจรจาสงบศึกอีกครั้ง และเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1522 ประชากรชาวโรดส์ก็ยอมรับข้อแม้ของสุลต่านสุลัยมาน พระองค์พระราชทานเวลาสิบวันแก่อัศวินในการอพยพออกจากโรดส์ แต่พระราชทานเวลาสามปีให้แก่ประชากรผู้ประสงค์ที่จะย้ายออกจากเกาะ เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1523 อัศวินแห่งโรดส์ก็เดินทางออกเดินทางจากเกาะพร้อมกับเรือ 50 ลำไปยังครีต

เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 2 แห่งฮังการีเสกสมรสกับแมรีแห่งออสเตรียในปี ค.ศ. 1522 ความสัมพันธ์ของฮังการีกับออสเตรียทำให้ฝ่ายออตโตมันเห็นว่าเป็นการสร้างความไม่มั่นคงต่ออำนาจในคาบสมุทรบอลข่าน ที่ในที่สุดก็เป็นสาเหตุที่ทำให้สุลต่านสุลัยมานทรงกลับเข้ามาเริ่มการรณรงค์ทางทหารในยุโรปตะวันออกใหม่ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1526 สุลัยมานก็ทรงได้รับชัยชนะต่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 2 แห่งฮังการีในยุทธการที่โมฮาก พระเจ้าหลุยส์เองเสด็จสวรรคตในสนามรบ เมื่อสุลต่านสุลัยมานทรงพบร่างที่ปราศจากชีวิตของพระเจ้าหลุยส์ ก็เชื่อกันว่าสุลต่านสุลัยมานทรงมีความโทมนัสและทรงรำพึงถึงการเสียชีวิตว่าเป็นการเสียชีวิตอันไม่สมควรแก่เวลาของพระเจ้าหลุยส์ผู้มีพระชนมายุเพียง 20 พรรษา หลังจากชัยชนะในยุทธการที่โมฮากแล้วการต่อต้านของฮังการีก็สิ้นสุดลง จักรวรรดิออตโตมันจึงกลายเป็นมหาอำนาจอันสำคัญของยุโรปตะวันออกแทนที่

แต่ในปี ค.ศ. 1529 พระองศ์และแฟร์ดีนันด์ อาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย พระอนุชาก็ยึดบูดาและราชอาณาจักรฮังการีคืนได้ ซึ่งเป็นผลให้สุลต่านสุลัยมานต้องทรงนำทัพกลับเข้ามาในยุโรปอีกครั้งในปี ค.ศ. 1529 โดยทรงเดินทัพทางหุบเขาแม่น้ำดานูบและทรงยึดบูดาคืนในฤดูใบไม้ร่วง หลังจากนั้นก็ทรงเดินทัพต่อไปล้อมเมืองเวียนนาซึ่งเป็นความทะเยอทะยานอันสูงสุดของจักรวรรดิออตโตมันในการขยายอำนาจเข้ามาทางยุโรปตะวันตก โดยมีจำนวนกองหนุนด้วยกันทั้งสิ้น 16,000 คน แต่ออสเตรียก็สามารถเอาชนะสุลต่านสุลัยมานได้ ซึ่งเป็นความพ่ายแพ้ครั้งแรกของพระองค์ ที่เป็นผลให้ทั้งสองจักรวรรดิมีความความขัดแย้งกันต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20

การพยายามเข้ายึดเวียนนาครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1532 ก็ประสบความล้มเหลวอีกเช่นกัน เมื่อสุลต่านสุลัยมานทรงถอยทัพก่อนที่จะเข้าถึงตัวเมือง ในการล้อมเมืองทั้งสองครั้งกองทัพของจักรวรรดิออตโตมันเสียเปรียบตรงที่ต้องเผชิญกับสภาวะอากาศที่ไม่อำนวย ที่ทำให้จำต้องทิ้งอาวุธและเครื่องไม้เครื่องมือในการล้อมเมืองไว้ข้างหลังก่อนที่จะถอยทัพ นอกจากนั้นกองเสบียงก็ไม่สามารถส่งเสบียงได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะระยะทางที่ไกล

ภายในคริสต์ทศวรรษ 1540 ความขัดแย้งกันภายในราชอาณาจักรฮังการีก็เป็นการเปิดโอกาสให้สุลต่านสุลัยมานได้แก้ตัวจากการที่ทรงได้รับความพ่ายแพ้ที่เวียนนาก่อนหน้านั้น ขุนนางฮังการีบางกลุ่มเสนอให้แฟร์ดีนันด์ อาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย ผู้สัมพันธ์กับพระเจ้าหลุยส์ที่ 2 แห่งฮังการีโดยทางการเสกสมรสเป็นพระเจ้าแผ่นดินของราชอาณาจักรฮังการีต่อจากพระองค์ โดยอ้างข้อตกลงก่อนหน้านั้นที่ว่าราชวงศ์ฮับส์บูร์กมิสิทธิที่จะขึ้นครองราชบัลลังก์ฮังการีในกรณีที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 2 เสด็จสวรรคตโดยไม่มีรัชทายาท แต่ขุนนางอีกกลุ่มหนึ่งสนับสนุนขุนพลทรานซิลเวเนียจอห์น ซาโพลยา (John Zápolya) ผู้ที่สุลต่านสุลัยมานทรงหนุนหลังแต่ไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยกลุ่มผู้นับถือคริสต์ศาสนาผู้มีอำนาจในยุโรป ในปี ค.ศ. 1541 ราชวงศ์ฮับส์บูร์กก็เข้าสู่ความขัดแย้งกับจักรวรรดิออตโตมันอีกครั้งโดยการเข้าล้อมเมืองบูดา แต่ไม่ประสบความสำเร็จและนอกจากนั้นก็ยังเสียป้อมปราการไปอีกหลายแห่ง แฟร์ดีนันด์และจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 พระเชษฐาจำต้องทรงยอมจำนนต่อสุลต่านสุลัยมานในการลงพระนามในสนธิสัญญาห้าปีโดยเฟอร์ดินานด์ทรงประกาศสละสิทธิในการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฮังการี และทรงต้องจ่ายเงินประจำปีสำหรับดินแดนฮังการีที่ยังทรงปกครองอยู่ให้แก่สุลต่านสุลัยมาน นอกจากนั้นสนธิสัญญาก็ยังไม่ยอมรับฐานะของคาร์ลว่าเป็น “จักรพรรดิ” โดยกล่าวถึงพระองค์เพียงว่าเป็น “พระมหากษัตริย์สเปน” ซึ่งเป็นการทำให้สุลต่านสุลัยมานเปรียบเทียบพระองค์เองว่าเป็น “จักรพรรดิ” ที่แท้จริงแต่เพียงพระองค์เดียว

ซึ่งนับว่าเป็นศึกที่จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 เอาชนะได้อย่างยากลำบากเต็มที เพราะพระองค์ทรงประทับอยู่ที่สเปนระหว่างที่เกิดศึกที่เวียนนา และ ทหาร ออตโตมัน ยกกองทัพมาเกือบ 2 แสนคน สู้กับทหารสเปน และ ทหารเยอรมัน จำนวน 17000 คน แต่ฝ่ายจักรวรรดิโรมันชนะอย่างเด็ดขาดเพราะการตั้งรับที่ ดีและออตโตมันขาดเสบียงจึงตัดสินใจกลับ

แต่ผลจากสงครามครั้งนี้ทำให้พระองค์พบปัญหาว่า ดินแดนเยอรมันไม่ได้เคารพในพระองค์เช่นเคย

สงครามในเยอรมนี และ การสละบัลลังก์

แก้

จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 ทรงพบปัญหาตลอดรัชสมัยในแผ่นดินเยอรมนีเสมอๆเพราะแม้ว่าดินแดนเยอรมันจะตกอยู่ในการปกครองของจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แต่จักรพรรดิไม่ได้มีอำนาจจริงจังอะไร เพราะดินแดนเกือบทั้งหมด เจ้าผู้ครองรัฐกว่า 200 รัฐในเยอรมนีมีอิสระในการปกครองตนเองค่อนข้างมากซึ่งจักรพรรดิมีอำนาจกับแค่รัฐเล็กๆเท่านั้นเมื่อเป็นรัฐใหญ่ๆแล้วจักรพรรดิก็ลำบากเหมือนกัน

อย่างที่กล่าวในข้างต้นว่า ผลจากการปฏิรูปศาสนาทำให้เจ้านครรัฐผู้คัดเลือกแบ่งเป็น 2 ฟาก คือ คาทอลิก กับ โปรแตสแตนท์ ทำให้การดำเนินนโยบายของจักรพรดิผู้เคร่งในศาสนาอย่างคาร์ลที่ 5 ต้องเจอกับอุปสรรคมากมาย โดยเฉพาะความพยายามในการตั้งศาลศาสนา (Inquistion) ขึ้นในเยอรมนี ประสบกับความล้มเหลวและสิ่งนี้จะเกิดสงครามระหว่าง คาทอลิก กับ โปรแตสแตนท์ ขึ้น ซึ่งเรียกกันว่า สงครามสันนิบาต (1546-1555) ซึ่งเป็นการทำสงครามระยะสั้นๆ แต่ก็จะเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับสงครามที่ใหญ่กว่าในศตวรรษหน้าคือ สงคราม 30 ปี ผลจบลงด้วยการเสมอกัน และทำสัญญา สันติภาพแห่งออกสเบิร์กขึ้น และเป็นการยอมรับใน นิกายลูเธอรัน ว่าถูกต้องตามกฎหมาย

แต่สงครามครั้งนี้ทำให้จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 เห็นว่า พระองค์จะไม่สามารถรักษาดินแดนที่กว้างใหญ่ได้โดยพระองค์เอง และพระองค์ทรงเบื่อหน่ายในการพบปัญหามาตลอด 40 กว่าปี ทำให้พระองค์ตัดสินใจสละราชสมบัติ และ แบ่งดินแดนเป็น 2 ส่วนดังนี้

1.   ดินแดนเนเธอร์แลนด์ สเปน และ โลกใหม่ พระองค์มอบให้ เจ้าชายฟิลิเป พระราชโอรส ซึ่งต่อมาจะกลายเป็น พระเจ้าฟิลลิปที่ 2 แห่งสเปน

2.   ดินแดนเยอรมนีทรงมอบให้เจ้าชายเฟอร์ดินานด์ พระราชอนุชาซึ่งต่อมาเป็น จักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

พระองค์สละราชสมบัติในปี 1556 และ ทรงออกผนวชเป็นบาทหลวงในวิหารที่สเปนและเสด็จสวรรคตในปี 1558 รวมพระชนมายุ 57 พรรษา

มรดกที่จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 ทิ้งเอาไว้ให้ชาวยุโรป

แก้

1.  ทรงทิ้งดินแดนโลกใหม่ที่ทหารของพระองค์ทั้ง คอร์เตซ และ ปิซาร์โร ไปพิชิตดินแดนทั้ง แอสเทค และ อินคา ทำให้สเปนมีอานานิคมที่กว้างใหญ่ไพศาลยิ่ง

2.  ทรงทิ้งปัญหาไว้ในเยอรมนี โดยเฉพาะปัญหาเรื่องศาสนา ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อไป จนเกิดสงครามศาสนาครั้งสุดท้ายนั่นก็คือ สงคราม 30 ปี

3.  ทรงสามารถป้องกันไม่ให้ออตโตมันเข้าสู่ยุโรปตอนในได้สำเร็จ ส่งผลให้ออตโตมันไปสนใจทะเลเมอร์ดิเตอเรเนียน

4.  ทรงทิ้งปัญหาหนี้สินทำให้สเปนต้องใช้เกือบ 200 ปี ในการแก้ไขปัญหานี้


อ้างอิง

แก้
  1. Date of Charles's abdication; on 24 กุมภาพันธ์ 1558, the college of electors assembled at Frankfort accepted the instrument of Charles V's imperial resignation and declared the election of Ferdinand as emperor p. 716, p. 182
  2. Abdication of Brussels. สืบค้นเมื่อ 8 June 2012.
  3. ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 45

https://www.cs.mcgill.ca/~rwest/wikispeedia/wpcd/wp/c/Charles_V%252C_Holy_Roman_Emperor.htm เก็บถาวร 2021-11-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน https://www.emperorcharlesv.com/charles-v/holy-roman-emperor/

ก่อนหน้า จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ถัดไป
เฟลิเปที่ 1 แห่งกัสติยา   ดยุกแห่งบราบันต์ ลิมบูร์ก โลเธียร์ และลักเซมเบิร์ก
(ค.ศ. 1506–1555)
  เฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน
เฟลิเปที่ 1 แห่งกัสติยา   เคานต์แห่งอาโทอิส แฟลนเดอส์ แอโน ฮอลแลนด์ นาเมียร์ ซีแลนด์ และเบอร์กันดี
(ค.ศ. 1506–1555)
  เฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน
ฆัวนาแห่งกัสติยา   กษัตริย์แห่งเนเปิล
(ค.ศ. 1516–1554)
  เฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน
ฆัวนาแห่งกัสติยา   กษัตริย์แห่งกัสติยาและเลออน อารากอน มาจอร์กา บาเลนเซีย และซิซิลี
(ค.ศ. 1516–1556)
  เฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน
ฆัวนาแห่งกัสติยา   เคานต์แห่งบาร์เซโลนา
(ค.ศ. 1516–1556)
  พระเจ้าเฟลีเปที่ 2
จักรพรรดิมักซีมีเลียนที่ 1   อาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย
ดยุกแห่งสติเรีย คารินเทีย และคาร์นีโอลา
เคานต์แห่งทีโรล

(ค.ศ. 1519–1521)
  จักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 1
จักรพรรดิมักซีมีเลียนที่ 1   กษัตริย์แห่งเยอรมนี
(ค.ศ. 1519–1556)
  จักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 1
จักรพรรดิมักซีมีเลียนที่ 1   จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
(ค.ศ. 1530–1556)
  จักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 1
จักรพรรดิมักซีมีเลียนที่ 1   กษัตริย์แห่งอิตาลี
(ค.ศ. 1530–1556)
  จักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 1