กลุ่มสิบเจ็ดมณฑล
กลุ่มสิบเจ็ดมณฑล (เยอรมัน: Siebzehn Provinzen, อังกฤษ: Seventeen Provinces) เป็นการรวมตัวเป็นสหอาณาจักรของรัฐในกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 ที่ครอบคลุมบริเวณที่ในปัจจุบันคือเนเธอร์แลนด์, เบลเยียม, บริเวณพอสมควรในลักเซมเบิร์ก (อาร์ตัว, นอร์ด) และส่วนเล็ก ๆ ในเยอรมนี
สิบเจ็ดมณฑล Zeventien Provinciën Diecisiete Provincias Siebzehn Provinzen Dix-sept Provinces | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1482–ค.ศ. 1581 | |||||||||||
ธงชาติ | |||||||||||
แผนที่ของกลุ่มสิบเจ็ดมณฑล | |||||||||||
สถานะ | รัฐในเครือจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ | ||||||||||
เมืองหลวง | บรัสเซลส์ | ||||||||||
ภาษาทั่วไป | ดัตช์, ฝรั่งเศส | ||||||||||
ศาสนา | โรมันคาทอลิก (ทางการ) หลังคริสต์ทศวรรษ 1530 โปรเตสแตนต์ และ Anabaptism (ภายในรัฐทางตอนเหนือ, ชนกลุ่มน้อยอย่างไม่เป็นทางการ) | ||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคกลาง | ||||||||||
• ก่อตั้ง | ค.ศ. 1482 | ||||||||||
• รวมตัวกับเครือราชรัฐบูร์กอญ | ค.ศ. 1512 | ||||||||||
26 กรกฎาคม ค.ศ. 1581 | |||||||||||
|
กลุ่มสิบเจ็ดมณฑลเดิมอยู่ภายใต้การปกครองของดยุคแห่งเบอร์กันดีแห่ง ราชวงศ์วาลัวส์และต่อมาโดยราชวงศ์ฮับส์บูร์ก เริ่มด้วยสายสเปนและตามด้วยสายออสเตรีย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1512 มณฑลเหล่านี้ก็เป็นส่วนสำคัญของกลุ่มเครือราชรัฐบูร์กอญของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์[1]
องค์ประกอบ
แก้กลุ่มสิบเจ็ดมณฑลประกอบด้วย:
- เคาน์ตีอาร์ตัว
- เคาน์ตีฟลานเดอร์ส รวมทั้งอาณาจักรเบอร์กราฟแห่งลีลล์, Douai, Orchies, อาณาจักรลอร์ดแห่งตูร์แนร์ และ ตูร์แนร์ซีส
- อาณาจักรลอร์ดแห่งเมเชเลน
- เคาน์ตีนาเมอร์
- เคาน์ตีแอโน
- เคาน์ตีเซแลนด์
- เคาน์ตีฮอลแลนด์
- ดัชชีบราบันต์ รวมทั้งรัฐมากราฟแห่งอันท์เวิร์พ, เคาน์ตีเลอวอง และ บรัสเซลส์, และแอบบีNivelles และ Gembloux
- ดัชชีลิมบูร์ก รวมทั้งเคาน์ตีดาลเฮม และ วาลเคนบูร์ก และอาณาจักรลอร์ดแห่งแฮร์โซเจนรัท
- ดัชชีลักเซมเบิร์ก
- ราชรัฐมุขนายกยูเทรกต์ ต่อมาเป็นอาณาจักรลอร์ดแห่งอูเทร็คท์
- อาณาจักรลอร์ดแห่งฟรีสลันด์
- ดัชชีเกลเดอร์ส และ เคาน์ตีซุทเฟน
- อาณาจักรลอร์ดแห่งโกรนิงเงิน
- โอมเมแลนเดน
- อาณาจักรลอร์ดแห่งเดรนธ์, ลิงเกน, เวดเดอ และ เวสเตอร์โวลเดอ
- อาณาจักรลอร์ดแห่งโอเฟอไรส์เซิล
สมาชิกในกลุ่มมิได้มีครบทั้งสิบเจ็ดมณฑลเสมอไป ในช่วงที่รุ่งเรืองอยู่ก็มีการเข้าออกกันบ้าง