จังหวัดฟรีสลันด์

ฟรีสลันด์ (ดัตช์: Friesland) หรือ ฟริสลอน (ฟรีเชียตะวันตก: Fryslân) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลักอยู่ที่เลวาร์เดิน ทิศเหนือจรดทะเลเหนือ ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดโกรนิงเงินและจังหวัดเดรนเทอ ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดโอเฟอไรส์เซิลและจังหวัดเฟลโฟลันด์ ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์ มีประชากร 649,944 คน[1] (มกราคม ค.ศ. 2020) และมีพื้นที่ 5,749 ตารางกิโลเมตร

ฟรีสลันด์

ฟริสลอน
ตราราชการของฟรีสลันด์
ตราอาร์ม
เพลง: De âlde Friezen
("The Old Frisians")
ที่ตั้งของจังหวัดฟรีสลันด์ในประเทศเนเธอร์แลนด์
ที่ตั้งของจังหวัดฟรีสลันด์ในประเทศเนเธอร์แลนด์
พิกัด: 53°8′N 5°49′E / 53.133°N 5.817°E / 53.133; 5.817
ประเทศเนเธอร์แลนด์
เมืองหลักเลวาร์เดิน (ยอเวิร์ต)
การปกครอง
 • King's Commissionerโจน ยอร์ริตส์มา (VVD)
พื้นที่
 • พื้นดิน3,349 ตร.กม. (1,293 ตร.ไมล์)
 • พื้นน้ำ2,392 ตร.กม. (924 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 3
ประชากร
 (2010)
 • พื้นดิน646,305 คน
 • อันดับที่ 8
 • ความหนาแน่น190 คน/ตร.กม. (500 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นที่ 11
เขตเวลาUTC+1 (เวลายุโรปกลาง)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (เวลาฤดูร้อนยุโรปกลาง)
รหัส ISO 3166NL-FY
ศาสนา (2005)โปรเตสแตนต์ ร้อยละ 30
โรมันคาทอลิก ร้อยละ 6
อิสลาม ร้อยละ 2
เว็บไซต์www.fryslan.nl

จังหวัดแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 18 เทศบาล ตัวจังหวัดเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคฟรีเชียโบราณ รัฐบาลได้รองรับภาษาฟรีเชียตะวันตกเป็นภาษาราชการอีกหนึ่งภาษาร่วมกับภาษาดัตช์ ทำให้ "ฟรีสลันด์" เป็นชื่อทางการของจังหวัดมาจนถึงปลายปี ค.ศ. 1996 เมื่อมาเปลี่ยนเป็น "ฟริสลอน" ในภาษฟรีเซียตะวันตกในปี ค.ศ. 1997 แต่กระนั้น "ฟรีสลันด์" ก็ยังเป็นชื่อที่นิยมเรียกใช้กันอยู่เพราะเป็นชื่อที่แปลเป็นภาษาดัตช์

ประวัติศาสตร์

แก้

สันนิษฐาณว่า ชาวฟรีเชียน เป็นลูกหลานของชาวแองเกิล ชาวแซกซัน ชาวจูต และชาวฟรีชี เริ่มอพยพเข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่ชายฝั่งทะเลหลังการล่มสลายของอาณาจักรโรมัน ก่อตั้งขึ้นเป็นอาณาจักรฟรีเชีย แต่ต่อมาได้ถูกกองทัพของชาวแฟรงก์โจมตีและพ่ายไป อาณาจักรฟรีเชียจึงล่มสลาย

ราว ค.ศ. 800 ชาวไวกิงได้เข้ามารุกรานฟรีเชีย ซึ่งในตอนนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียง ทหารฟรีเชียได้ลุกขึ้นสู้และต้านกองทัพไวกิงไว้ได้ และต่อมาได้ขับไล่ชาวไวกิงออกจากดินแดนฟรีเชียตะวันออกได้สำเร็จ ฟรีเชียจึงได้รับอิสรภาพและปกครองตัวเองเรื่อยมา จนกระทั่งถูกกองทัพราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เข้ายึดครองในปี ค.ศ. 1523 โดยมีจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 กษัตริย์สเปนเป็นผู้ปกครองฟรีเชียพระองค์แรก

ต่อมา พระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน ได้ขึ้นครองราชย์ของสเปนและปกครองเนเธอร์แลนด์รวมถึงฟรีเชียต่อจากพระราชบิดา แต่ได้มีการปฏิวัติขึ้นโดยชาวดัตช์ในปี ค.ศ. 1566 และฟรีเชียได้เข้าร่วมการปฏิวัติต่อต้านสเปนในครั้งนี้ด้วย และเข้าร่วมสงคราม 80 ปีพร้อมกับจังหวัดอื่นๆในสาธารณรัฐดัตช์ที่ต่อมาประกาศอิสรภาพจากสเปนในปี ค.ศ. 1581 จนสงครามสิ้นสุดในปี ค.ศ. 1648 เมื่อมีการลงนามในสนธิสัญญามึนสเตอร์ รับรองเอกราชของเนเธอร์แลนด์อย่างเป็นทางการ ฟรีเชียได้กลายมาเป็นจังหวัดหนึ่งของสาธารณรัฐดัตช์อย่างเป็นทางการตั้งแต่บัดนั้น ก่อนที่สาธารณรัฐจะถูกยึดครองโดยกองทัพนโปเลียน และก่อตั้งเป็นสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์หลังได้รับอิสรภาพจากฝรั่งเศสในเวลาต่อมาไม่นาน

ภูมิศาสตร์

แก้

ฟรีสลันด์ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเนเธอร์แลนด์ ติดกับทะเลเหนือ เป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดในเนเธอร์แลนด์หากรวมผืนน้ำเข้าไปด้วย แต่หากนับเฉพาะผืนดินจะใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ

พื้นที่ส่วนใหญ่ของฟรีสลันด์อยู่บนแผ่นดินใหญ่ แต่ยังมีหมู่เกาะจำนวนไม่น้อยทางตะวันตกของจังหวัด ได้แก่ เกาะฟลีลันด์ เทร์สเคลลิง อาเมลันด์ และสเคียร์มอนนิโกก ที่สามารถข้ามไปด้วยเรือข้ามฟากเท่านั้น

จังหวัดฟรีสลันด์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 18 เทศบาล เรียงตามจำนวนประชากรได้ดังนี้

  • เลวาร์เดิน
  • ซุดเวสต์-ฟริสลอน
  • สมองลิงเคอร์ลันด์
  • เดอ ฟริสเคอ เมเริน
  • เฮเรินเฟน
  • วาดฮูเคอ
  • โนรดอีสต์-ฟริสลอน
  • ทิตเยอร์คสเทอราเดล
  • โอปสเตอร์ลันด์
  • อัคท์คาร์สเปเลิน
  • เวสต์สเตลลิงเวิร์ฟ
  • โอสต์สเตลลิงเวิร์ฟ
  • ดานทูมาดีล
  • ฮาร์ลิงเงน
  • อาเมลันด์
  • ฟลีลันด์
  • สเคียร์มอนนิโกก

ประชากร

แก้

ในปี ค.ศ. 2020 ฟรีสลันด์มีประชากร 649,944 คน มีความหนาแน่นของประชากร 196 คนต่อตารางกิโลเมตร

การเพิ่มของจำนวนประชากรในจังหวัดฟรีสลันด์[2][3]
ค.ศ. จำนวนประชากร
1714 129,243
1748 135,195
1796 161,513
1811 175,366
1830 204,909
1840 227,859
1850 243,191
1860 269,701
1870 300,863
1880 329,877
1890 335,558
1900 340,263
ปี จำนวนประชากร
1910 363,625
1920 385,362
1930 402,051
1940 424,462
1950 465,267
1960 478,206
1970 521,820
1982 592,314
1990 599,151
1999 621,222
2010 646,305
2020 649,944
 












ระหว่างปี ค.ศ. 1880 ถึง 1900 จำนวนประชากรค่อนข้างคงที่เนื่องจากเกิดการเพาะปลูกได้ผลไม่ดี ชาวฟรีสลันด์กว่า 20,000 คนย้ายถิ่นฐานไปสหรัฐอเมริกา[4]

เศรษฐกิจ

แก้

เศรษฐกิจของจังหวัดฟรีสลันด์ขึ้นอยู่กับการเกษตรค่อนข้างมาก มีวัว สุนัข และม้าสายพันธุ์ฟรีสลันด์ที่มีชื่อเสียง นอกจากนี้ การท่องเที่ยวยังสร้างรายได้ให้กับจังหวัดจำนวนไม่น้อย เพราะมีทะเลสาบทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ และหมู่เกาะในทะเลเหนือ จังหวัดฟรีสลันด์มีกังหันลมมากถึง 195 กังหัน เป็นสัดส่วนที่ไม่น้อยเทียบกับจำนวนทั้งหมด 1200 กังหันของทั้งประเทศ

วัฒนธรรม

แก้

ภาษา

แก้

ฟรีสลันด์เป็นเพียงจังหวัดเดียวจากทั้ง 12 จังหวัดของเนเธอร์แลนด์ที่ภาษาถิ่นได้รับการรับรองเป็นภาษาราชการ คือภาษาฟรีเชียตะวันตก โดยก่อนศตวรรษที่ 18 มีการใช้ภาษาฟรีเชียนกันทั่วไปในจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และจังหวัดโกรนิงเงินอีกด้วย จากการสำรวจในปี ค.ศ. 2007 พบว่า ประชาชนจังหวัดฟรีสลันด์ร้อยละ 54.3 นับว่าภาษาฟรีเชียตะวันตกเป็นภาษาแม่ ซึ่งมากกว่าภาษาดัตช์ (ร้อยละ 34.7) อยู่ไม่น้อยทีเดียว[5] แม้จะมีการใช้งานที่จำกัดเพียงในตัวจังหวัดเท่านั้น ภาษาฟรีเชียตะวันตก เป็นวิชาบังคับในการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในโรงเรียนของจังหวัด มีการใช้ภาษฟรีเชียควบคู่ไปกับภาษาดัตช์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภาษา

กีฬา

แก้

กีฬาที่ได้รับความนิยมในจังหวัดคือ สปีดสเก็ต โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวนมากในฤดูหนาวหากสภาพอากาศอำนวย คือหนาวเย็นเพียงพอที่จะทำให้น้ำในลำคลองแข็งเป็นน้ำแข็ง มีกิจกรรมที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือการแข่งขันทัวร์สเก็ตเอฟสเตเดินโทช (Elfstedentocht) ที่เป็นกิจกรรมสเก็ตทางไกลด้วยระยะทาง 200 กิโลเมตร

กีฬาดั้งเดิมของชาวฟรีเชียนคือกีฬาแฮนด์บอล นอกจากนี้ ยังมีสโมสรฟุตบอลที่มีชื่อเสียงสองทีม ได้แก่ เอสซีคัมบูร์จากเมืองเลวาร์เดิน และเอสซีเฮเรินเวน

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. https://opendata.cbs.nl/statline/#/CBS/nl/dataset/37230ned/table?ts=1581415402485
  2. (ในภาษาดัตช์) Overzicht aantal inwoners Provincie Friesland 1714–2000, Tresoar.
  3. (ในภาษาดัตช์) Bevolking; geslacht, leeftijd, burgerlijke staat en regio, 1 januari, Statistics Netherlands, 2014.
  4. (ในภาษาดัตช์) Emigration to the United States.
  5. "Rapportage quick scan Friese taal 2007 Provincie Fryslân - PDF". docplayer.nl. สืบค้นเมื่อ 2018-06-10.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จังหวัดฟรีสลันด์