ดยุกแห่งบราบันต์

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย

ดยุกแห่งบราบันต์ หรือ ดยุกแห่งบราบ็อง (อังกฤษ: Duke of Brabant) เป็นพระอิสริยยศที่จักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทรงสถาปนาให้แก่อ็องรีที่ 1 พระราชโอรสของก็อดฟรีที่ 3 เคานต์แห่งลูแวง (ซึ่งเป็นดยุกแห่งโลธารินเจีย อีกบรรดาศักดิ์หนึ่งด้วย) ซึ่งดัชชีบราบันต์ถูกสถาปนาขึ้นราวปี ค.ศ. 1183 โดยยกสถานะจากแลนด์กราฟบราบันต์ (Landgrave of Brabant) ซึ่งมีอยู่เดิมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1085

ดยุกแห่งบราบันต์
รัชทายาทแห่งเบลเยียม
Coat of arms of the Duchess of Brabant.svg
ตราอาร์มประจำพระองค์
Prinses Elisabeth op 21 juli 2017.png
เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต
ดัสเชสแห่งบราบันต์พระองค์ปัจจุบัน
สถาปนา16 ธันวาคม ค.ศ. 1840
องค์แรกเจ้าชายเลโอโปลด์ ดยุคแห่งบราบันต์ (สายเบลเยียม)
องค์ปัจจุบันเจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ดัชเชสแห่งบราบันต์ (สายเบลเยียม)​

ในปี ค.ศ. 1288 ผู้ถือบรรดาศักดิ์ "ดยุกแห่งบราบันต์" ยังถือเป็น "ดยุกแห่งลิมบูร์ก" อีกด้วย และต่อมาได้ขึ้นเป็นบรรดาศักดิ์ของ "ดยุกแห่งเบอร์กันดี" ในปี ค.ศ. 1430 ซึ่งยังคงใช้อยู่และสืบตระกูลกันต่อมาจนกระทั่งสมัยการปฏิวัติฝรั่งเศส ถึงแม้ว่าดินแดนแถบภาคเหนือของบราบันต์นั้นจะเป็นดินแดนที่ปกครองโดยสาธารณรัฐดัตช์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 ก็ตาม

รายพระนามและชื่อแก้ไข

ตระกูลรีจีนาริดส์แก้ไข

รูป ชื่อ เกิด เริ่มต้น สิ้นสุด ถึงแก่อสัญกรรม ตรา
  อ็องรีที่ 1 ค.ศ. 1165 21 สิงหาคม ค.ศ. 1190 5 กันยายน ค.ศ. 1235  
  อ็องรีที่ 2 ค.ศ. 1207 5 กันยายน ค.ศ. 1235 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1248  
  อ็องรีที่ 3 ค.ศ. 1230 1 กุมภาพันธ์​ ค.ศ. 1248 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1261  
อ็องรีที่ 4 ค.ศ. 1251 28 กุมภาพันธ์​ ค.ศ. 1261 ค.ศ. 1267 29 เมษายน ค.ศ. 1272  
  ยอนที่ 1 ค.ศ. 1252 ค.ศ. 1267 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1294  
ยอนที่ 2 27 กันยายน ค.ศ. 1275 3 พฤษภาคม​ ค.ศ. 1294 27 ตุลาคม ค.ศ. 1312  
  ยอนที่ 3 ค.ศ. 1300 27 ตุลาคม​ ค.ศ. 1312 5 ธันวาคม ค.ศ. 1355  
  โยฮันนา 24 มิถุนายน ค.ศ. 1322 5 ธันวาคม ค.ศ. 1355 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1406  

ราชวงศ์วาลัวแก้ไข

พระรูป/รูป พระนาม/ชื่อ ประสูติ/เกิด เริ่มต้น สิ้นสุด สิ้นพระชนม์/ถึงแก่อสัญกรรม ตรา
  อ็องตอนี สิงหาคม ค.ศ. 1384 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1406 25 ตุลาคม ค.ศ. 1415  
  ฌ็องที่ 4 11 มิถุนายน ค.ศ. 1403 25 ตุลาคม ค.ศ. 1415 17 เมษายน ค.ศ. 1427  
  ฟิลิปที่ 1 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1404 17 เมษายน​ ค.ศ. 1427 4 สิงหาคม ค.ศ. 1430  
  ฟิลิปที่ 3 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1396 4 สิงหาคม ค.ศ. 1430 15 มิถุนายน ค.ศ. 1467  
  ชาร์ลที่ 1 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1433 15 มิถุนายน​ ค.ศ. 1467 5 มกราคม ค.ศ. 1477  
  เจ้าหญิงแมรี 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1457 5 มกราคม​ ค.ศ. 1477 27 มีนาคม ค.ศ. 1482  
  เจ้าชายฟร็องซัว​​
(พิพาท)​
18 มีนาคม ค.ศ. 1555 ค.ศ. 1582 27 มิถุนายน ค.ศ. 1584  

ราชวงศ์ฮาพส์บวร์คแก้ไข

พระฉายาลักษณ์​/พระรูป พระนาม พระราชสมภพ/ประสูติ เริ่มต้น สิ้นสุด สวรรคต/สิ้นพระชนม์ ตรา
  อาร์ชดยุคมัคซีมีลีอาน
(รักษาการ)​
22 มีนาคม ค.ศ. 1459 27 มีนาคม ค.ศ. 1482 ค.ศ. 1494 12 มกราคม ค.ศ. 1519  
  สมเด็จพระเจ้าเฟลิเปที่ 1 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1482 ค.ศ. 1494 25 กันยายน ค.ศ. 1506  
  สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 24 กุมภาพันธ์​ ค.ศ. 1500 25 กันยายน​ ค.ศ. 1506 ค.ศ. 1555 21 กันยายน ค.ศ. 1558  
  สมเด็จพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1527 ค.ศ.​ 1555 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1598  
  เจ้าหญิงอิซาเบล กลารา เอวเฆเนีย 12 สิงหาคม ค.ศ. 1566 6 พฤษภาคม​ ค.ศ. 1598 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1621 1 ธันวาคม ค.ศ. 1633  
  อาร์ชดยุคอัลเบร็คท์​​
(ร่วม)​
13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1559 6 เมษายน ค.ศ. 1598 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1621  
  สมเด็จพระเจ้าเฟลิเปที่ 4 8 เมษายน ค.ศ. 1605 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1621 17 กันยายน ค.ศ. 1665  
  สมเด็จพระเจ้าการ์โลสที่ 2 6 พฤศจิกายน​ ค.ศ. 1661 17 กันยายน ค.ศ. 1665 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1700  
  สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 6 1 ตุลาคม ค.ศ. 1865 ค.ศ.​ 1714 20 ตุลาคม ค.ศ. 1740  
  จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1717 20 ตุลาคม​ ค.ศ. 1740 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1780  
  สมเด็จพระจักรพรรดิโยเซ็ฟที่ 2​​ 13 มีนาคม ค.ศ. 1741 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1780 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1790  
  สมเด็จพระจักรพรรดิเลโอพ็อลท์ที่ 2 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1747 20 กุมภาพันธ์​ ค.ศ. 1790 1 มีนาคม ค.ศ. 1792  
  สมเด็จพระจักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 2 12 กุมภาพันธ์​ ค.ศ. 1768 17 กันยายน ค.ศ. 1665 ค.ศ. 1793 2 มีนาคม ค.ศ. 1835  

ราชวงศ์บูร์บงแก้ไข

พระฉายาลักษณ์ พระนาม พระราชสมภพ เริ่มต้น สิ้นสุด สวรรคต ตรา
  สมเด็จพระเจ้าเฟลิเปที่ 5​​ 19 ธันวาคม ค.ศ. 1683 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1700 ค.ศ. 1714 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1746  

พระมหากษัตริย์แห่งสเปนแก้ไข

พระฉายาลักษณ์ พระนาม พระราชสมภพ เริ่มต้น สิ้นสุด สวรรคต ตรา
  สมเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1​​ 5 มกราคม ค.ศ. 1938 22 พฤศจิกายน​ ค.ศ. 1975 19 มิถุนายน​ ค.ศ. 2014 ​ยังทรงพระชนม์  
  สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6​​ 30 มกราคม ค.ศ. 1968 19 มิถุนายน​ ค.ศ. 2014 ปัจจุบัน ​ยังทรงพระชนม์  


ราชวงศ์ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาแก้ไข

รัชทายาทแห่งเบลเยียมแก้ไข

พระฉายาลักษณ์ พระนาม รัชทายาทใน ความสัมพันธ์ พระราชสมภพ เริ่มต้น สิ้นสุด สวรรคต ตรา
  เจ้าชายเลออปอล​​ สมเด็จพระเจ้าเลออปอลที่ 1​​​ พระราชโอรส ในสมเด็จพระเจ้าเลออปอลที่ 1​​​ และสมเด็จพระราชินีหลุยส์-มารี 9 เมษายน ค.ศ. 1835 16 ธันวาคม ค.ศ. 1840 17 ธันวาคม ค.ศ. 1865​
(สืบราชสมบัติ)​
17 ธันวาคม ค.ศ. 1909  
  เจ้าชายเลออปอล​​ สมเด็จพระเจ้าเลออปอลที่ 2 พระราชโอรส ในสมเด็จพระเจ้าเลออปอลที่ 2​​​ และสมเด็จพระราชินีมารี เฮนรีทเทอ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1859 17 ธันวาคม ค.ศ. 1865 22 มกราคม ค.ศ. 1869  
เจ้าชายเลออปอล​​​ สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 พระราชโอรส ในสมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1​​​ และสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1901 23 ธันวาคม ค.ศ. 1909 17 กุมภาพันธ์​ ค.ศ. 1934​
(สืบราชสมบัติ)
25 กันยายน ค.ศ. 1983  
  เจ้าชายโบดวง​​ สมเด็จพระเจ้าเลออปอลที่ 3 พระราชโอรส ในสมเด็จพระเจ้าเลออปอลที่ 3​​​ และสมเด็จพระราชินีอัสตริด 7 กันยายน ค.ศ. 1930 17 กุมภาพันธ์​ ค.ศ. 1934 17 กรกฎาคม​ ค.ศ. 1951​
(สืบราชสมบัติ)
31 กรกฎาคม​ ค.ศ. 1993  
  เจ้าชายฟีลิป​​ สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 พระราชโอรส ในสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2​​​ และสมเด็จพระราชินีเปาลา 15 เมษายน ค.ศ. 1960 9 สิงหาคม ค.ศ. 1993 21 กรกฎาคม​ ค.ศ. 2013​
(สืบราชสมบัติ)
​ยังทรงพระชนม์  
  เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต​​ สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป พระราชธิดา ในสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป​​​ และสมเด็จพระราชินีมาตีลด์ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2001 21 กรกฎาคม​ ค.ศ. 2013 ปัจจุบัน ​ยังทรงพระชนม์  

บรรดาศักดิ์ในยุคปัจจุบันแก้ไข

ราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทาแก้ไข

ราชอาณาจักรเบลเยียมในยุคปัจจุบันได้นำบรรดาศักดิ์ "ดยุกแห่งบราบันต์" กลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง โดยใช้สำหรับพระราชทานเพื่อประกอบพระอิสริยยศของรัชทายาท (ถึงแม้ว่าจังหวัดนอร์ทบราบันต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนของดัชชีในอดีต จะตกอยู่ในดินแดนของเนเธอร์แลนด์ตั้งแต่ ค.ศ. 1648 เป็นต้นมา)

รัชทายาทที่เฉลิมพระอิสริยยศเป็นดยุกแห่งบราบันต์ ได้แก่

พระอิสริยยศของเจ้าหญิงเอลีซาแบ็ตในฐานะรัชทายาทนั้น เรียกว่า "เจ้าหญิงแห่งเบลเยียม" มิใช่ "เจ้าหญิงแห่งชาวเบลเยียม" ซึ่งไม่ถูกต้อง และมักใช้ผิดพลาดอันเนื่องมาจากการเทียบเคียงกับพระอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ในฐานะ "พระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียม"

เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ยังมีพระอิสริยยศเป็น "ดัชเชสแห่งบราบันต์" ซึ่งจะพระราชทานเฉพาะสำหรับองค์รัชทายาท ซึ่งบรรดาศักดิ์นี้ถือว่าสูงกว่าอิสริยยศ "เจ้าหญิง/เจ้าชายแห่งเบลเยียม"

กฎหมายแก้ไข

จากพระราชบัญญัติลงวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1840 มาตรา 1 ย่อหน้าที่ 2 แก้ครั้งสุดท้ายเมื่อปีค.ศ. 2001 ระบุเกี่ยวกันการพระราชทานไว้ว่า : บรรดาศักดิ์ "ดยุกหรือดัชเชสแห่งบราบันต์" จะพระราชทานให้สำหรับเจ้าชาย หรือเจ้าหญิงซึ่งเป็นพระราชโอรส/ธิดาพระองค์ใหญ่ของพระมหากษัตริย์ โดยหากพระราชโอรส/ธิดาพระองค์หาได้ไม่ ให้บรรดาศักดิ์นี้ตกลงเป็นของพระโอรสหรือพระธิดาพระองค์ใหญ่ของเจ้าชายหรือเจ้าหญิงซึ่งเป็นพระราชโอรส หรือพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ของพระมหากษัตริย์ (พระราชนัดดาพระองค์ใหญ่)[1]


อ้างอิงแก้ไข

  1. Text in French of the 2001 amendment : « Le titre de Duc de Brabant ou de Duchesse de Brabant sera toujours porté, à l'avenir, par le Prince ou la Princesse, fils aîné ou fille aînée du Roi, et, à défaut, par le Prince ou la Princesse, fils aîné ou fille aînée du fils aîné de la fille aînée du Roi. »