วอยเอจเจอร์ 2
วอยเอจเจอร์ 2 (อังกฤษ: Voyager 2) คือยานสำรวจอวกาศแบบไม่มีคนบังคับที่เดินทางระหว่างดาวเคราะห์ ขึ้นสู่อวกาศเมื่อ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1977 เป็นยานสำรวจอวกาศในโครงการวอยเอจเจอร์ ซึ่งมียานพี่อีกลำหนึ่งคือยานวอยเอจเจอร์ 1
วอยเอจเจอร์ 2 | |
---|---|
โมเดลของยาน "วอยเอจเจอร์ | |
ประเภทภารกิจ | สำรวจดาวเคราะห์ |
ผู้ดำเนินการ | NASA / JPL[1] |
COSPAR ID | 1977-076A[2] |
SATCAT no. | 10271[3] |
เว็บไซต์ | voyager |
ระยะภารกิจ | 47 ปี 3 เดือน 15 วัน ผ่านไป ภารกิจดาวเคราะห์: 12 ปี, 1 เดือน, 12 วัน ภารกิจระหว่างดวงดาว: 35 ปี 2 เดือน 3 วัน ผ่านไป (ดำเนินต่อ) |
ข้อมูลยานอวกาศ | |
ผู้ผลิต | Jet Propulsion Laboratory |
มวลขณะส่งยาน | 825.5 กิโลกรัม (1,820 ปอนด์) |
กำลังไฟฟ้า | 470 วัตต์ (ตอนปล่อยยาน) |
เริ่มต้นภารกิจ | |
วันที่ส่งขึ้น | August 20, 1977, 14:29:00 | UTC
จรวดนำส่ง | Titan IIIE |
ฐานส่ง | Cape Canaveral LC-41 |
บินผ่านดาวพฤหัส | |
เข้าใกล้สุด | 9 กรกฎาคม ค.ศ.1979, 22:29:00 UTC |
ระยะทาง | 570,000 กิโลเมตร (350,000 ไมล์)* |
บินผ่านดาวเสาร์ | |
เข้าใกล้สุด | 26 สิงหาคม ค.ศ.1981, 03:24:05 UTC |
ระยะทาง | 101,000 km (63,000 mi) |
บินผ่านดาวยูเรนัส | |
เข้าใกล้สุด | 24 มกราคม ค.ศ.1986, 17:59:47 UTC |
ระยะทาง | 81,500 km (50,600 mi) |
บินผ่านดาวเนปจูน | |
เข้าใกล้สุด | 25 สิงหาคม ค.ศ.1989, 03:56:36 UTC |
ระยะทาง | 4,951 km (3,076 mi) |
ยานวอยเอจเจอร์ 2 ถูกส่งขึ้นไปให้โคจรเป็นเส้นโค้งตามระนาบสุริยวิถี โดยเตรียมการให้สามารถเดินทางเข้าใกล้ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน ด้วยการอาศัยแรงเหวี่ยงจากแรงโน้มถ่วงของดาวเสาร์ซึ่งมันจะต้องเดินทางผ่านในปี ค.ศ. 1981 จากเส้นทางโค้งนี้ทำให้วอยเอจเจอร์ 2 ไม่สามารถมองเห็นดวงจันทร์ไททันในระยะใกล้ได้เหมือนกับยานวอยเอจเจอร์ 1 แต่มันก็ได้เป็นยานเพียงลำเดียวที่ได้เดินทางไปใกล้ดาวยูเรนัสกับดาวเนปจูน ซึ่งเป็นการบรรลุภารกิจของโครงการสำรวจดาวเคราะห์ครั้งใหญ่ (Planetary Grand Tour) เส้นการเดินทางนี้สามารถทำได้เพียงครั้งเดียวในรอบ 176 ปี[4]
จากสถิติ วอยเอจเจอร์ 2 อาจเป็นยานสำรวจอวกาศที่มีประสิทธิผลมากที่สุด ด้วยผลงานคือการไปเยือนดาวเคราะห์ 4 ดวงพร้อมกับดวงจันทร์ของมัน โดยเฉพาะดาวเคราะห์ 2 ใน 4 ดวงนั้นเป็นดาวเคราะห์ที่ยังไม่เคยมีการสำรวจมาก่อน บนยานติดตั้งกล้องถ่ายภาพและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง โดยใช้งบประมาณเพียงเสี้ยวเดียวของเงินงบประมาณที่ทุ่มให้กับยานสำรวจอวกาศในชั้นหลัง เช่น ยานกาลิเลโอ ยานกัสซีนี–เฮยเคินส์[5][6]
ตำแหน่งปัจจุบัน
แก้หลังจากสิ้นสุดภารกิจการสำรวจดาวเคราะห์ชั้นนอกของระบบสุริยะ ยานวอยเอจเจอร์ 2 ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจระหว่างดาวฤกษ์ เพื่อค้นหาว่าระบบสุริยะมีหน้าตาเป็นอย่างไรเมื่อมองจากภายนอกเฮลิโอสเฟียร์ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2007 วอยเอจเจอร์ 2 ได้เดินทางออกไปยังเฮลิโอชีท ซึ่งเป็นด่านสุดท้ายของเฮลิโอสเฟียร์ก่อนจะออกไปสู่ห้วงอวกาศระหว่างดาว ยานวอยเอจเจอร์ทั้ง 2 ลำได้นำแผ่นดิสค์ทองคำบันทึกภาพและเสียงติดไปบนยานด้วย เผื่อในกรณีที่ว่าลำใดลำหนึ่งอาจได้พบกับสิ่งมีชีวิตอื่นที่มีสติปัญญาในจักรวาล แผ่นดิสค์นี้มีภาพของโลก สิ่งมีชีวิตบนโลก ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ และเสียงบันทึกแบบเมดเล่ย์ของ "เสียงแห่งโลก" เช่นเสียงของวาฬ เสียงเด็กทารก เสียงคลื่นกระทบฝั่ง และบทเพลงอีกจำนวนมาก
26 กันยายน ค.ศ. 2008 วอยเอเจอร์ 2 อยู่ในเขตแดนไกลโพ้นของแถบหินกระจาย ที่ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ราว 87.03 AU (13,019 ล้านกิโลเมตร) และเคลื่อนที่ห่างออกไปด้วยความเร็วประมาณ 3.28 AU ต่อปี[7] ซึ่งอยู่ไกลกว่าระยะห่างระหว่างดาวพลูโตกับดวงอาทิตย์มากกว่า 2 เท่า ไกลยิ่งกว่าจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดของเซดนา
ข้อมูล ณ วันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 2009 วอยเอจเจอร์ 2 อยู่ที่เดคลิเนชัน -53.84° และไรต์แอสเซนชัน 19.783 ชม. ในบริเวณกลุ่มดาวกล้องโทรทรรศน์เมื่อมองจากโลก ยานวอยเอจเจอร์ 2 ไม่ได้ตั้งเป้าหมายมุ่งไปยังดาวฤกษ์ดวงใดเป็นการเฉพาะ แต่มันจะเดินทางผ่านดาวซิริอุสที่ระยะห่างประมาณ 1.32 พาร์เซกในอีก 296,000 ปี[8] ยานจะยังคงส่งสัญญาณกลับมายังโลกอย่างน้อยจนถึงปี ค.ศ. 2025 ซึ่งจะเป็นเวลากว่า 48 ปีหลังจากขึ้นสู่อวกาศ[9]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "VOYAGER:Mission Information". NASA. 1989. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-20. สืบค้นเมื่อ January 2, 2011.
- ↑ "Voyager 2". US National Space Science Data Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 20, 2009. สืบค้นเมื่อ August 25, 2013.
- ↑ "VOYAGER 2". N2YO. สืบค้นเมื่อ August 25, 2013.
- ↑ Planetary Voyage NASA Jet Propulsion Laboratory - California Institute of Technology. 23 มีนาคม 2004. เก็บข้อมูลเมื่อ 8 เมษายน 2007.
- ↑ "burro.astr.cwru.edu "Voyagers (1977-present)"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-22. สืบค้นเมื่อ 2009-02-08.
- ↑ "burro.astr.cwru.edu "Galileo (1989-2003)"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-17. สืบค้นเมื่อ 2009-02-08.
- ↑ Voyager Mission Operations Status Report # 2008-05-09, Week Ending May 9, 2008. เก็บข้อมูลเมื่อ 20 June 2008.
- ↑ "Voyager - Mission - Interstellar Mission". NASA. 2007-06-22. สืบค้นเมื่อ 2008-11-27.
- ↑ "Voyager – Spacecraft – Spacecraft Lifetime". NASA Jet Propulsion Laboratory. 2008-03-15. สืบค้นเมื่อ 2008-05-25.