โจ ไบเดิน
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ เพราะใช้พุทธศักราชและคริสต์ศักราชสลับกัน คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
โจเซฟ โรบิเนตต์ ไบเดิน จูเนียร์ (อังกฤษ: Joseph Robinette Biden, Jr.;[a] เกิด 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485) หรือ โจ ไบเดิน นักการเมืองชาวอเมริกัน เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบัน อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 47 และอดีตสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐจากรัฐเดลาแวร์ สังกัดพรรคเดโมแครต เจ็ดสมัยติดต่อกัน
โจ ไบเดิน | |
---|---|
![]() | |
ไบเดินในปี พ.ศ. 2564 | |
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 20 มกราคม พ.ศ. 2564 (2 ปี 67 วัน) | |
รองประธานาธิบดี | กมลา แฮร์ริส |
ก่อนหน้า | ดอนัลด์ ทรัมป์ |
รองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา | |
ดำรงตำแหน่ง 20 มกราคม พ.ศ. 2552 – 20 มกราคม พ.ศ. 2560 (8 ปี 0 วัน) | |
ประธานาธิบดี | บารัก โอบามา |
ก่อนหน้า | ดิก ชีนีย์ |
ถัดไป | ไมก์ เพนซ์ |
สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐ จากเดลาแวร์ | |
ดำรงตำแหน่ง 3 มกราคม พ.ศ. 2516 – 15 มกราคม พ.ศ. 2552 (36 ปี 12 วัน) | |
ก่อนหน้า | คาเร็บ บ็อกส์ |
ถัดไป | เท็ด คอล์ฟแมน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | สแกรนตัน รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา | 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942
พรรค | เดโมแครต |
คู่สมรส | เนเลีย ฮันเตอร์ (พ.ศ. 2509 – 2515) จิล ไบเดิน (พ.ศ. 2520 – ปัจจุบัน) |
บุตร |
|
วิชาชีพ | นักกฎหมาย |
ศาสนา | คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก |
ลายมือชื่อ | ![]() |
ไบเดินเกิดที่เมืองสแครนตัน ในรัฐเพนซิลเวเนีย และอาศัยอยู่ที่เมืองนี้จนอายุได้ 10 ขวบจึงได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองเดลาแวร์จวบจนปัจจุบัน เขาได้เริ่มศึกษาที่มหาวิทยาลัยเดลาแวร์ และได้รับปริญญาด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ ในปี พ.ศ. 2511 ไบเดินประกอบอาชีพเป็นทนายความตั้งแต่ปี 2512 และได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในคณะลูกขุนเมื่อปี 2513 ไบเดินเข้ามารับตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาครั้งแรกในปี 2515 โดยการเลือกตั้ง ทำให้กลายเป็นสมาชิกวุฒิสภาที่อายุน้อยที่สุดเป็นอันดับ 5 ที่ได้เข้ามารับตำแหน่งในประวัติศาสตร์การเมืองสหรัฐ โดยมีอายุเพียง 29 ปี ในสมัยแรก จากนั้น เขาก็ชนะการเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2521, 2527, 2533, 2539 และ 2545 นับว่าเป็นสมาชิกวุฒิสภาที่ครองตำแหน่งมานานที่สุดเป็นอันดับ 6 ในประวัติศาสตร์อีกด้วย
ไบเดินเป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการความสัมพันธ์ต่างประเทศมายาวนานจนเป็นประธานของคณะกรรมการชุดนี้ ศิลปะการเจรจาของเขาเคยนำมาซึ่งความช่วยเหลือทางการทหารของสหรัฐและการเข้าแทรกแซงในสงครามบอสเนีย เขาออกเสียงสนับสนุนนโยบายการแก้ปัญหาสงครามอิรัก แต่ต่อมาได้ประกาศจุดยืนว่าอยากให้มีการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ดังกล่าว นอกจากนั้น ไบเดินยังได้ดำรงตำแหน่งประธานของคณะกรรมาธิการศาลยุติธรรมสำหรับสมาชิกวุฒิสภาอีกด้วย โดยมีส่วนในเรื่องของยาเสพติด อาชญากรรม การป้องกันภัย และสิทธิพลเมือง และยังเป็นแกนนำในการเสนอกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาชญากรรมการใช้ความรุนแรงและการบีบบังคับ และกฎหมายว่าด้วยการคุกคามสตรี
ไบเดินเคยลงสมัครชิงตำแหน่งตัวแทนพรรคเดโมแครตเพื่อเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในปี 2531 และ 2551 แต่ไม่ประสบความสำเร็จทั้งสองครั้ง แต่ในปี 2551 บารัก โอบามา ผู้สมัครที่ได้ตำแหน่งตัวแทนพรรคเดโมแครตตัดสินใจเลือกไบเดินเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตเป็นคู่สมัครในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2551 นี้ และได้รับเลือกตั้งเป็นรองประธานาธิบดี ในเดือนมกราคม 2560 ไบเดินได้รับรางวัลเกียรติยศเหรียญอิสรภาพประธานาธิบดีจากประธานาธิบดีโอบามา
ในเดือนเมษายน 2562 ไบเดินประกาศลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐใน พ.ศ. 2563 ในเดือนมิถุนายน 2563 เขามีคุณสมบัติตามเกณฑ์จากคณะผู้ออกเสียงที่จำเป็นเพื่อให้ได้รับการเสนอชื่อจากพรรค[1] และเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ไบเดินประกาศให้กมลา แฮร์ริส เป็นคู่สมัครรับเลือกตั้ง จนในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2563 ไบเดิน ได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้ง ด้วยคะแนนเสียง 306 ต่อ 232 และได้เข้าพิธีสาบานตนเพื่อรับตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2564 ทั้งนี้ ไบเดินเป็นประธานาธิบดีที่มีอายุมากที่สุดในประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นคนแรกจากรัฐเดลาแวร์ และเป็นคนที่สองที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
รองประธานาธิบดี (2552-2560)แก้ไข
สมัยแรกแก้ไข
ไบเดิน กล่าวว่าเขามีความตั้งใจที่จะทำงานให้แตกต่างจากรองประธานาธิบดีในสมัยของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ซึ่งดำรงตำแหน่งโดยดิก ชีนีย์[2] ไบเดิน ยังได้รับเลือกเป็นผู้นำทีมเปลี่ยนผ่านสมัยประธานาธิบดีของโอบามา และยังเป็นผู้นำที่รับผิดชอบด้านโครงการต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจของชนชั้นกลางอีกด้วย ช่วงต้นปี 2552 เขาได้เยี่ยมเยือนผู้นำอิรัก อัฟกานิสถาน และปากีสถาน[3] และต่อมาในวันที่ 20 มกราคม เขาได้เข้าพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งรองประธานาธิบดี ซึ่งเป็นคนแรกจากรัฐเดลาแวร์ และคนแรกที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก[4][5]
ภายหลังสมัยรองประธานาธิบดีแก้ไข
ภายหลังลงจากตำแหน่งรองประธานาธิบดี ไบเดิน ได้กลายเป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ในขณะเดียวกันเขาก็คอยนำรณรงค์ด้านการรักษาโรคมะเร็ง[6] เขาได้เขียนหนังสือเรื่อง Promise Me, Dad ในปี 2560 ซึ่งเป็นหนังสือชีวประวัติของตัวเอง ซึ่งได้รับความนิยมจนต้องออกเดินทางทัวร์โปรโมตหนังสือ[7] ในระหว่างปี 2560-2561 ไบเดินมีรายได้มากถึง 15 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ[8]
ไบเดิน ยังได้รับความสนใจอยู่อย่างสม่ำเสมอ โดยได้คอยสนับสนุนตัวแทนของพรรคฯ และยังคงให้ความเห็นต่าง ๆ ในด้านการเมือง ด้านสิ่งแวดล้อม และเกี่ยวกับประธานาธิบดีดอนัลด์ ทรัมป์[9][10][11] ไบเดินยังเป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญในสิทธิของ LGBT ตั้งแต่สมัยรองประธานาธิบดีของเขาเป็นต้นมา ในปี 2562 ไบเดินได้ตำหนิบรูไน ในประเด็นเรื่องการบังคับใช้กฎหมายอิสลามซึ่งอนุญาตให้ทำการประหารชีวิตผู้ที่ผิดประเวณี และคนรักร่วมเพศโดยการปาหินว่า "น่ารังเกียจ และไร้มนุษยธรรม" และยังกล่าวอีกว่า "ไม่มีข้อแก้ตัวใด ๆ ทั้งทางวัฒนธรรม และประเพณี ที่แสดงออกถึงความเกลียดชัง และความไร้มนุษยธรรมเช่นนี้"[12] ในปี 2562 ไบเดิน และภริยา มีสินทรัพย์รวมกันเพิ่มขึ้นรวมเป็นมูลค่าระหว่าง 2.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ถึง 8 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการปราศัยต่าง ๆ และสัญญาสำหรับแต่งหนังสืออีกหลายชุด[13]
ประธานาธิบดีแก้ไข
นายโจ ไบเดิน ได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 46 อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2564 โดยในขณะเข้ารับตำแหน่ง เขามีอายุถึง 78 ปี ซึ่งถือเป็นผู้รับตำแหน่งประธานาธิบดีที่มีอายุมากที่สุด[14]ในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังเป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก[15] ต่อจากจอห์น เอฟ. เคนเนดี โดยเป็นประธานาธิบดีคนแรกจากรัฐเดลาแวร์[16]
ในวันแรกของการทำงาน ไบเดินได้ลงนามในคำสั่งบริหารสำคัญต่าง ๆ เช่น การบังคับให้สวมหน้ากากอนามัยในสถานที่ราชการ การกลับเข้าร่วมในสนธิสัญญาความตกลงปารีส ยกเลิกคำสั่งบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินตามบริเวณชายแดนเม็กซิโก[17] และการกลับไปเข้าร่วมสมาชิกขององค์การอนามัยโลก[18]
เชิงอรรถแก้ไข
- ↑ เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˈbaɪdən/
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Linskey, Annie (June 9, 2020). "Biden clinches the Democratic nomination after securing more than 1,991 delegates".
- ↑ "Biden says he'll be different vice president". CNN. December 22, 2008. Retrieved December 22, 2008.
- ↑ Lee, Carol E. (January 6, 2009). "'Senator' Biden's trip raises concerns". Politico. Retrieved January 9, 2009.
- ↑ "The First Catholic Vice President?". NPR. January 9, 2009. Retrieved September 25, 2019.
- ↑ Gaudiano, Nicole (November 6, 2008). "VP's home awaits if Biden chooses". The News Journal. Archived from the original on November 9, 2008. Retrieved November 8, 2008.
- ↑ O'Brien, Sara Ashley (March 12, 2017). "Joe Biden: The fight against cancer is bipartisan". CNNMoney. Retrieved March 13, 2017.
- ↑ Kane, Paul. "Analysis | Biden wraps up book tour amid persistent questions about the next chapter". The Washington Post. ISSN 0190-8286. Retrieved November 10, 2020.
- ↑ Viser, Matt; Narayanswamy, Anu (July 9, 2019). "Joe Biden earned $15.6 million in the two years after leaving the vice presidency". The Washington Post. Retrieved July 16, 2019.
- ↑ Hutchins, Ryan (May 28, 2017). "Biden backs Phil Murphy, says N.J. governor's race 'most important' in nation". Politico.
- ↑ "The Democratic candidates on foreign policy". Foreign Policy.
- ↑ Greenwood, Max (May 31, 2017). "Biden: Paris deal 'best way to protect' US leadership". The Hill.
- ↑ "Brunei defends tough new Islamic laws against growing backlash". Reuters. March 30, 2019. Retrieved December 31, 2020.
- ↑ Eder, Steve; Glueck, Katie (July 9, 2019). "Joe Biden's Tax Returns Show More Than $15 Million in Income After 2016". The New York Times. Retrieved July 16, 2019.
- ↑ Hunnicutt, Trevor; Zengerle, Patricia; Renshaw, Jarrett (January 20, 2021). "Taking helm of divided nation, U.S. President Biden calls for end to 'uncivil war'". Reuters. Retrieved January 20, 2021.
- ↑ "Biden to become the second Catholic president in U.S. history, after JFK". NBC News. January 19, 2021. Retrieved January 20, 2021.
- ↑ Cormier, Ryan; Talorico, Patricia (November 7, 2020). "Delaware history is made: The First State gets its first president in Joe Biden". The News Journal. Retrieved January 20, 2021.
- ↑ "Biden's first act: Orders on pandemic, climate, immigration". Associated Press. January 20, 2021. Retrieved January 21, 2021.
- ↑ Erikson, Bo (January 20, 2021). "Biden signs executive actions on COVID, climate change, immigration and more". CBS News. Retrieved January 21, 2021.
ก่อนหน้า | โจ ไบเดิน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ดอนัลด์ ทรัมป์ | ประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 46 (20 มกราคม พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน) |
อยู่ในตำแหน่ง | ||
ดิก ชีนีย์ | รองประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 47 (20 มกราคม พ.ศ. 2552 – 20 มกราคม พ.ศ. 2560) |
ไมก์ เพนซ์ |