จังหวัดบาหลี
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บาหลี หรือ บาลี (อินโดนีเซีย: Bali; บาหลี: ᬩᬮᬶ) เป็น 1 ใน 34 จังหวัดของประเทศอินโดนีเซีย เมืองหลักคือเด็นปาซาร์ พื้นที่ทั้งหมด 5,634.40 ตารางกิโลเมตร มีประชากรทั้งสิ้น 3,422,600 คน ความหนาแน่นของประชากร 607 คน/ตารางกิโลเมตร ภาษาที่ใช้คือภาษาอินโดนีเซียและภาษาบาหลี
จังหวัดบาหลี Provinsi Bali (อินโดนีเซีย) | |
---|---|
![]() | |
สมญา: เกาะแห่งทวยเทพ, เกาะแห่งสันติ, รุ่งอรุณของโลก, เกาะฮินดู, เกาะแห่งความรัก[1] | |
คำขวัญ: Bali Dwipa Jaya (กาวิ) (เกาะบาหลีมีชัย) | |
![]() ที่ตั้งจังหวัดบาหลีในประเทศอินโดนีเซีย | |
พิกัด: 8°39′S 115°13′E / 8.650°S 115.217°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 8°39′S 115°13′E / 8.650°S 115.217°E | |
ประเทศ | ![]() |
เมืองหลัก | ![]() |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าการ | อี มาเด มังกู ปัซตีกา (PD) |
• รองผู้ว่าการ | อี เกอตุต ซูดีเกอร์ตา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 5,780 ตร.กม. (2,230 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2014) | |
• ทั้งหมด | 4,225,384 คน |
• ความหนาแน่น | 730 คน/ตร.กม. (1,900 คน/ตร.ไมล์) |
ประชากร | |
• ชาติพันธุ์ | บาหลี (90%), ชวา (7%), บาหลีอากา (1%), มาดูรา (1%)[2] |
• ศาสนา | ฮินดู (83.5%), อิสลาม (13.4%), คริสต์ (2.5%), พุทธ (0.5%)[3] |
• ภาษา | อินโดนีเซีย (ราชการ), บาหลี, มลายูบาหลี |
เขตเวลา | UTC+08 (WITA) |
ทะเบียนพาหนะ | DK |
ดัชนีพัฒนาการมนุษย์ | ![]() |
อันดับ | อันดับที่ 5 จาก 34 จังหวัดของอินโดนีเซีย (2014) |
เว็บไซต์ | www |
ประวัติศาสตร์แก้ไข
ยุคเริ่มต้นแก้ไข
บาหลีเป็นถิ่นที่อยู่ของชนเผ่าออสโตรนีเชียน (Austronesian) ที่อพยพมาจากถิ่นฐานเดิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย โดยใช้เส้นทางเดินเรือผ่านภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล[4][5] วัฒนธรรมและภาษาของชาวบาหลีจึงเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดกับผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณหมู่เกาะอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และโอเชียเนีย[6]
มีการขุดพบเครื่องมือที่ทำจากหินมีอายุกว่า 3,000 ปีได้ที่หมู่บ้านเจอกิก (Cekik) ที่อยู่ทางตะวันตก รวมทั้งที่ตั้งถิ่นฐานและหลุมฝังศพของมนุษย์ในยุคหินใหม่ (Neolithic) ถึงยุคสำริด และโครงกระดูกมนุษย์โบราณอายุกว่า 4,000 ปี จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ซีตุซปูร์บาลากา (Museum Situs Purbalaka) ที่เมืองกีลีมานุก์ (Gilimanuk) อีกด้วย[7][8] ประวัติของบาหลีก่อนการเผยแผ่ศาสนาฮินดูเข้ามายังหมู่เกาะอินโดนีเซียโดยพ่อค้าชาวอินเดียในช่วงศตวรรษที่ 7 เป็นที่รู้กันน้อยมาก [7] อย่างไรก็ตามบาหลีเริ่มเป็นเมืองค้าขายที่คึกคักตั้งแต่ 200 ปีก่อนคริสตกาล[8] การบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับบาหลีที่เป็นลายลักษณ์อักษร ปรากฏในศิลาจารึกที่ขุดค้นพบใกล้หาดซานูร์ (Sanur) รวมทั้งจารึกบนแผ่นโลหะ เทวรูปสำริด และหินสลักที่แสดงถึงอิทธิพลของศาสนาพุทธและฮินดู บริเวณรอบ ๆ ภูเขากูนุงกาวี (Gunung Kawi) และถ้ำโกอากาจะฮ์ (Goa Gajah)
อิทธิพลของศาสนาฮินดูแก้ไข
ในช่วงศตวรรษที่ 9 สังคมของชาวบาหลีเริ่มเฟื่องฟูขึ้น ราว ค.ศ. 900 ชาวบาหลีเริ่มพัฒนาระบบชลประทาน การปลูกข้าว รวมทั้งวัฒนธรรมและศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง หลักฐานเกี่ยวกับราชวงศ์บาหลีเริ่มปรากฏในเวลานั้นเช่นกัน โดยมีภาพแกะสลักหินแสดงพิธีอภิเษกสมรสของกษัตริย์บาหลีทรงพระนามว่าพระเจ้าอุทยานา (Udayana) กับ เจ้าหญิงชวาตะวันออก ทรงพระนามว่าเจ้าหญิงมเหนทราตตะ (Mahendratta) ที่วัดปูราโกระฮ์เตอกีปัน (Pura Korah Tegipan) ที่อยู่บริเวณภูเขากูนุงบาตูร์ (Gunung Batur) ทั้งสองพระองค์มีพระราชโอรสทรงพระนามว่า เจ้าชายไอร์ลังกา (Airlangga) ประสูติเมื่อ ค.ศ. 991 ในเวลาเดียวกัน ชวาเริ่มแผ่อิทธิพลเข้ามายังบาหลี เมื่อพระองค์พระชันษาได้ 16 ปี ทรงหนีไปยังชวาตะวันตกและทรงได้รับการสนับสนุนจากชาวชวาในเวลาต่อมา เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ชวา จึงทรงรวมบาหลีและชวาให้เป็นปึกแผ่นจนกระทั่งเสด็จสวรรคต เมื่อค.ศ.1049 [7][8] ภาษาชวาที่เรียกว่าภาษากาวี (Kawi) ได้นำมาใช้ในหมู่ราชวงศ์บาหลี หลักฐานความสัมพันธ์ระหว่างบาหลีกับเกาะชวาในช่วงศตวรรษที่ 11 อยู่ที่หินสลักที่ภูเขากุนุง คาวี ใกล้กับเมืองตัมปักซีริง (Tampaksiring) หลังจากนั้นบาหลีอยู่ในสถานภาพกึ่งเอกราช จนกระทั่ง ค.ศ. 1284 พระเจ้าเกอรตานาการาหรือเกียรตินคร (Kertanagara) กษัตริย์ชวาแห่งอาณาจักรสิงหะส่าหรี (Singasari) ได้รุกรานบาหลี แต่หลังจากนั้น 8 ปี อาณาจักรสิงหะส่าหรีล่มสลาย พระราชโอรสของพระเจ้าเกอรตานาการาพระนามว่าเจ้าชายวิจายาหรือวิชัย (Vijaya) ได้ตั้งอาณาจักรมัชปาหิต (Majapahit) ซึ่งนับถือศาสนาฮินดูขึ้น ช่วงเวลานี้เอง บาหลีถือโอกาสแยกตัวเป็นเอกราช ปกครองโดยราชวงศ์ปาเจ็ง (Pajeng) มีศูนย์กลางใกล้กับเมืองอูบุด (Ubud) แต่กะจะห์ มาดา (Gajah Mada) เสนาบดีแห่งอาณาจักรมัชปาหิตเข้ารุกรานบาหลีในรัชสมัยของพระเจ้าดาเล็ม เบอเดาลู (Dalem Bedaulu) แห่งราชวงศ์ปาเจ็งในปีค.ศ.1343 และได้รวมบาหลีเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมัชปาหิต หลังจากนั้นบาหลีได้ย้ายศูนย์กลางไปอยู่ที่เกลเกล (Gelgel) ใกล้กับเมืองเสมาระปุระ (Semarapura) ในช่วงปลายศตวรรษที่ 14 โดยมีกษัตริย์ปกครองซึ่งชาวบาหลีเรียกว่าเทวะ อากุง (Dewa Agung) พระนามว่าพระเจ้าบาตูร์ เร็งก็อง (Batur Renggong) ครองราชย์ในปีค.ศ.1550[7][8] ก่อนหน้านั้นไม่นานอาณาจักรมัชปาหิตได้ล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1515 ลงจากการขยายอิทธิพลของชาวมุสลิม บรรดานักปราชญ์ซึ่งหนึ่งในนั้นคือนักบวชฮินดูชื่อนิราร์ธา (Nirartha) ได้อพยพข้ามมายังบาหลี โดยนำศิลปวัตถุ ช่างศิลป์ นางรำ นักดนตรี และนักแสดงประจำราชสำนักมัชปาหิตเข้ามาด้วย และได้สร้างวัดปูราลูฮูร์อูลูวาตู (Pura Luhur Ulu Watu) และวัดปูราตานะห์ลต (Pura Tanah Lot) ขึ้น การอพยพครั้งใหญ่ของชาวฮินดูจากชวาได้สิ้นสุดลงราวศตวรรษที่ 16[7][8] [9] การอพยพครั้งนี้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อสังคมบาหลี สังคมฮินดูในบาหลีเริ่มซับซ้อนขึ้น มีการนำระบบวรรณะเข้ามาใช้ ชาวบาหลีที่อยู่ดั้งเดิมจึงอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณภูเขาทางตอนใน ซึงปัจจุบันนี้ผู้สืบเชื้อสายของคนเหล่านี้เรียกว่าบาหลีอากา (Bali Aga) หรือบาหลีมูลา (Bali Mula) ยังคงอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านเตองานัน (Tenganan) ใกล้กับวัดปูราดาซา (Pura Dasa) และหมู่บ้านตรูญัน (Trunyan) บริเวณทะเลสาบบาตูร์[8]
การยึดครองของฮอลันดาแก้ไข
ชาวยุโรปกลุ่มแรกที่เดินทางมายังบาหลีคือชาวฮอลันดา ซึ่งนำโดยกัปตันโกเลอนียึส เดอ เฮาต์มัน (Colenius de Houtman) เมื่อค.ศ.1597 และเริ่มเจริญความสัมพันธ์กับราชวงค์บาหลี ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 อีกทางฝากหนึงของบาหลี ชาวฮอลันดาได้ทำสนธิสัญญาการค้าหลายฉบับกับชวา และเส้นทางการค้าเครื่องเทศส่วนใหญ่ได้ตกอยู่ในความควบคุมของชาวฮอลันดาแล้ว[7] เมื่อค.ศ.1710 ศูนย์กลางของบาหลีได้ย้ายไปอยู่ที่กลุงกุง (Klungkung) ปัจจุบันคือเมืองเสมาระปุระ[7][9] เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ชนชั้นปกครองในบาหลีเริ่มแตกแยกและแบ่งออกเป็นอาณาจักรย่อยๆ ส่วนชาวฮอลันดาเริ่มเข้ามามีอิทธิพลโดยใช้วิธีแบ่งแยกและปกครอง[7] การเข้าควบคุมบาหลีทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจเริ่มต้นเมื่อราวค.ศ.1840 โดยในปีค.ศ.1846 ชาวฮอลันดาได้อ้างการกู้เรือจมบริเวณชายฝั้งทางด้านเหนือ ใกล้กับเมืองสิงคราช (Singaraja) ในปัจจุบัน นำกำลังทหารเข้ามาและยึดอาณาจักรบูเลเล็ง (Buleleng) และเจ็มบรานา (Jembrana) ไว้ได้[9][10]เมื่อยึดอาณาจักรทางตอนเหนือได้แล้ว จึงเริ่มเข้ารุกรานอาณาจักรทางตอนใต้ ในปีค.ศ.1904 ฮอลันดาได้อ้างการร่วมกู้ซากเรือจีนนอกชายฝั่งหาดซานูร์ เรียกร้องให้อาณาจักรบาดุงจ่ายค่าชดเชยเป็นจำนวนเงิน 3,000 เหรียญเงิน แต่ได้รับการปฏิเสธ ในปีค.ศ.1906 ฮอลันดาจึงได้ยกกำลังทหารเข้ามาบริเวณหาดซานูร์ โดย 4 วันหลังจากนั้น ได้บุกเข้ามาถึงชานเมืองเด็นปาซาร์ (Denpasar) วันที่ 20 กันยายน ค.ศ.1906 ฮอลันดาจึงเริ่มยิงถล่มเมืองเด็นปาซาร์ แต่ฝ่ายบาดุงใช้วิธีการพลีชีพของนักรบที่เรียกว่าปูปูตัน (Puputan) โดยบรรดาเชื้อพระวงค์ทรงเผาพระราชวังและแต่งพระองค์เต็มพระยศพร้อมทรงกริช ทรงดำเนินพร้อมกับเหล่านักบวชและข้าราชบริพารเข้าต่อสู้ แต่ทั้งหมดไม่ยอมจำนน กลับแทงตัวตายด้วยกริชแทน เหตุการณ์ในครั้งนั้นมีชาวบาหลีเสียชีวิตประมาณ 4,000 คน เมื่อยึดอาณาจักรบาดุงได้แล้ว ฮอลันดาจึงเข้ายึดอาณาจักรตาบานัน (Tabanan) จับกษัตริย์เป็นเชลย แต่ทรงไม่ยอมจำนนและทรงกระทำอัตนิวิบาตกรรม จากนั้นฮอลันดาได้เข้ายึดครองอาณาจักรการังอะเซ็ม (Karangasem) และเกียญาร์ (Gianyar) แต่อนุญาตให้ราชวงค์ยังทรงปกครองได้ต่อไป ส่วนอาณาจักรอื่นๆ ฮอลันดาได้ขับไล่เจ้าเมืองออกทั้งหมด ในเดือนเมษายน ค.ศ.1908 เมื่อฮอลันดาบุกยึดอาณาจักรเสมาระปุระ เช่นเดียวกับกษัตริย์ตาบานัน กษัตริย์เสมาระปุระทรงไม่ยอมจำนนและทรงกระทำอัตนิวิบาตกรรมเช่นกัน การบุกยึดครั้งนั้นทำให้พระราชวังตามันเกอร์ตาโกซา (Taman Gertha Gosa) ได้รับความเสียหายเป็นส่วนใหญ่ ส่งผลให้ตั้งแต่ ค.ศ.1911 ฮอลันดาได้ครอบครองดินแดนของบาหลีได้ทั้งหมดและได้รวมบาหลีเข้าเป็นส่วนหนึงของอินเดียตะวันออกของฮอลันดา (Dutch East Indies)[7][9][11]
สงครามโลกครั้งที่สองและการประกาศเอกราชแก้ไข
กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่หาดซานูร์ ในปีค.ศ.1942 และได้ตั้งกองบัญชาการที่เมืองเด็นปาซาร์ และเมืองสิงคราช และขับไล่ชาวฮอลันดาออกไป เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่สองเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ.1945 เมื่อฮอลันดาต้องการกลับเข้ามายึดครองบาหลีอีก ขบวนการต่อต้านฮอลันดาเริ่มก่อตั้งขึ้น วันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ.1945 นายซูการ์โน (Soekarno) ถือโอกาสประกาศเอกราชแก่ดินแดนที่เคยอยู่ภายใต้การยึดครองของฮอลันดาทั้งหมดและก่อตั้งสาธารณรัฐอินโดนีเซียขึ้น แต่ฝ่ายฮอลันดาไม่รับรอง ขบวนการต่อต้านฮอลันดาในบาหลีชื่อเต็นตรา เกออามันอัน รักยัต (Tentra Keamanan Rakyat) หรือกองกำลังความมั่นคงแห่งประชาชน (People's Security Force) ลุกฮือขึ้นต่อต้านฮอลันดาที่เมืองมาร์กา (Marga) เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ.1946 นำโดยอี กุซตี งูระฮ์ ไร (I Gusti Ngurah Rai) โดยเป็นการต่อสู้เพื่อพลีชีพของนักรบหรือปูปูตันอีกครั้ง ในที่สุดฮอลันดาประกาศรับรองเอกราชของอินโดนีเซียเมื่อปีค.ศ.1949 และบาหลีจึงเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซียในปัจจุบัน[7][9][12]
การปกครองแก้ไข
หลังจากได้รับเอกราช บาหลีได้รวมเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดนูซาเติงการา (Nusa Tenggara) จนกระทั่ง ค.ศ. 1958 รัฐบาลกลางได้ประกาศแยกบาหลีออกเป็นจังหวัดหนึ่งของอินโดนีเซีย[7]
พื้นที่จังหวัดบาหลีแบ่งออกเป็น 8 อำเภอหรือกาบูปาเต็น 1 นครหรือโกตา และ 57 ตำบลหรือเกอจามาตัน[13][14]
- อำเภอ
- อำเภอกลุงกุง (Kabupaten Klungkung)
- อำเภอการังอาเซิม (Kabupaten Karangasem)
- อำเภอกียาญาร์ (Kabupaten Gianyar)
- อำเภอเจิมบรานา (Kabupaten Jembrana)
- อำเภอตาบานัน (Kabupaten Tabanan)
- อำเภอบังลี (Kabupaten Bangli)
- อำเภอบาดุง (Kabupaten Badung)
- อำเภอบูเลเล็ง (Kabupaten Buleleng)
- นคร
- เด็นปาซาร์ (Denpasar; เมืองหลัก)
ประชากรแก้ไข
เชื้อชาติ เป็นชาวบาหลีร้อยละ 89 ที่เหลือเป็นชาวชวาและอื่น ๆ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดูร้อยละ 93.18, ศาสนาอิสลามร้อยละ 4.79, ศาสนาคริสต์ร้อยละ 1.38, ศาสนาพุทธร้อยละ 0.64
เศรษฐกิจแก้ไข
ในอดีต สังคมบาหลีเป็นสังคมเกษตรกรรม เป็นแหล่งรายได้สำคัญของจังหวัด[15] จนกระทั่งราวคริสต์ทศวรรษที่ 1970 การท่องเที่ยวเริ่มกลายเป็นแหล่งรายได้สำคัญ จนในปัจจุบันการท่องเที่ยวเป็นแหล่งรายได้เดียวของจังหวัด ซึ่งมากพอที่ทำให้บาหลีกลายเป็นจังหวัดที่มั่งคั่งที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศ ในปี 2003 เศรษฐกิจของบาหลีคิดเป็นภาคการท่องเที่ยวมากถึง 80% ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมด[16] อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของบาหลีซบเซาลงมากจากเหตุก่อการร้ายรุนแรงหลายครั้ง ในช่วงปี 2002 - 2005 หลังเหตุระเบิดในบาหลี พ.ศ. 2545 และ เหตุระเบิดในบาหลี พ.ศ. 2548 บาหลีในปัจจุบันสามารถฟื้นตัวและเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางสำคัญด้านการท่องเที่ยวของโลก
วัฒนธรรมแก้ไข
ส่วนใหญ่ชาวบาหลีได้รับวัฒนธรรมจากอินเดียเป็นอันมาก เช่นศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธ รามายณะ ตลอดจนอักษร ภาษา ฯลฯ นั้นล้วนมาจากอินเดีย นำมารวมกับวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น และนำใช้อย่างแพร่หลาย
ศาสนาฮินดูแบบบาหลีแก้ไข
บนเกาะบาหลีมีผู้นับถือศาสนาฮินดูเป็นหลัก แตกต่างจากบริเวณอื่นของประเทศที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามเป็นหลัก ศาสนาฮินดูแบบบาหลีได้รับอิทธิพลจากความเชื่อพื้นเมือง วิญญาณนิยม (แอนิมิซึม) และศาสนาพุทธ ความแตกต่างจากศาสนาฮินดูสายหลักที่พบได้ทั่วไปจากอนุทวีปอินเดียคือมีการสักการะผีพื้นเมือง บูชาผีบรรพบุรุษ และเคารพพระโพธิสัตว์ซึ่งเป็นของคติทางศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดูแบบบาหลีมีเทพเจ้าสูงสุดพระองค์เดียว คล้ายกับแนวคิดของคริสต์ศาสนา คือเทพอจินไตย ส่วนเทพฮินดูองค์อื่น ๆ และเทพพื้นเมือง ก็ยังคงได้รับการเคารพอย่างทั่วไปเช่นกัน
สถาปัตยกรรมแก้ไข
สถาปัตยกรรมบาหลี เป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของชาวบาหลีซึ่งพบได้ทั่วไปบนเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ที่มีความเก่าแก่หลายศตวรรษ ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมบาหลี โดยเฉพาะศาสนาฮินดูแบบบาหลี แนวคิดจากเกาะชวา และความเชื่อพื้นเมืองของชาวบาหลีดั้งเดิม[17] ตัวอย่างที่สำคัญ เช่น รูมะฮ์อาดัต (บ้านพื้นเมือง) ที่เรียกว่า บ้านพื้นเมืองบาหลี, ปูรา (โบสถ์พราหมณ์แบบบาหลี), บาเล (ศาลา) และ หอเมรู (หอคอยคล้ายเจดีย์) เป็นต้น
สถาปัตยกรรมบาหลีมักยึดตามหลักที่เรียกว่า ไตรแมนเดลา คือการแบ่งอาณาเขตเป็นสามอาณาเขต (แมนเดลา) ลักษณะนี้พบได้ทั่วไปในสถาปัตยกรรมของปูรา แต่ละแมนเดลาจะมีประตูกั้นอาณาเขต ซึ่งแบ่งเป็นสองประเภท ได้แก่ จันดีเบินตาร์ ซึ่งแบ่งแมนเดลาแรกและกลางออกจากกัน และ ปาดูรักซา แบ่งแมนเดลากลางและชั้นในออกจากกัน
รายการอ้างอิงแก้ไข
- ↑ "Bali to Host 2013 Miss World Pageant". Jakarta Globe. 26 เมษายน 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-12. สืบค้นเมื่อ 30 December 2012.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑
Suryadinata, Leo; Arifin, Evi Nurvidya; Ananta, Aris (2003). Indonesia's Population: Ethnicity and Religion in a Changing Political Landscape. Institute of Southeast Asian Studies. ISBN 9812302123.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|lastauthoramp=
ถูกละเว้น แนะนำ (|name-list-style=
) (help) - ↑ 3.0 3.1 Penduduk Menurut Wilayah dan Agama yang Dianut (2010 Census). bps.go.id
- ↑ Hinzler, Heidi. (1995). Artifacts and early foreign influences. In Eric Oey (Ed.), Bali (pp. 24-25). Singapore: Periplus Editions. ISBN 962-593-028-0.
- ↑ Taylor, Jean Gelman. (2003). Indonesia: Peoples and histories. New Haven and London: Yale University Press. ISBN 0-300-10518-5.
- ↑ Op. cit., Hinzler, Heidi. (1995), pp. 24-25.
- ↑ 7.00 7.01 7.02 7.03 7.04 7.05 7.06 7.07 7.08 7.09 7.10 Ver Berkmoes, Ryan, Skolnick, Adam & Caroll, Marian. (2009). Lonely planet: Bali & Lombok. (12th ed.). Melbourne: Lonely Planet. ISBN 978-1-74104-864-3.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 "History of Bali". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-06. สืบค้นเมื่อ 2009-06-24.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 History for Bali
- ↑ Vickers, Adrian. (1995). In Eric Oey (Ed.), Bali (pp. 26-35). Singapore: Periplus Editions. ISBN 962-593-028-0.
- ↑ "History of Bali by Amanda Byron". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-10. สืบค้นเมื่อ 2009-07-02.
- ↑ "I Gusti Ngurah Rai; Balinese National Hero". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-04. สืบค้นเมื่อ 2009-06-30.
- ↑ Statistik Indonesia 2021 (ภาษาอินโดนีเซีย). สำนักงานสถิติแห่งประเทศอินโดนีเซีย. 2021-02-26. pp. 45–47. สืบค้นเมื่อ 2021-12-05.
- ↑ "Peraturan Kepala Badan Pusat Statistik Nomor 120 Tahun 2020 Tentang Klasifikasi Desa Perkotaan dan Perdesaan di Indonesia Tahun 2020" (PDF) (ภาษาอินโดนีเซีย). สำนักงานสถิติแห่งประเทศอินโดนีเซีย. สืบค้นเมื่อ 2021-12-05.
- ↑ Brown, Iem (2004-06-17). The Territories of Indonesia (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 149. ISBN 9781135355418.
- ↑ Desperately Seeking Survival เก็บถาวร 2013-08-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Time. 25 November 2002.
- ↑ "Architecture in Bali". Bali Paradise online. สืบค้นเมื่อ December 9, 2013.