อำเภอของประเทศอินโดนีเซีย
อำเภอ หรือ กาบูปาเต็น (อินโดนีเซีย: kabupaten; ดัตช์: regentschap) เป็นหน่วยการบริหารระดับที่สองของประเทศอินโดนีเซียรองลงมาจากจังหวัด ชื่อในภาษาอินโดนีเซีย กาบูปาเต็น บางครั้งสามารถแปลได้ว่า "เทศบาล" อำเภอและนครของประเทศอินโดนีเซียจะแบ่งย่อยลงไปอีกเป็นตำบล ซึ่งมีชื่อเรียกสองชื่อได้แก่ เกอจามาตัน (อินโดนีเซีย: kecamatan) และ ดิซตริก (อินโดนีเซีย: distrik) คำว่า ดิซตริก จะใช้เฉพาะในพื้นที่นิวกินีตะวันตก[1][2]
ศัพทมูลวิทยา
แก้ในภาษาอังกฤษ อำเภอของประเทศอินโดนีเซียจะเรียกว่า regency ซึ่งมีที่มาจากสมัยอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ โดยอำเภอในสมัยนั้นปกครองโดยนายอำเภอหรือ บูปาตี (อินโดนีเซีย: bupati) และมีชื่อเรียกว่า เรอเคนต์สคัป (ดัตช์: regentschap) หรือ กาบูปาเต็น (ชวา: kabupaten) ชื่อ กาบูปาเต็น ในภาษาชวาได้แพร่เข้ามาในภาษาอินโดนีเซียและใช้ในภาษาอินโดนีเซียจนถึงปัจจุบัน[3] ชื่อตำแหน่ง บูปาตี มีมาตั้งแต่ก่อนเนเธอร์แลนด์จะเข้าปกครองอินโดนีเซีย[4] และเมื่อเนเธอร์แลนด์ได้เข้าครองอินโดนีเซียและล้มล้างราชวงศ์เดิม บูปาตี ก็ยังคงได้รับการรักษาไว้[5][6][7] ชื่อตำแหน่ง บูปาตี นั้นมาจากภาษาสันสกฤต ภูมิปติ (สันสกฤต: भूमिपति) ซึ่งหมายถึงเจ้าผู้ครองนคร[8] และปรากฏเป็นชื่อตำแหน่งที่เข้าร่วมพระราชพิธีแสดงความจงรักภักดีต่อกษัตริย์บนจารึกเตอลากาบาตูในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย[8][9]
สมัยอาณานิคมเนเธอร์แลนด์
แก้แม้ว่าชื่อตำแหน่ง บูปาตี จะส่อว่าผู้ปกครองท้องถิ่นจะสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชนพื้นถิ่นก็ตาม แต่ในความเป็นจริงแล้ว บูปาตี จะรับคำสั่งจากขุนนางชาวเนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคม[10][11][12] อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่าง บูปาตี กับตัวแทนของเนเธอร์แลนด์จะค่อนข้างก้ำกึ่งกัน รัฐบาลเนเธอร์แลนด์มีอำนาจทางกฎหมายและทางการทหารในอินโดนีเซีย (หรือหมู่เกาะอินเดียตะวันออก) แต่ขุนนางตัวแทนของรัฐบาลเนเธอร์แลนด์จะมีฐานะเป็นเพียงที่ปรึกษาให้กับ บูปาตี เท่านั้น[13]
ยุคหลังซูฮาร์โต
แก้หลังจากที่ซูฮาร์โตประกาศลาออกจากตำแหน่ง ได้มีการเคลื่อนไหวที่จะกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลางเข้าสู่ระดับท้องถิ่นที่เรียกว่า เปอเมอการัน (อินโดนีเซีย: pemekaran) กฎหมายสำคัญหลายฉบับเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นถูกประกาศใช้ใน ค.ศ. 1999 จำนวนอำเภอและนครในประเทศอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นจากประมาณ 300 ในช่วงปลาย ค.ศ. 1998 เป็น 514 ใน ค.ศ. 2014 ซึ่งทำให้เป็นที่ถกเถียงในยุคปัจจุบันว่าอาจจะสิ้นเปลืองงบประมาณมากเกินไป รัฐบาลระดับสูงมองว่าควรชะลอหรือหยุดแบ่งเขตอำเภอหรือนครเพิ่ม ในขณะที่นักการเมืองท้องถิ่นสนับสนุนให้มีเขตอำเภอหรือนครใหม่เพิ่มขึ้น[14] มีรายงานวิจัยว่าการกระจายอำนาจและงบประมาณสู่ระดับท้องถิ่นช่วยลดช่องว่างระหว่างรายได้ของแต่ละภูมิภาคได้[15]
สถิติ
แก้ใน ค.ศ. 2020 ประเทศอินโดนีเซียมี 416 อำเภอและ 98 นคร โดยเกาะสุมาตรามี 120 อำเภอ เกาะชวามี 85 อำเภอ หมู่เกาะซุนดาน้อยมี 37 อำเภอ เกาะบอร์เนียวมี 47 อำเภอ เกาะซูลาเวซีมี 70 อำเภอ หมู่เกาะโมลุกกะมี 17 อำเภอ และเกาะนิวกินีมี 40 อำเภอ[16]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Article 1.k, Undang-Undang Republik Indonesia Nomor 21 Tahun 2001 tentang Otonomi Khusus Bagi Provinsi Papua, 2001 (in Indonesian)
- ↑ Article 1.24, Undang-Undang Republik Indonesia Nomor 23 Tahun 2014 tentang Pemerintah Daerah, 2014 (in Indonesian)
- ↑ Indonesia Departemen Dalam Negeri (1985). Departemen Dalam Negeri, tugas, fungsi dan peranannya dalam pemerintah di Daerah (ภาษาอินโดนีเซีย). Departemen Dalam Negeri.
- ↑ Koesoemahatmadja, Djenal Hoesen (1978). Perkembangan fungsi dan struktur pamong praja ditinjau dari segi sejarah (ภาษาอินโดนีเซีย). Alumni.
- ↑ Suwarno, P. J. (1989). Sejarah birokrasi pemerintahan Indonesia dahulu dan sekarang (ภาษาอินโดนีเซีย). Penerbitan Universitas Atma Jaya Yogyakarta. ISBN 9789798109010.
- ↑ Raharjo, Supratikno; Munandar, Agus Aris (1998-01-01). Sejarah Kebudayaan Bali: Kajian Perkembangan dan Dampak Pariwisata (ภาษาอินโดนีเซีย). Direktorat Jenderal Kebudayaan.
- ↑ Poesponegoro, Marwati Djoened (1975). Sejarah nasional Indonesia: Jaman kebangkitan nasional dan masa akhir Hindia Belanda (ภาษาอินโดนีเซีย). Departemen Pendidikan dan Kebudayaan.
- ↑ 8.0 8.1 Setiawan, Irfan (2018-06-29). Handbook Pemerintahan Daerah (ภาษาอินโดนีเซีย). Wahana Resolusi. ISBN 9786025775185.
- ↑ Casparis, J.G., (1956), Prasasti Indonesia II: Selected Inscriptions from the 7th to the 9th Century A.D., Dinas Purbakala Republik Indonesia, Bandung: Masa Baru.
- ↑ Pakan, Djon (2002). Kembali ke jatidiri bangsa: Sumpah Pemuda Indonesia, Proklamasi 17 Agustus 1945, Pancasila, dan Undang-Undang Dasar 1945 : sejarah, filsafat, dan refleksi pemikiran kebangsaan (ภาษาอินโดนีเซีย). Millennium Publisher. ISBN 9789799437525.
- ↑ Adiwilaga, Rendy (2018-05-01). Kepemimpinan Pemerintahan Indonesia: Teori dan Prakteknya (ภาษาอินโดนีเซีย). ISBN 9786024751227.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Pusat Studi Sunda (2004). Bupati di Priangan: dan kajian lainnya mengenai budaya Sunda (ภาษาอินโดนีเซีย). Pusat Studi Sunda.
- ↑ Hatmadji, Tri. Ragam Pusaka Budaya Banten (ภาษาอินโดนีเซีย). Direktorat Jenderal Kebudayaan. ISBN 9789799932402.
- ↑ Sitomorang, Yosua (9 June 2010). "Strategic Asia: When it comes to Regional Autonomy in Indonesia, Breaking Up Should be Harder to Do'". The Jakarta Globe. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-28.
- ↑ Siburian, Matondang Elsa (2020). "Fiscal decentralization and regional income inequality: evidence from Indonesia". Applied Economics Letters. 27 (17): 1383–6. doi:10.1080/13504851.2019.1683139.
- ↑ Putri, Arum Sutrisni (8 January 2020). "Jumlah Kabupaten dan Provinsi di Indonesia". KOMPAS.com (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 14 July 2021.