จันดีเบินตาร์ (Candi bentar) คือซุ้มประตูแบ่งอาณาเขตในสถาปัตยกรรมบาหลีดั้งเดิม พบในวัด โบสถ์พราหมณ์ (ปูรา) และพระราชวัง (Kraton) และสุสาน[1] ลักษณะสร้างตามโครงสร้างของจันดี และผ่ากลางเพื่อเปิดเป็นทางเดิน ส่วนมากมักประกอบกับบันไดขึ้นไปยังจันดีเบินตาร์ ส่วนมากพบทั่วไปในสิ่งก่อสร้างในเกาะชวา เกาะบาหลี และ เกาะลอมบอก

ไม้แกะสลักจำลองจันดีเบินตาร์

จันดีเบินตาร์เป็นประตูแบ่งส่วนภายนอก (Nista mandala; jaba pisan) กับภายในของปูราแบบดั้งเดิม การแบ่งส่วนของปูรานั้นจะแบ่งเป็นสามส่วน (ไตรแมนเดลา) จันดีเบินตาร์คือส่วนที่ใช้แบ่งแมนเดลานอกสุด (Nista mandala; jaba pisan) ออกจากแมนเดลาชั้นกลาง (Madya mandala; jaba tengah)

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

ข้อมูล แก้

  • Wardani, Laksmi Kusuma; Sitindjak, Ronald Hasudungan Irianto; Mayang Sari, Sriti (2015). "Estetika Ragam Hias Candi Bentar dan Paduraksa di Jawa Timur" [Ornament aesthetic of Candi Bentar and Paduraksa in East Java] (PDF) (ภาษาอินโดนีเซีย). Petra Christian University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ November 23, 2018. สืบค้นเมื่อ November 19, 2016. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)