ภาษาบาหลี เป็นภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซียที่มีผู้พูด 3.3 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อ ค.ศ. 2000) ในเกาะบาหลี รวมทั้งในภาคเหนือของนูซาเปอนีดา ภาคตะวันตกของเกาะลมบก ภาคตะวันออกของเกาะชวา[2] ภาคใต้ของเกาะสุมาตรา และเกาะซูลาเวซี ประเทศอินโดนีเซีย[3] ผู้พูดชาวบาหลีส่วนใหญ่รู้ภาษาอินโดนีเซียด้วย ใน ค.ศ. 2011 สำนักงานวัฒนธรรมบาหลีประมาณจำนวนผู้ที่ยังพูดภาษาบาหลีในชีวิตประจำวันในเกาะบาหลีว่ามีน้อยกว่า 1 ล้านคน กล็อตโตล็อก จัดให้ภาษานี้มีสถานะ "ไม่อยู่ในภาวะใกล้สูญ"[4]

ภาษาบาหลี
ᬪᬵᬱᬩᬮᬶ, ᬩᬲᬩᬮᬶ1
Bhāṣa Bali, Basa Bali1
ภูมิภาคเกาะบาหลี, นูซาเปอนีดา, เกาะลมบก และเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย
ชาติพันธุ์
จำนวนผู้พูด3.3 ล้านคน  (2000)[1]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษาบาหลีเก่า
  • ภาษาบาหลี
ระบบการเขียนอักษรละติน
อักษรบาหลี
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน อินโดนีเซีย
รหัสภาษา
ISO 639-2ban
ISO 639-3ban
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด
ผู้พูดภาษาบาหลี

การจำแนก แก้

ภาษาบาหลีจัดอยู่ในกลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียของตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ภายในกลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย ภาษานี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มย่อยภาษาบาหลี–ซาซัก–ซุมบาวา[5] ภาษาบาหลีมีวิธภาษาเด่น ๆ 3 วิธภาษา ได้แก่ บาหลีที่สูง บาหลีที่ลุ่ม และนูซาเปอนีดา[4]

ประชากร แก้

จากสำมะโนประชากร ค.ศ. 2000 มีผู้พูดภาษาบาหลีในประเทศอินโดนีเซีย 3.3 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในเกาะบาหลีและบริเวณโดยรอบ

ใน ค.ศ. 2011 สำนักงานวัฒนธรรมบาหลีประมาณว่ายังมีผู้คนที่พูดภาษาบาหลีในชีวิตประจำวันในเกาะบาหลีไม่เกิน 1 ล้านคน เพราะในเขตเมือง พ่อแม่ใช้เพียงภาษาอินโดนีเซียหรือแม้แต่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างชาติ ในขณะที่บทสนทนาในชีวิตประจำวันหายไปจากสถาบันและสื่อมวลชนแล้ว มีผู้ไม่คุ้นชินกับภาษาเขียนของภาษาบาหลีมากขึ้น และชาวบาหลีส่วนใหญ่ใช้ภาษาบาหลีเฉพาะการสื่อสารด้วยวาจาโดยมีคำจากภาษาอินโดนีเซียปะปนอยู่บ่อยครั้ง แต่ในพื้นที่ที่มีการอพยพข้ามถิ่นนอกเกาะบาหลี กลับมีการใช้ภาษาบาหลีอย่างมากและเชื่อว่ามีบทบาทสำคัญต่อความอยู่รอดของภาษา[6]

สัทวิทยา แก้

สระ แก้

สระบาหลี
หน้า กลาง หลัง
สูง i u
กลาง e ə o
ต่ำ a

การสะกดอย่างเป็นทางการใช้รูป a แทนทั้งหน่วยเสียง /a/ และ /ə/ อย่างไรก็ตาม a มักออกเสียงเป็น [ə] เมื่ออยู่ท้ายคำ และ [ə] ยังปรากฏในหน่วยคำเติมหน้า ma-, pa- และ da-[7]

พยัญชนะ แก้

พยัญชนะบาหลี
ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
เสียงนาสิก m n ɲ ŋ
เสียงหยุด/เสียงกักเสียดแทรก p b t d t͡ʃ d͡ʒ k g
เสียงเสียดแทรก s h
เสียงเปิด w l j
เสียงรัว r

การเน้นหนัก แก้

คำในภาษาบาหลีจะเน้นเสียงหนักที่พยางค์สุดท้าย[7]

ระบบการเขียน แก้

ภาษาบาหลีมีระบบการเขียน 2 ระบบ คือ อักษรบาหลี และอักษรละตินในปัจจุบัน

อักษรบาหลี แก้

 
รูปพยัญชนะบาหลี
หมายเหตุ: อักษรชุดนี้เรียงตามลำดับพยัญชนะชวา

อักษรบาหลี (Aksara Bali, ᬅᬓ᭄ᬱᬭᬩᬮᬶ) ซึ่งเรียงลำดับแบบฮานาจารากา (ᬳᬦᬘᬭᬓ) เป็นอักษรสระประกอบที่พัฒนามาจากอักษรพราหมีในอินเดีย จารึกแรกที่สุดเท่าที่รู้จักสืบได้ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9[8] ปัจจุบัน มีผู้รู้จักคุ้นเคยกับอักษรบาหลีดั้งเดิมน้อยมาก[9]

อักษรละติน แก้

ในปัจจุบัน โรงเรียนในเกาะบาหลีสอนภาษาบาหลีโดยใช้อักษรละติน (โรมัน) ซึ่งมีชื่อว่า ตูลีซันบาลี (Tulisan Bali)[10]

ภาพ แก้

หมายเหตุ แก้

^1 ในอักษรบาหลี คำยืมจากภาษาสันสกฤตและภาษากาวีมีอักขรวิธีที่แตกต่างจากคำบาหลีดั้งเดิม อักษรบาหลีชุดแรกเริ่มได้รับอิทธิพลจากอักขรวิธีภาษาสันสกฤตและภาษากาวี ดังเช่นคำว่า บาซา แผลงมาจากคำภาษาสันสกฤตว่า भाषा (ภาษา) ในขณะเดียวกัน ไม่มีการใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษรในภาษาบาหลีที่เขียนด้วยอักษรละติน ดังนั้น ทั้ง ᬪᬵᬱᬩᬮᬶ และ basa Bali ต่างก็เป็นรูปสะกดมาตรฐาน

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. ภาษาบาหลี ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. Ethnologue.
  3. Clynes, Adrian (1995). Topics in the Phonology and Morphosyntax of Balinese (วิทยานิพนธ์ PhD). Australian National University. doi:10.25911/5d77865d38e15. hdl:1885/10744.
  4. 4.0 4.1 "Glottolog 4.3 - Balinese". glottolog.org. สืบค้นเมื่อ 2021-04-27.
  5. Adelaar, K. Alexander (2005). "The Austronesian languages of Asia and Madagascar: a historical perspective". ใน Adelaar, K. Alexander; Himmelmann, Nikolaus (บ.ก.). The Austronesian languages of Asia and Madagascar. London: Routledge. pp. 1–42.
  6. Ni Komang Erviani (March 30, 2012). "Balinese Language 'Will Never Die'". The Jakarta Post (ภาษาอังกฤษ).
  7. 7.0 7.1 Spitzing, Günter (2002). Practical Balinese: Phrasebook and Dictionary. Rutland VT: Tuttle Publishing. p. 22.
  8. Beratha, Ni Luh Sutjiati (1992). Evolution of Verbal Morphology in Balinese (วิทยานิพนธ์ PhD). Australian National University. doi:10.25911/5d7786429c1ff. hdl:1885/109364.
  9. "Balinese (Basa Bali)". Omniglot. สืบค้นเมื่อ 2021-01-30.
  10. Eiseman, Fred B., Jr. "The Balinese Languages". Bali Vision. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-19.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้