บาหลีอากา (อินโดนีเซีย: Suku Bali Aga) หรือ บาหลีมูลา (อินโดนีเซีย: Suku Bali Mula) แปลว่า "ชาวบาหลีดั้งเดิม"[3] เป็นชนพื้นเมืองที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย

บาหลีอากา
Suku Bali Aga
Suku Bali Mula
ชาวบาหลีอากาในเติงกานัน
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
บ้านกินตามานี จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
ภาษา
สำเนียงบาหลีอากา, อินโดนีเซีย
ศาสนา
ฮินดูพื้นบ้าน, ฮินดูแบบบาหลี, นับถือผี
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
บาหลี, ชวา, มาดูรา

ประวัติ แก้

ตำนานมุขปาฐะของชาวบาหลีอากามักกล่าวว่าพวกเขาอาศัยอยู่หมู่บ้านเบอดูลู (Bedulu) บนเกาะบาหลีก่อนคลื่นการอพยพของชาวฮินดูจากชวา โดยตำนานกล่าวถึงกษัตริย์ซรี อาจี อาซูรา บูมีบันเติน (Sri Aji Asura Bumibanten) กษัตริย์แห่งเปอเจิง (Pejeng) ทรงมีพลังเหนือธรรมชาติ[4] ทรงถอดพระเศียรออกได้โดยไม่ทรงเจ็บปวดและสามารถสวมกลับไปได้อย่างเดิม แต่อยู่มาวันหนึ่งพระเศียรของพระองค์เกิดอุบัติเหตุตกลงไปในน้ำแล้วถูกกระแสน้ำซัดหายไป ขุนนางคนหนึ่งตกใจและแก้ปัญหาด้วยการบั่นหัวหมูมาสวมให้แทนพระเศียร องค์กษัตริย์ทรงละอายพระทัยนักที่มีพระพักตร์เป็นหมู จึงมีโองการเก็บเรื่องนี้เป็นความลับ และทรงเก็บตัวในปราสาทสูงมิให้ผู้ใดมาเข้าเฝ้าอีก จนกระทั่งมีเด็กคนหนึ่งมาทราบความจริง จนพระองค์เป็นที่รู้จักว่า "ผู้เปลี่ยนหัว" หรือ ดาเลิมเบอดูลู (Dalem Bedulu) อันเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้นเบอดูลูหรือที่แปลว่า "บ้านต้นน้ำ"[5] ส่วนอาณาจักรเปอเจิงนั้นก็สูญอำนาจหลังจักรวรรดิมัชปาหิตมีชัย

วัฒนธรรม แก้

ชาวบาหลีอากาอาศัยปลีกตัวอย่างโดดเดี่ยวบนยอดเขาที่ห่างไกล ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวออสโตรนีเชียนโบราณเอาไว้ได้ โดยเฉพาะสถาปัตยกรรมแบบบาหลีอากา นักท่องเที่ยวที่เข้าไปควรระมัดระวังสภาพภูมิศาสตร์ ควรแสดงความเคารพและไม่ควรส่งเสียงดังในพื้นที่ประชุมชนของชาวบาหลีอากา[6] ปัจจุบันชาวบาหลีอากาได้รับอิทธิพลฮินดูจากชาวบาหลี เช่นการนับถือพระพรหม แต่กระนั้นผู้นำชุมชนทุกหมู่บ้านยังคงเป็นผู้นำประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของตนเอง โดยมีปุโรหิตเรียกว่า มังกู (mangku) ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา[7]

ในหมู่บ้านเติงกานัน (Tenganan) มีกฎสำคัญคือห้ามมีการหย่าร้างกัน และมีธรรมเนียมว่าสามีสามารถมีภรรยาได้หลายคน ต่างจากหมู่บ้านบาหลีอากาอื่น ๆ[8]

ภาษา แก้

ชาวบาหลีอากาพูดภาษาบาหลีแบบท้องถิ่น แต่ละหมู่บ้านเองก็มีสำเนียงแตกต่างกันออกไปเช่น ภาษาของบ้านเติงกานัน (Tenganan) จะพูดไม่เหมือนบ้านตรุนยัน (Trunyan)

อ้างอิง แก้

  1. "The Bali Aga: The original inhabitants of Bali". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-25.
  2. "Baliaga, Highland Bali in Indonesia". Joshua Project. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. Keith MacKenzie (2 เมษายน 2557). "Bali Aga and Toraja: Living links to history". Nezara. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. Mischa Loose (2012). Bali, Lombok. DuMont Reiseverlag. ISBN 37-701-6713-9.
  5. "Bedulu village". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-08. สืบค้นเมื่อ 2017-02-11.
  6. Sigit Wahyu (3 January 2015). Ni Luh Made Pertiwi F (บ.ก.). "Menjaga "Geopark" Kaldera Danau Batur". Kompas. สืบค้นเมื่อ 2016-11-14.
  7. Theodora Sutcliffe (29 มิถุนายน 2560). "Bali Aga village with a magic tree". BBC. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "Different cultural insights in Bali's Tenganan village". The Jakarta Post. 10 November 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-11-19.