โคเคน
โคเคน (อังกฤษ: cocaine) เป็นสารกระตุ้นอย่างเข้มที่มักใช้เป็นยาเพื่อนันทนาการ[13] ทั่วไปเสพโดยการสูด สูบควัน หรือละลายแล้วฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ฤทธิ์ต่อจิตประสาท เช่น การเสียการรับรู้ความเป็นจริง รู้สึกสุขยิ่งยิ่ง หรือกระสับกระส่าย อาการทางกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อตก และรูม่านตาขยาย[12] ขนาดสูงอาจทำให้ความดันโลหิตหรืออุณหภูมิกายสูงมากได้[14] เริ่มออกฤทธิ์ภายในไม่กี่วินาทีหรือนาทีหลังใช้ และอยู่ได้ระหว่าง 5 ถึง 90 นาที[12] มีการยอมรับให้ใช้โคเคนทางการแพทย์ในวงจำกัดให้เป็นยาชาและลดการตกเลือดระหว่างการผ่าตัดจมูก[15] และการผ่าตัดท่อน้ำตา[16]
ผงโคเคนไฮโดรคลอไรด์ | |
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
ชื่อทางการค้า | Neurocaine,[4] Goprelto,[5] Numbrino,[6] others |
ชื่ออื่น | Benzoylmethylecgonine, coke, blow, crack (in freebase form) |
AHFS/Drugs.com | Micromedex Detailed Consumer Information |
ข้อมูลทะเบียนยา | |
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ | |
Dependence liability | สูง[1] |
Addiction liability | สูง[2] |
ช่องทางการรับยา | เฉพาะที่, ทางปาก, พ่นยา, ทางหลอดเลือดดำ |
ประเภทยา | |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย |
|
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
ชีวประสิทธิผล | |
การเปลี่ยนแปลงยา | ตับ CYP3A4 |
สารซึ่งได้หลังการเปลี่ยนแปลงยา | Norcocaine, benzoylecgonine, cocaethylene |
ระยะเริ่มออกฤทธิ์ | หลักวินาทีถึงนาที[12] |
ระยะเวลาออกฤทธิ์ | 5 ถึง 90 นาที[12] |
การขับออก | ไต |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
IUPHAR/BPS | |
DrugBank | |
ChemSpider | |
UNII | |
KEGG | |
ChEBI | |
ChEMBL | |
PDB ligand | |
ECHA InfoCard | 100.000.030 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C17H21NO4 |
มวลต่อโมล | 303.353 g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
จุดหลอมเหลว | 98 องศาเซลเซียส (208 องศาฟาเรนไฮต์) |
จุดเดือด | 187 องศาเซลเซียส (369 องศาฟาเรนไฮต์) |
การละลายในน้ำ | ≈1.8 |
| |
| |
7 (what is this?) (verify) | |
โคเคนเป็นสารเสพติดเนื่องจากมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทในสมอง มีความเสี่ยงสู่ภาวะการเสพติดสูงหลังใช้ระยะสั้น นอกจากนี้ ยังเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด โรคปอดในผู้สูบโคเคน การติดเชื้อในกระแสเลือด และหัวใจวายเฉียบพลัน[13][17] โคเคนที่ลักลอบขายอย่างผิดกฎหมายมักผสมกับยาชาเฉพาะที่ แป้งข้าวโพด ควินิน หรือน้ำตาล ซึ่งอาจทำให้มีพิษข้างเคียงนอกเหนือไปจากความเสี่ยงข้างต้น[18] หลังการใช้ซ้ำ ๆ ผู้ใช้ได้รับผลของความยินดีจากการเสพลดลงเรื่อย ๆ เกิดภาวะสิ้นยินดีซึ่งเป็นความผิดปกติทางอารมณ์และอาจทำให้รู้สึกเหนื่อยอย่างมาก
โคเคนออกฤทธิ์ยับยั้งการดูดกลับของเซโรโทนิน นอร์เอพิเนฟริน และโดปามีน ทำให้มีสารสื่อประสาทสามชนิดดังกล่าวสะสมเพิ่มขึ้นในสมอง[13] ความเข้มข้นของการสะสมสารสื่อประสาทดังกล่าวทำให้สามารถทะลุผ่านตัวกั้นระหว่างเลือดกับสมอง และอาจทำให้ตัวกั้นดังกล่าวเสียหายได้[19][20]
ในปี 2556 มีการผลิตโคเคนทั่วโลกที่ถูกกฎหมาย 419 กิโลกรัม[21] ซึ่งหากประมาณราคาในตลาดค้าโคเคนผิดกฎหมายจะมีมูลค่า 100,000–500,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี[13] โคเคนเป็นสารเสพติดที่ใช้ผิดกฎหมายทั่วโลกมากที่สุดเป็นอันดับสอง รองจากกัญชา[22] มีผู้ใช้โคเคนระหว่าง 14 ถึง 21 ล้านคนต่อปี พบใช้มากที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ ตามด้วยทวีปยุโรปและอเมริกาใต้ สันนิษฐานว่าประชากรในประเทศพัฒนาแล้วประมาณร้อยละ 1-3 เคยใช้โคเคนทางใดทางหนึ่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต[13] ปริมาณการใช้ในประเทศไทยอยู่ที่เฉลี่ย 0.8–1.2 กิโลกรัมต่อปี[23] ในปี 2556 การใช้โคเคนเป็นสาเหตุโดยตรงทำให้มีผู้เสียชีวิต 4,300 คน เพิ่มขึ้นจาก 2,400 คนในปี 2533[24] ตั้งชื่อตามต้นโคคาที่แยกสารดังกล่าวได้[12] ใบของต้นโคคานั้นชาวเปรูได้ใช้มาแต่โบราณ มีการแยกโคเคนได้จากใบครั้งแรกในปี 2403[13] นับแต่ปี 2504 อนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดระหว่างประเทศบังคับให้ประเทศต่าง ๆ กำหนดให้การใช้โคเคนเพื่อนันทนาการเป็นอาชญากรรม[25]
อ้างอิง
แก้- ↑ Ghodse H (2010). Ghodse's Drugs and Addictive Behaviour: A Guide to Treatment (4 ed.). Cambridge University Press. p. 91. ISBN 978-1-139-48567-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2017.
- ↑ Introduction to Pharmacology Third Edition. Abingdon: CRC Press. 2007. pp. 222–223. ISBN 978-1-4200-4742-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2017.
- ↑ "Cocaine topical (C-Topical Solution) Use During Pregnancy". Drugs.com. 10 April 2020. สืบค้นเมื่อ 30 April 2020.
- ↑ Nordegren T (2002). The A-Z Encyclopedia of Alcohol and Drug Abuse. Universal-Publishers. p. 461. ISBN 9781581124040.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อGoprelto FDA label
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNumbrino FDA label
- ↑ "DEA / Drug Scheduling". www.dea.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 August 2017. สืบค้นเมื่อ 7 August 2017.
- ↑ 8.0 8.1 Fattinger K, Benowitz NL, Jones RT, Verotta D (July 2000). "Nasal mucosal versus gastrointestinal absorption of nasally administered cocaine". European Journal of Clinical Pharmacology. 56 (4): 305–10. doi:10.1007/s002280000147. PMID 10954344.
- ↑ Barnett G, Hawks R, Resnick R (1981). "Cocaine pharmacokinetics in humans". Journal of Ethnopharmacology. 3 (2–3): 353–66. doi:10.1016/0378-8741(81)90063-5. PMID 7242115.
- ↑ Jeffcoat AR, Perez-Reyes M, Hill JM, Sadler BM, Cook CE (1989). "Cocaine disposition in humans after intravenous injection, nasal insufflation (snorting), or smoking". Drug Metabolism and Disposition. 17 (2): 153–9. PMID 2565204.
- ↑ Wilkinson P, Van Dyke C, Jatlow P, Barash P, Byck R (March 1980). "Intranasal and oral cocaine kinetics". Clinical Pharmacology and Therapeutics. 27 (3): 386–94. doi:10.1038/clpt.1980.52. PMID 7357795.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 Zimmerman JL (October 2012). "Cocaine intoxication". Critical Care Clinics. 28 (4): 517–26. doi:10.1016/j.ccc.2012.07.003. PMID 22998988.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 Pomara C, Cassano T, D'Errico S, Bello S, Romano AD, Riezzo I, Serviddio G (2012). "Data available on the extent of cocaine use and dependence: biochemistry, pharmacologic effects and global burden of disease of cocaine abusers". Current Medicinal Chemistry. 19 (33): 5647–57. doi:10.2174/092986712803988811. PMID 22856655.
- ↑ Connors NJ, Hoffman RS (November 2013). "Experimental treatments for cocaine toxicity: a difficult transition to the bedside". The Journal of Pharmacology and Experimental Therapeutics. 347 (2): 251–7. doi:10.1124/jpet.113.206383. PMID 23978563.
- ↑ Harper SJ, Jones NS (October 2006). "Cocaine: what role does it have in current ENT practice? A review of the current literature". The Journal of Laryngology and Otology. 120 (10): 808–11. doi:10.1017/s0022215106001459. PMID 16848922.
- ↑ Dwyer C, Sowerby L, Rotenberg BW (August 2016). "Is cocaine a safe topical agent for use during endoscopic sinus surgery?". The Laryngoscope (Review). 126 (8): 1721–3. doi:10.1002/lary.25836. PMID 27075241.
- ↑ Sordo L, Indave BI, Barrio G, Degenhardt L, de la Fuente L, Bravo MJ (September 2014). "Cocaine use and risk of stroke: a systematic review". Drug and Alcohol Dependence. 142: 1–13. doi:10.1016/j.drugalcdep.2014.06.041. PMID 25066468.
- ↑ Goldstein RA, DesLauriers C, Burda AM (January 2009). "Cocaine: history, social implications, and toxicity--a review". Disease-A-Month. 55 (1): 6–38. doi:10.1016/j.disamonth.2008.10.002. PMID 19081448.
- ↑ Sharma HS, Muresanu D, Sharma A, Patnaik R (2009). "Cocaine-induced breakdown of the blood-brain barrier and neurotoxicity". International Review of Neurobiology. 88: 297–334. doi:10.1016/S0074-7742(09)88011-2. ISBN 978-0-12-374504-0. PMID 19897082.
- ↑ Karch SB (2009). Karch's pathology of drug abuse (4 ed.). Boca Raton: CRC Press. p. 70. ISBN 978-0-8493-7881-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2017.
- ↑ Narcotic Drugs 2014 (PDF). International Narcotics Control Board. 2015. p. 21. ISBN 9789210481571. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2 June 2015.
- ↑ Karila L, Zarmdini R, Petit A, Lafaye G, Lowenstein W, Reynaud M (January 2014). "[Cocaine addiction: current data for the clinician]". Presse Médicale. 43 (1): 9–17. doi:10.1016/j.lpm.2013.01.069. PMID 23727012.
- ↑ https://tna.mcot.net/social-484964
- ↑ GBD 2013 Mortality Causes of Death Collaborators (January 2015). "Global, regional, and national age-sex specific all-cause and cause-specific mortality for 240 causes of death, 1990-2013: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2013". Lancet. 385 (9963): 117–71. doi:10.1016/S0140-6736(14)61682-2. PMC 4340604. PMID 25530442.
{{cite journal}}
:|author1=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ Room R, Reuter P (January 2012). "How well do international drug conventions protect public health?". Lancet. 379 (9810): 84–91. doi:10.1016/s0140-6736(11)61423-2. PMID 22225673.
The international treaties have also constrained national policy experimentation because they require nation states to criminalise drug use