นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์

นายกรัฐมนตรีแห่งนิวซีแลนด์ (อังกฤษ: Prime Minister of New Zealand, มาวรี: Te pirimia o Aotearoa) เป็นหัวหน้ารัฐบาลของประเทศนิวซีแลนด์ ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบันคือ คริสโตเฟอร์ ลุกซัน หัวหน้าพรรคแห่งชาตินิวซีแลนด์ ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566[2][3]

นายกรัฐมนตรี
แห่งนิวซีแลนด์
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
คริสโตเฟอร์ ลักซัน

ตั้งแต่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
การเรียกขานฯพณฯ
เดอะไรต์ออนะระเบิล
สมาชิกของรัฐสภา
คณะรัฐมนตรี
สภาบริหาร
รายงานต่อสภาผู้แทนราษฎร
จวนพรีเมียร์เฮาส์ เวลลิงตัน
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์
โดยผู้สำเร็จราชการแห่งนิวซีแลนด์
วาระตามพระราชอัธยาศัย
(โดยธรรมเนียมว่ายังได้รับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎร)
ผู้ประเดิมตำแหน่งเฮนรี ซีเวลล์
(ในตำแหน่งเลขาธิการอาณานิคม)
สถาปนา7 พฤษภาคม ค.ศ. 1856
เงินตอบแทน471,049 ดอลล่านิวซีแลนด์[1]

นายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็นรัฐมนตรีที่มีอันดับอาวุโสสูงสุด โดยเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี แบ่งหน้าที่รับผิดชอบต่าง ๆ ให้กับรัฐมนตรีต่าง ๆ ในรัฐบาล เป็นโฆษกของรัฐบาล และทั้งยังถวายคำเสนอแนะต่อพระมหากษัตริย์หรือผู้แทนพระองค์ซึ่งได้แก่ ผู้สำเร็จราชการ นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีรับผิดชอบโดยตรงต่อกรมนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี (Department of the Prime Minister and Cabinet)

ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมีขึ้นมาจากจารีตรัฐธรรมนูญตั้งแต่ในอดีตตั้งแต่สมัยที่นิวซีแลนด์ยังเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร ตามจารีตรัฐธรรมนูญบัญญัติให้ผู้สำเร็จราชการนั้นจะต้องเลือกบุคคลใดเป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งบุคคลนั้นจะต้องได้รับการสนับสนุนและความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งโดยปกติแล้วคือผู้นำรัฐสภาที่มาจากพรรคการเมืองที่มีจำนวนที่นั่งมากที่สุดในสภาผู้แทนราษฎร นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อผู้สำเร็จราชการ สภาผู้แทนราษฎร พรรคการเมือง และการเลือกตั้งของประเทศ

เริ่มแรกนั้นตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลถูกเรียกว่า "เลขาธิการอาณานิคม" (Colonial secretary) หรือ "มุขมนตรี" (First minister) ซึ่งต่อมาถูกเปลี่ยนในปี ค.ศ. 1869 เป็น "นายกรัฐมนตรี" โดยใช้ภาษาอังกฤษว่า "Premier" กว่า 30 ปี ซึ่งต่อมาเปลี่ยนมาใช้คำว่า "Prime minister" อย่างลำลองในปี ค.ศ. 1901 ในสมัยของริชาร์ด เซดดอน ต่อมาใน ค.ศ. 1907 ในการออกปฏิญญานิวซีแลนด์เพื่อเป็นประเทศในเครือจักรภพ ได้ใช้เรียกตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการว่า "Prime minister" ในภาษาเมารี ยังใช้เรียกคำเดิมคือ pirimia ที่มาจาก "Premier" อยู่ดังเดิม[4] นายกรัฐมนตรีแห่งนิวซีแลนด์นั้นจะได้รับการเรียกเป็น "เดอะไรต์ออนะระเบิล" (อังกฤษ: The right honourable, Rt Hon.) ซึ่งแปลว่า "ผู้ทรงเกียรติมาก" โดยถือเป็นสิทธิพิเศษตลอดชีพ[5]

ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลขยายออกไป ไม่สามารถควบคุมความเชื่อมั่นของสภาได้อีกต่อไป ไม่ว่าจะโดยการสูญเสียคะแนนเสียงไว้วางใจหรือเป็นผลมาจากการเลือกตั้ง อนุสัญญากำหนดว่าพวกเขาควรยื่นคำลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เนื่องจากพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญปี 1986 กำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปทุก ๆ สามปี นี่เป็นระยะเวลาสูงสุดที่นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งได้โดยไม่ต้องต่ออายุอาณัติของตน[6]

อ้างอิง แก้

  1. "Where Jacinda Ardern ranks among highest-paid world leaders". Newshub (ภาษาอังกฤษ). 22 April 2019. สืบค้นเมื่อ 10 February 2020.
  2. "Green Party ratifies confidence and supply deal with Labour". The New Zealand Herald. 19 October 2017. สืบค้นเมื่อ 24 October 2017.
  3. "The Governor-General's role in a General Election" (Press release). The Governor-General of New Zealand.
  4. Moorfield, John C (บ.ก.), "Pirimia", Te Aka Online Māori Dictionary, Pearson, สืบค้นเมื่อ 16 November 2018
  5. "The Right Honourable" (ภาษาอังกฤษ). Department of the Prime Minister and Cabinet. สืบค้นเมื่อ 13 October 2012.
  6. ""Term of Parliament," Section 17 of the Constitution Act 1986". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 ตุลาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2014.