นายกรัฐมนตรีรัสเซีย

ประธานรัฐบาลแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย (รัสเซีย: Председатель Правительства Российской Федерации) หรือตามบริบทสากลหมายถึง นายกรัฐมนตรี (Премьер-министр) เป็นตำแหน่งที่ทรงอำนาจเป็นอันดับสองของสหพันธรัฐรัสเซียรองจากประธานาธิบดี ซึ่งได้บัญญัติไว้ในมาตรา 24 แห่งรัฐธรรมนูญสหพันธรัฐ นายกรัฐมนตรีรับผิดชอบในด้านบริหารรัฐกิจให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและคำสั่งประธานาธิบดี เสนอชื่อคณะรัฐมนตรีและเสนอชื่อเพื่อแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงให้ประธานาธิบดีพิจารณาแต่งตั้ง ดูแลกิจการภายในประเทศ ลงนามในกฤษฎีกาต่าง ๆ มอบหมายหน้าที่ให้แก่คณะรัฐบาล และโดยตำแหน่งแล้ว นายกรัฐมนตรียังเป็นสมาชิกสภาความมั่นคง, สมาชิกคณะผู้นำรัฐบาลในเครือรัฐเอกราช, สมาชิกคณะรัฐสูงสุดของรัฐสหภาพรัสเซียและเบลารุส, สมาชิกสภาประชาคมเศรษฐกิจยูเรเซีย

ประธานรัฐบาลแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย
Председатель Правительства Российской Федерации  (รัสเซีย)
ตรารัฐบาลรัสเซีย
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
มีฮาอิล มีชุสติน
ตั้งแต่ 16 มกราคม ค.ศ. 2020
คณะรัฐมนตรีรัสเซีย
รัฐบาลรัสเซีย
สมาชิกของ
รายงานต่อ
ที่ว่าการทำเนียบขาว มอสโก
ผู้เสนอชื่อประธานาธิบดี
ผู้แต่งตั้งประธานาธิบดี
(ขึ้นอยู่กับการรับรองของสภาดูมา)
วาระไม่มีระยะที่กำหนด
ตราสารจัดตั้งรัฐธรรมนูญรัสเซีย
ตำแหน่งก่อนหน้าประธานคณะรัฐมนตรีแห่งสหภาพโซเวียต (1923–1991)
สถาปนา
  • 6 พฤศจิกายน 1905; 118 ปีก่อน (1905-11-06) (รูปแบบเดิม)
  • 12 ธันวาคม 1993; 30 ปีก่อน (1993-12-12) (รูปแบบปัจจุบัน)
คนแรกเซียร์เกย์ วิตเต
รอง
เงินตอบแทน105,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี[1]
เว็บไซต์premier.gov.ru แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ

นายกรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีโดยการยินยอมของรัฐสภา ต่างจากหลายประเทศที่แต่งตั้งโดยตรงจากรัฐสภา นายกรัฐมนตรีไม่มีวาระการดำรงตำแหน่ง และต้องเป็นผู้ถือสัญชาติรัสเซียเพียงสัญชาติเดียวเท่านั้น ประธานาธิบดีจะต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีภายในสองสัปดาห์หลังจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีว่างลงให้รัฐสภาให้ความยินยอม หากสภาไม่ให้ความยินยอมประธานาธิบดีต้องเสนอชื่อบุคคลใหม่ภายในหนึ่งสัปดาห์ โดยที่รัฐสภาสามารถไม่ให้ความยินยอมได้ไม่เกินสามครั้ง หากครบสามครั้งแล้วประธานาธิบดีสามารถแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีโดยปราศจากความยินยอมจากสภาได้ทันที สภาไม่มีอำนาจใด ๆ ที่จะถอดถอนตำแหน่งนี้ได้จนกว่าจะเข้าสู่หกเดือนสุดท้ายของวาระประธานาธิบดี ยกเว้นในยามสงครามหรือภาวะฉุกเฉิน รัฐสภาอาจเสนอญัตติให้ถอดถอนนายกรัฐมนตรีได้

รัฐสภาของรัสเซียมีการลงมติขอคำยินยอมแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีไป 17 ครั้ง ซึ่งสภาลงมติยินยอมไป 12 ครั้ง ไม่ยินยอมไป 5 ครั้ง

อ้างอิง

แก้
  1. "Зарплаты президентов - Новости Таджикистана ASIA-Plus". news.tj. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-03.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้