ธงชาติสหพันธรัฐรัสเซีย มีลักษณะเป็นธงสามสี รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในแบ่งเป็น 3 แถบ ความกว้างเท่ากัน เรียงเป็นสีขาว-น้ำเงิน-แดง จากบนลงล่างตามลำดับ ธงนี้เริ่มใช้ครั้งแรกเป็นธงสำหรับเรือค้าขายและเรือรบ (ธงนาวี) และได้ประกาศใช้เป็นธงอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2439 มีชื่อว่า "Триколор" หรือ "Trikolor" แปลว่า ธงสามสี กล่าวกันว่า แบบของธงที่ใช้อยู่ในทุกวันนี้มีต้นแบบมาจากธงชาติเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นต้นเค้าของธงสามสีแบบต่างๆ ในโลก


ธงชาติรัสเซีย
ชื่ออื่น รัสเซีย: "Триколор"
(ธงไตรรงค์)
การใช้ ธงชาติ
สัดส่วนธง 2:3
ประกาศใช้ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1993 (เริ่มบังคับใช้จริงตั้งแต่ 20 มกราคม ค.ศ. 1705)
ลักษณะ ธงสามสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งเป็นแถบสีขาว-น้ำเงิน-แดง ตามแนวนอน แต่ละแถบความกว้างเท่ากัน[1]
ธงชาติฯในรูปแบบอื่น
ชื่ออื่น Андреевский флаг
Andreyevsky flag
ธงเซนต์แอนดรูว์
การใช้ ธงนาวี
ประกาศใช้ ค.ศ. 1991 (เริ่มบังคับใช้จริงตั้งแต่ ค.ศ. 1712)
ลักษณะ ธงพื้นขาว มีกากบาททแยงสีน้ำเงิน

ธงนี้ได้ใช้เป็นธงของรัฐบาลรัสเซียเฉพาะกาล หลังการล้มล้างราชบัลลังก์พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ในเหตุการณ์การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 (พ.ศ. 2460) จนถึงเหตุการณ์การปฏิวัติเดือนตุลาคมโดยพรรคบอลเชวิคในปีเดียวกัน ซึ่งนำไปสู่การปกครองรัสเซียโดยพรรคบอลเชวิค และการสถาปนาสหภาพโซเวียต รัฐคอมมิวนิสต์แห่งแรกของโลก ในช่วงเวลาดังกล่าวธงชาติรัสเซียแบบสามสีได้ถูกแทนที่ด้วยธงชาติแบบคอมมิวนิสต์ จนกระทั่งก่อนหน้าการล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) เพียงเล็กน้อย ธงสามสีจึงได้ถูกนำมาใช้เป็นธงชาติรัสเซียอีกครั้ง เพื่อเป็นธงชาติของสหพันธรัฐรัสเซียที่ก่อตั้งขึ้นใหม่

แบบของธงชาติรัสเซียที่ใช้อยู่ในธงวันนี้มีลักษณะแตกต่างจากธงที่เริ่มใช้ใน ค.ศ. 1991 เล็กน้อย จากการแก้ไขเพิ่มเติมใน ค.ศ. 1993 (พ.ศ. 2536) และรับรองให้ใช้เป็นธงชาติอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่ ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) เป็นต้นมา โดยสีของธงนี้จัดเป็นสีพันธมิตรสลาฟ ซึ่งประกอบด้วยสีแดง-น้ำเงิน-ขาว ปรากฏอยู่ในธงชาติของกลุ่มประเทศสลาฟหลายประเทศ

ความหมายและที่มาของสีธงชาติ แก้

แบบธงสามสีของรัสเซีย
แบบธงสีตราแผ่นดิน สมัยจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 2
แบบธง พ.ศ. 2442
แบบธง พ.ศ. 2536

ทฤษฎีเกี่ยวกับที่มาและเหตุผลของการเลือกใช้สีขาว สีน้ำเงิน และ สีแดง เป็นสีธงชาติรัสเซียนั้นมีอยู่หลายข้อ แต่ปัจจุบันยังไม่มีทฤษฎีใดที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป ทั้งในกฎหมายธงของรัสเซียเองก็มิได้ระบุความหมายของสีธงชาติอย่างเป็นทางการไว้ด้วย

กล่าวกันว่าสีทั้งสามนี้มาจากตราอาร์มของแกรนด์ดุชชีแห่งมอสโก (Grand Duchy of Moscow - ราชรัฐมอสโก) ซึ่งเป็นภาพนักบุญเซนต์จอร์จขี่ม้า โดยสวมเกราะสีขาวหรือสีเงิน สวมผ้าคลุมสีฟ้า และถือโล่สีฟ้า แหล่งข้อมูลอีกแห่งหนึ่งอ้างว่าทั้งสามสีนี้มาจากผ้าคลุมของพระแม่มารี (Blessed Virgin Mary) ซึ่งถือกันว่าเป็นนักบุญผู้คุ้มครองประเทศรัสเซีย ตามความเชื่อในศาสนาคริสต์นิกายออโธดอกซ์

นอกจากนี้ยังมีการตีความว่า สีทั้งสามในธงชาติแสดงถึงการจัดลำดับชั้นทางสังคมในสมัยจักรวรรดิรัสเซีย โดย สีขาวหมายถึงพระเจ้า สีน้ำเงินหมายถึงพระเจ้าซาร์ (จักรพรรดิ) สีแดงหมายถึงพลเมืองทั้งหมด หรือในอีกทฤษฎีหนึ่ง ซึ่งแพร่หลายโดยทั่วไป เป็นการตีความว่าสีทั้งสามหมายถึงดินแดนรัสเซียส่วนต่างๆ กล่าวคือ สีขาวหมายถึงเบลารุส (แปลว่า รัสเซียขาว) สีน้ำเงินหมายถึงยูเครน หรือในอีกชื่อหนึ่งคือ มาโลรอสเซีย (แปลว่า รัสเซียน้อย) และสีแดง หมายถึงดินแดนรัสเซียใหญ่ (Great Russia)

การนิยามความหมายที่ต่างออกไปอีกแบบหนึ่ง ระบุไว้ว่า สีขาวหมายถึงอนาคตอันรุ่งโรจน์ของรัสเซียใหม่ สีน้ำเงินหมายถึงท้องฟ้า และสีแดงหมายถึงลัทธิคอมมิวนิสต์และอดีตอันโหดร้ายของรัสเซีย

ในประเทศฟินแลนด์ส่วนที่พูดภาษาสวีเดน สีของธงชาติรัสเซียปัจจุบันถูกตีความถึงประวัติศาสตร์ฟินแลนด์ในปี ค.ศ. 1809 (พ.ศ. 2352) ซึ่งเป็นช่วงที่ฟินแลนด์ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ความหมายโดยรวมคือการเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย

 
เครื่องหมายอากาศยานของกองทัพอากาศจักรวรรดิรัสเซีย.
โทนสี สีขาว สีน้ำเงิน สีแดง
Pantone White 286C 485C
Pantone White 293C 485C
RGB 255-255-255 0-57-166[2] 213-43-30[3]
HTML #FFFFFF #0039A6 #D52B1E

ธงชาติแบบที่แตกต่างออกไป แก้

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ได้มีพระบรมราชานุญาตให้เพิ่มรูปตราแผ่นดินในกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีเหลือง ที่มุมบนด้านคันธงของธงชาติ เพื่อใช้เป็นธงชาติสำหรับพลเรือนใช้โดยทั่วไป อย่างไรก็ตาม ธงนี้ไม่เคยมีการรับรองให้ใช้ได้อย่างเป็นทางการ

เมื่อพรรคบอลเชวิคล้มล้างการปกครองระบอบกษัตริย์ใน ค.ศ. 1917 (พ.ศ. 2460) ธงชาติในแบบธงสามสีได้ถูกยกเลิก และมีการคิดแบบธงขึ้นมาใหม่สำหรับใช้ในสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย ซึ่งเป็นสาธารณรัฐในความปกครองของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต ใน ค.ศ. 1954 (พ.ศ. 2497) และได้ใช้ตลอดมาจนถึงการล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) โดยธงชาติของสาธารณสังคมนิยมโซเวียตทั้งหมด มีการดัดแปลงลักษณะบางประการให้ต่างไปจากธงชาติสหภาพโซเวียต สำหรับกรณีสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย (ย่อในภาษาอังกฤษว่า Russia SFSR หรือ RSFSR) เป็นการดัดแปลงโดยเพิ่มแถบแนวตั้งสีฟ้าไว้ที่ด้านติดคันธง ส่วนแบบธงที่ใช้ก่อนหน้านั้น ลักษณะเป็นธงแดงมีอักษรย่อเขียนด้วยอักษรซีริลลิก ถอดเป็นอักษรโรมันได้ว่า "RSFSR" ในกรอบสี่เหลี่ยมสีทอง พื้นสีแดง ที่มุมธงด้านคันธง

ธงสามสี ขาว-น้ำเงิน-แดง ได้มีการนำกลับมาใช้เป็นธงชาติรัสเซียอีกครั้งเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2534 ซึ่งในเวลาต่อมารัฐบาลรัสเซียได้ถือเอาวันที่ 22 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันธงชาติ (Flag day)

สำหรับธงประจำตำแหน่งประธานาธิบดี (รัสเซีย: Штандарт Президента) ซึ่งเป็นธงสำหรับประมุขของประเทศในปัจจุบัน ใช้ธงชาติรัสเซียรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กลางธงมีรูปนกอินทรีสองหัวสวมมงกุฎ มีโล่สีแดงรูปนักรบขี่ม้าขาวที่กลางลำตัว ซึ่งเป็นตราแผ่นดินของรัสเซียที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

พัฒนาการ แก้

จักรวรรดิรัสเซีย แก้

รัสเซียโซเวียต แก้

สหภาพโซเวียต แก้

อ้างอิง แก้

  1. President’s Order No. 2126 of December 11, 1993.
  2. Pantone 286 C
  3. Pantone 485 C

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้