นายกรัฐมนตรีสวีเดน

นายกรัฐมนตรีสวีเดน (สวีเดน: statsminister หรือแปลตรงตัวว่า รัฐมนตรีแห่งรัฐ) คือผู้นำฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) แห่งราชอาณาจักรสวีเดน ซึ่งก่อนหน้าการสถาปนาตำแหน่งนี้ในปี พ.ศ. 2419 สวีเดนมีผู้นำฝ่ายบริหารดำรงตำแหน่งเดียวกับประมุขแห่งรัฐ คือพระมหากษัตริย์แห่งสวีเดน ผู้มีพระราชอำนาจในการบริหารแผ่นดินแต่เพียงผู้เดียว โดยมีนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศก็คือ หลุยส์ ยาราร์ด เดอ ยาร์ ผู้วางรากฐานระบบรัฐสภาแบบสองสภาของสวีเดนในปี พ.ศ. 2409 ซึ่งมาแทนที่ระบบรัฐสภาเก่าที่มีชื่อว่า สภาฐานันดร (Riksens ständer)

นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรสวีเดน
Sveriges statsminister
ธงชาติสวีเดน
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
อุล์ฟ คริสเตอช็อน
ตั้งแต่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2565
การเรียกขานเอ็กเซิลเลนซี
ใช้ในสวีเดนจนกระทั่งคริสต์ทศวรรษ 1970 ที่ล้มเลิกไป แต่ในทางการทูตยังคงใช้สำหรับการเขียนเอกสารมาจนถึงปัจจุบัน[1]
สมาชิกของรัฐบาลสวีเดน
คณะมนตรียุโรป
รายงานต่อรัฐสภาสวีเดน
จวนบ้านซอเกสกา
ที่ว่าการรูเซินบอด สต็อกโฮล์ม
 สวีเดน
ผู้เสนอชื่อโฆษกประจำรัฐสภาสวีเดน
ภายหลังการหารือร่วมกับผู้นำพรรคการเมืองในรัฐสภา
ผู้แต่งตั้งโฆษกประจำรัฐสภาสวีเดน
ภายหลังการลงมติของรัฐสภาสวีเดน
วาระ4 ปี; ไม่จำกัดวาระ
ดำรงตำแหน่งตราบเท่าที่เสียงส่วนมากในรัฐสภาให้การสนับสนุน
ตราสารจัดตั้งกฎหมายปกครองสวีเดน พ.ศ. 2517
ผู้ประเดิมตำแหน่งหลุยส์ ยาราร์ด เดอ ยาร์
สถาปนา20 มีนาคม พ.ศ. 2419
รองรองนายกรัฐมนตรีสวีเดน
เงินตอบแทน1,872,000 โครนาต่อปี[2]
204,411 ยูโร, 279,653 ดอลลาร์ หรือ 163,123 ปอนด์
(1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557– 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558)
เว็บไซต์www.sweden.gov.se

ประวัติศาสตร์

แก้

ก่อนปี พ.ศ. 2419 เมื่อมีการสถาปนาสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้น สวีเดนไม่มีผู้นำรัฐบาลแยกเป็นเอกเทศจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์ ซึ่งในประวัติศาสตร์ปรากฏว่าตำแหน่งองคมนตรีผู้มีอาวุโสสูงสุดในบรรดาองคมนตรีทั้งหมด (ในช่วงระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตำแหน่งดังกล่าวก็คืออัครมหาเสนาบดี; Lord High Chancellor) มีลักษณะคล้ายคลึงกับตำแหน่งผู้นำคณะรัฐบาลอยู่แล้ว โดยเฉพาะในช่วงยุคแห่งเสรีภาพ ตั้งแต่ พ.ศ. 2261 ถึง พ.ศ. 2315 ที่พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ถูกลดทอนลงไปมาก ส่วนตำแหน่งประธานองคมนตรีสภาคือตำแหน่งทางการเมืองที่ทรงอำนาจมากที่สุดในขณะนั้น

หลังจากการประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยกลไกของรัฐบาล พ.ศ. 2352 (Instrument of Government of 1809) ได้มีการจัดตั้งตำแหน่งขึ้นมาสองตำแหน่งคือ นายกรัฐมนตรีว่าการยุติธรรม (สวีเดน: justitiestatsminister) และ นายกรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศ (สวีเดน: utrikesstatsminister) โดยที่ตำแหน่งทั้งสองมีอำนาจจำกัดอยู่แค่งานราชการตามกระทรวงที่ตนรับผิดชอบ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2419 ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทั้งสองที่มีอยู่เดิมจึงถูกแปลงไปเป็นตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยที่การเรียกขานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังคงใช้คำว่า เอ็กเซิลเลนซี (Excellency) ต่อไปโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวในรัฐบาลสวีเดนที่ใช้คำเรียกขานเช่นนี้ร่วมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[3][4]

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2460 เป็นต้นมา สวีเดนนำหลักการด้านรัฐสภามาบังคับใช้ ส่งผลให้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะที่ปรึกษาแห่งรัฐ (Councillors of State; ซึ่งเทียบเท่ากับตำแหน่งคณะรัฐมนตรี) ตามพระราชอัธยาศัยถูกยกเลิก และกลไกการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจึงเปลี่ยนมาเป็นการลงคะแนนสนับสนุนโดยสมาชิกรัฐสภาแทน ทั้งนี้เมื่อเวลาล่วงเลยไป ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้กลายมาเป็นตำแหน่งซึ่งใช้พระราชอำนาจแทนพระมหากษัตริย์ในทางพฤตินัย อย่างไรก็ตามคำที่ใช้เรียกรัฐบาลในช่วงเวลานี้ยังคงเป็นคำว่า Kungl. Maj:t ซึ่งเป็นคำย่อของ Kunglig Majestät แปลว่า พระเจ้าอยู่หัว ในภาษาสวีเดน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 อำนาจของฝ่ายบริหารมีกลไกการบังคับใช้ผ่านสภาองคมนตรีหรือ คิงอินเคาน์ซิล (คล้ายคลึงกับกลไก ควีนอินเคาน์ซิล ของเครือจักรภพ) การปฏิรูปรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ยังได้มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่ากลไกของรัฐบาลฉบับใหม่ ซึ่งได้มีการสถาปนาระบบรัฐสภาในทางนิตินัยและคณะรัฐมนตรีขึ้น โดยที่อำนาจอธิปไตยตามรัฐธรรมนูญไม่ได้บังคับใช้ผ่านพระมหากษัตริย์อีกต่อไป

รายนามนายกรัฐมนตรี

แก้

ภาพ

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. [1] เก็บถาวร 2013-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Protocol and Liaison Service, United Nations.
  2. "Statsrådsarvoden och avgångsersättningar (Swedish)". Regeringen.se. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-25. สืบค้นเมื่อ 2015-11-06.
  3. Sveriges statskalender 1915, runeberg.org. Retrieved on June 12, 2013.(sv)
  4. Sveriges statskalender 1964, runeberg.org. Retrieved on June 12, 2013.(sv)
บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้