นเรนทระ โมที
นเรนทระ ทาโมทรทาส โมที (ฮินดี: नरेन्द्र दामोदरदास मोदी; อักษรโรมัน: Narendra Damodardas Modi; เกิด 17 กันยายน 1950) เป็นนักการเมืองชาวอินเดียซึ่งเป็นประธานมนตรีอินเดียตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2014 หลังจากที่พรรคภารตียชนตา (भारतीय जनता पार्टी; Bharatiya Janata Party) ที่เขาเป็นหัวหน้า ชนะการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อต้นปี 2014[1][2][3]
นเรนทระ โมที Narendra Modi | |
---|---|
ภาพถ่ายทางการ ค.ศ. 2022 | |
ประธานมนตรีอินเดียคนที่ 14 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 26 พฤษภาคม 2014 | |
ประธานาธิบดี | ประณับ มุเคอร์จี ราม นาถ โกวินท์ เทราปที มุรมู |
ก่อนหน้า | มันโมหัน สิงห์ |
มุขยมนตรีรัฐคุชราต | |
ดำรงตำแหน่ง 7 ตุลาคม 2001 – 21 พฤษภาคม 2014 | |
ผู้ว่าการ | |
ก่อนหน้า | เกศุภาอี ปเฏล |
ถัดไป | Anandiben Patel |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | นเรนทระ ทาโมทรทาส โมที 17 กันยายน ค.ศ. 1950 วฑนคร ประเทศอินเดีย |
ศาสนา | ฮินดู |
พรรคการเมือง | พรรคภารตียชนตา |
คู่สมรส | ชโสทาเพน จิมันลาล (Jashodaben Chimanlal) |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยคุชราต มหาวิทยาลัยเดลี |
ลายมือชื่อ | |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์หลัก |
ในเดือนตุลาคม 2001 เกศุภาอี ปเฏล (केशुभाई पटेल; Keshubhai Patel) ลาออกจากตำแหน่งมุขยมนตรี (मुख्यमंत्री; Chief Minister) คนที่ 13 แห่งรัฐคุชราต โมทีจึงได้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวมาจนลาออกไปเป็นประธานมนตรี นับได้ 4 สมัย เขาจึงเป็นมุขยมนตรีคุชราตซึ่งอยู่ในตำแหน่งยาวนานที่สุด
โมทีเคยเป็นกุนซือคนสำคัญของพรรคภารตียชนตาซึ่งวางยุทธศาสตร์ให้พรรคสามารถชนะการเลือกตั้งระดับรัฐในปี 1995 และ 1998 ทั้งมีบทบาทหลักในการหาเสียงเลือกตั้งระดับชาติในปี 2009 ซึ่งสหพันธมิตรหัวก้าวหน้า (संयुक्त प्रगतिशील गठबंधन; United Progressive Alliance) กลุ่มการเมืองที่มีพรรคครองเกรสแห่งชาติอินเดีย (भारतीय राष्ट्रीय कांग्रेस; Indian National Congress) เป็นผู้นำ ชนะ โมทียังเป็นสมาชิกราษฏรียสวยัมเสวกสังฆ์ (राष्ट्रीय स्वयंसेवक संघ; Rashtriya Swayamsevak Sangh) กลุ่มคลั่งชาติในประเทศอินเดีย นักวิชาการและสื่อมวลชนอินเดียถือว่า เขาเป็นผู้คลั่งชาติฮินดู ซึ่งตัวเขาเองก็ยอมรับว่าเขาเป็นนักชาตินิยมฮินดู[4][5][6][7]
แม้โมทีได้รับคำชื่นชมเพราะนโยบายเศรษฐกิจของเขาช่วยให้คุชราตมีบรรยายที่อำนวยให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตขึ้นอย่างมาก[8] แต่เขาก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในบ้านเกิดเมืองนอนและในต่างแดน[9][10][11][12] เกี่ยวกับการจลาจลในคุชราตเมื่อปี 2002 ระหว่างที่เขาปกครองรัฐคุชราต[12][13] และความล้มเหลวในการทำให้การพัฒนามนุษย์ในรัฐบรรลุผลในทางสร้างสรรค์[14]
อ้างอิง
แก้- ↑ "India's Modi on course to become prime minister". Reuters. 15 May 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-26. สืบค้นเมื่อ 16 May 2014.
- ↑ "Modi wins India's election with a landslide, early results show". Reuters. 16 May 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-26. สืบค้นเมื่อ 16 May 2014.
- ↑ http://www.ndtv.com/elections/article/cheat-sheet/election-results-2014-bjp-sweeps-narendra-modi-wins-both-seats-525311?curl=1400224934
- ↑ Harris, Gardiner (13 September 2013). "Divisive Nationalist to Lead Opposition in Indian Vote". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 15 September 2013.
- ↑ "Yes, I am a Hindu nationalist: Narendra Modi". Indian Express. 13 July 2013. สืบค้นเมื่อ 13 July 2013.
Modi said he described himself as a Hindu nationalist because he was born Hindu: "I am nationalist. I'm patriotic. Nothing is wrong. I am a born Hindu. Nothing is wrong. So I'm a Hindu nationalist so yes, you can say I'm a Hindu nationalist because I'm a born Hindu.
- ↑ Menon, Kalyani Devaki (2012). Everyday Nationalism: Women of the Hindu Right in India. University of Pennsylvania Press. p. 26. ISBN 978-0812222340.
Yet, months after this violent pogrom against Muslims, the Hindu nationalist chief minister of Gujarat, Narendra Modi, went to the polls and won a resounding victory
- ↑ Mishra, Pankaj (April 2011). Visweswaran, Kamala (บ.ก.). Perspectives on Modern South Asia: A Reader in Culture, History, and Representation. Wiley-Blackwell. p. 188. ISBN 978-1405100625.
The chief minister of Gujarat, a young up-and-coming leader of the Hindu nationalists called Narendra Modi, quoted Isaac Newton to explain the killings of Muslims. “Every action”, he said, “has an equal and opposite reaction.”
- ↑ Joseph, Manu (15 February 2012). "Shaking Off the Horror of the Past in India". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 10 October 2012.
- ↑ Nair, Rupam Jain (12 December 2007). "Edgy Indian state election going down to the wire". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-30. สืบค้นเมื่อ 10 October 2012.
- ↑ Robinson, Simon (11 December 2007). "India's Voters Torn Over Politician". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-24. สืบค้นเมื่อ 10 October 2012.
- ↑ Burke, Jason (28 March 2010). "Gujarat leader Narendra Modi grilled for 10 hours at massacre inquiry". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 10 October 2012.
- ↑ 12.0 12.1 Buncombe, Andrew (19 September 2011). "A rebirth dogged by controversy". The Independent. สืบค้นเมื่อ 10 October 2012.
- ↑ David, Ruth (24 December 2007). "Controversial Gujarati Premier Confirmed in Office". Forbes. สืบค้นเมื่อ 10 October 2012.
- ↑ Jaffrelot, Christophe (June 2013). "Gujarat Elections: The Sub-Text of Modi's 'Hattrick' — High Tech Populism and the 'Neo-middle Class". Studies in Indian Politics. 1.
{{cite journal}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help)
แม่แบบ:กล่องข้อมูล ผู้ดำรงตำแหน่งในการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก