พรรคภารตียชนตา

(เปลี่ยนทางจาก Bharatiya Janata Party)

พรรคภารตียชนตา (ฮินดี: भारतीय जनता पार्टी ภารตีย ชนตา ปารฺตี; อังกฤษ: Bharatiya Janata Party: BJP, แปลว่า พรรคประชาชนอินเดีย) เป็นพรรคการเมืองอินเดียหนึ่งในสองพรรคใหญ่คู่กับพรรคคองเกรสแห่งชาติอินเดีย (Indian National Congress)[40] นับตั้งแต่ ค.ศ. 2014 พรรคนี้เป็นพรรคที่ปกครองประเทศอินเดียภายใต้การนำของนเรนทระ โมที นายกรัฐมนตรีอินเดียที่ยังดำรงตำแหน่งอยู่[41] พรรคภารตียชนตาเป็นกลุ่มการเมืองฝ่ายขวา และมีนโยบายในอดีตที่สะท้อนถึงแนวคิดชาตินิยมฮินดูแบบดั้งเดิม[42][43] โดยมีอุดมการณ์และการจัดระเบียบพรรคที่เชื่อมโยงกับกลุ่มราษฏรียสวยัมเสวกสังฆ์ (RSS) อย่างใกล้ชิด[44] ข้อมูลเมื่อ กุมภาพันธ์ 2022 พรรคภารตียชนตามีสมาชิกในรัฐสภาอินเดียและสภาระดับรัฐมากที่สุด

พรรคภารตียชนตา
ชื่อย่อBJP
ผู้ก่อตั้ง
ประธานJ. P. Nadda[2]
คณะผู้บริหารสูงสุดผู้บริหารระดับชาติ[3]
ประธานในรัฐสภานเรนทระ โมที
(นายกรัฐมนตรี)
ผู้นำในโลกสภานเรนทระ โมที
(ประธานโลกสภา)[4]
ผู้นำในราชยสภาPiyush Goyal
(ประธานราชยสภา)
เหรัญญิกRajesh Agarwal[5]
ก่อตั้ง6 เมษายน 1980 (44 ปีก่อน) (1980-04-06)[6]
แยกจากพรรคชนตา[6]
ก่อนหน้าBharatiya Jana Sangh
(1951–1977)[6]
พรรคชนตา
(1977–1980)[6]
ที่ทำการ6-A, Deen Dayal Upadhyaya Marg,
New Delhi, Delhi, India[7]
หนังสือพิมพ์Kamal Sandesh (อังกฤษและฮินดี)[8]
Kamal Barta (เบงกอล)[9]
สถาบันนโยบายPublic Policy Research Centre[10][11]
ฝ่ายนักเรียนนักศึกษาAkhil Bharatiya Vidyarthi Parishad
(ไม่ทางการ)[12]
ฝ่ายเยาวชนBharatiya Janata Yuva Morcha[13]
ฝ่ายสตรีBJP Mahila Morcha[14]
ปีกแรงงานBharatiya Mazdoor Sangh[15]
ปีกกสิกรBharatiya Kisan Sangh[16]
สมาชิกภาพเพิ่มขึ้น180 ล้านคน (2019)[17]
อุดมการณ์
จุดยืนขวา[24]
กลุ่มระดับสากลสหภาพประชาธิปไตยระหว่างประเทศ[25][26]
สหภาพประชาธิปไตยแห่งเอเชียแปซิฟิก[27]
สี  ซัฟฟรอน[28]
สถานะโดย ECINational Party[29]
พันธมิตรNational Democratic Alliance
(ทั้งอินเดีย)[30]

North-East Democratic Alliance
(อินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ)[31]

United Democratic Alliance
(รัฐนาคาแลนด์)[32]
ที่นั่งในโลกสภา
302 / 543
(ส.ส. 543 ที่นั่ง และว่าง 0 ที่นั่ง)[33]
ที่นั่งในราชยสภา
93 / 245
(ส.ส. 237 ที่นั่ง และว่าง 8 ที่นั่ง)[34][35]
ที่นั่งในสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ
1,383 / 4,036

(3987 MLAs & 49 ว่าง)

(ดูรายการทั้งหมด)
ที่นั่งในState Legislative Councils
167 / 426

(403 MLCs & 23 ว่าง)

(ดูรายการทั้งหมด)
จำนวนรัฐและดินแดนสหภาพที่เป็นรัฐบาล
11 / 28
(28 รัฐ)[36]
1 / 3
(3 UTs)
เว็บไซต์
www.bjp.org แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
สัญลักษณ์การเลือกตั้ง
ดอกบัว
ธงประจำพรรค
การเมืองอินเดีย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคภารตียชนตานั้นมีที่มาจากกลุ่มภารตียชนสังฆ์ (Bharatiya Jana Sangh) ซึ่งศยามา ประสาท มุขัรชี (Syama Prasad Mukherjee) ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1951[45] และหลังการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินใน ค.ศ. 1977 กลุ่มภารตียชนสังฆ์รวมตัวกับกลุ่มการเมืองอื่นอีกหลายกลุ่มเข้าเป็นพรรคชนตา (Janata Party) และเอาชนะพรรคคองเกรสแห่งชาติอินเดียในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 1977 ได้อยู่ในอำนาจสามปี จึงยุบพรรคลงใน ค.ศ. 1980 และสมาชิกบางคนได้หันเหมาก่อตั้งพรรคภารตียชนตาในที่สุด แม้หนทางการเมืองแรกเริ่มไม่ราบเรียบ พรรคภารตียชนตาเริ่มเข้มแข็งขึ้นหลังจากเกิดความเคลื่อนไหวรามชันมภูมิ (Ram Janmabhoomi) ครั้นเมื่อได้ชัยชนะในการเลือกตั้งระดับรัฐ ทั้งมีผลงานดีขึ้นในการเลือกตั้งระดับชาติ พรรคภารตียชนตาก็กลายเป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่สุดในรัฐสภาเมื่อ ค.ศ. 1996 แต่ก็ยังมิอาจครองเสียงข้างมากในสภาล่าง ทั้งรัฐบาลที่จัดตั้งก็อยู่ได้เพียง 13 วัน[46]

เมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไปใน ค.ศ. 1998 กลุ่มการเมืองที่เรียก พันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติ (National Democratic Alliance) ซึ่งมีพรรคภารตียชนตาเป็นผู้นำนั้น สามารถจัดตั้งรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีอฏัล พิหารี วาชเปยี (Atal Bihari Vajpayee) แต่ก็ดำรงอยู่ได้เพียงหนึ่งปี ก็มีการเลือกตั้งใหม่ นายกรัฐมนตรีวาชเปยีสามารถนำรัฐบาลชุดใหม่และอยู่ในตำแหน่งได้ครบวาระ นับเป็นรัฐบาลชุดแรกที่มิได้มาจากพรรคคองเกรสแห่งชาติอินเดียและสามารถอยู่ครบวาระ ครั้นมีการเลือกตั้งทั่วไปใน ค.ศ. 2004 พันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติแพ้พ่ายอย่างมิได้คาดคิด พรรคภารตียชนตาจึงตกเป็นฝ่ายค้านในรัฐสภาถึงสิบปี จนมีการเลือกตั้งทั่วไปใน ค.ศ. 2014 นเรนทระ โมที (Narendra Modi) นำพาพรรคภารตียชนตาไปสู่ชัยชนะอันท่วมท้น และได้เป็นนายกรัฐมนตรีจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติซึ่งเวลานั้นมีสมาชิกเป็นผู้ว่าการรัฐในอินเดียถึง 16 รัฐ นับตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 2022

อุดมการณ์อย่างเป็นทางการของพรรค คือ มนุษยนิยมบริบูรณ์ (integral humanism) ตามที่ทีนทยาล อุปาธยายะ (Deendayal Upadhyaya) กำหนดขึ้นเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1965 พรรคยังสนับสนุนแนวคิดอนุรักษนิยมเชิงสังคม (social conservatism) และมีนโยบายต่างประเทศที่ตั้งอยู่บนหลักชาตินิยม แผนการสำคัญของพรรค คือ การยกเลิกสถานะพิเศษของรัฐชัมมูและกัษมีร์ การสร้างวัดพระรามในเมืองอโยธยา และการบังคับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งที่เป็นระเบียบเดียวกันทั่วประเทศ แต่กิจการเหล่านี้ยังมิได้ริเริ่มในรัฐบาลใด ๆ ของพรรคนับแต่ ค.ศ. 1998 สืบมา เพราะหันไปเน้นนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่อย่างกว้างขวางซึ่งให้ความสำคัญอันดับต้นแก่โลกาภิวัตน์และความเติบโตทางเศรษฐกิจยิ่งกว่าสวัสดิการสังคม[47]

อ้างอิง

แก้
  1. "What you need to know about India's BJP". AlJazeera. 23 May 2019. สืบค้นเมื่อ 16 March 2020.
  2. Ananya Das (20 January 2020). "Jagat Prakash Nadda: BJP's new national president rises through the ranks, faces several challenges". Zee News. สืบค้นเมื่อ 16 March 2020.
  3. "Bharatiya Janata Party Constitution". BJP official website. Bharatiya Janata Party. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 18 November 2017. สืบค้นเมื่อ 15 May 2020.
  4. "BJP announces new parliamentary committee; Modi leader in Lok Sabha, Rajnath his deputy". India Today. 12 June 2019. สืบค้นเมื่อ 16 March 2020.
  5. "Rajesh Agarwal gets BJP treasurer post". United News of India. 27 September 2020. สืบค้นเมื่อ 12 October 2020.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 "BJP's foundation day: Brief history of the achievements and failures of the party". The Indian Express. 6 April 2019. สืบค้นเมื่อ 17 March 2020.
  7. "BJP Gets A New Address; Soul Of New Office Is The Party Worker, Says PM Modi". NDTV.com.
  8. Siddhartha Rai (27 January 2017). "PM Modi goes cashless, buys lifetime subscription of BJP mouthpiece Kamal Sandesh through cheque". India Today. สืบค้นเมื่อ 17 March 2020.
  9. Sengupta, Tamal. "Bengal BJP revamps party mouthpiece before 2018 panchayet elections". The Economic Times.
  10. "Public Policy Research Centre". สืบค้นเมื่อ 22 July 2020.
  11. Express News Service (23 May 2020). "BJP think tank offers online course in governance; babus to impart lessons". newindianexpress.com. New Delhi: The New Indian Express. สืบค้นเมื่อ 14 July 2020.
    • "BJP think tank releases Modi Govt's 100-day report card". dailypioneer.com. New Delhi: The Pioneer. 10 September 2019. สืบค้นเมื่อ 14 July 2020. Public Policy Research Center (PPRC), BJP's think tank, on Monday released a comprehensive report on 100 major decisions and initiatives taken by Modi Government in first 100 days.
  12. "Akhil Bhartiya Vidyarthi Parishad is not the students' wing of BJP: Shreehari Borikar".
  13. "BJP youth wing launches its campaign for party's Lok Sabha poll win". Economic Times. 19 January 2019. สืบค้นเมื่อ 17 March 2020.
  14. "Quota for women in council of ministers among Mahila Morcha's suggestions for BJP poll manifesto". Economic Times. 5 April 2019. สืบค้นเมื่อ 17 March 2020.
  15. Pragya Singh (15 January 2008). "Need to Know BJP-led BMS is biggest labour union in India". live mint. สืบค้นเมื่อ 17 March 2020.
  16. Gupta, Sejuta Das (2019e). Class, Politics, and Agricultural Policies in Post-liberalisation India. Cambridge University Press. pp. 172–173. ISBN 978-1-108-41628-3.
    • McDonnell, Duncan; Cabrera, Luis (2019). "The right-wing populism of India's Bharatiya Janata Party (and why comparativists should care)". Democratization. 26 (3): 484–501. doi:10.1080/13510347.2018.1551885. S2CID 149464986.
    • Özçelik, Ezgi (2019). Right-wing Populist Governments Rhetorical Framing of Economic Inequality : the Cases of BJP in India and AKP in Turkey. Koç University.
  17. Johnson, Matthew; Garnett, Mark; Walker, David M (2017). Conservatism and Ideology. Routledge. pp. 45–50. ISBN 978-1-317-52900-2.
  18. Malik & Singh 1992, pp. 318–336; Banerjee 2005, p. 3118.
  19. Pillalamarri, Akhilesh. "India's Bharatiya Janata Party Joins Union of International Conservative Parties — The Diplomat". The Diplomat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 February 2016.
  20. "Members". idu.org. International Democrat Union. สืบค้นเมื่อ 25 September 2019.
  21. "International Democrat Union » Asia Pacific Democrat Union (APDU)". International Democrat Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 June 2017. สืบค้นเมื่อ 12 June 2017.
  22. Iwanek, Krzysztof (10 September 2018). "Paint It Saffron: The Colors of Indian Political Parties" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 5 July 2021.
  23. Election Commission 2013.
  24. 30.0 30.1 Devesh Kumar (20 May 2014). "BJP + 29 Parties = National Democratic Alliance". NDTV. สืบค้นเมื่อ 17 March 2020.
  25. "BJP seals alliances in Northeast, aims 22 LS seats". The Hindu Business Line. 13 March 2019. สืบค้นเมื่อ 17 March 2020.
  26. Agarwala, Tora (19 September 2021). "Nagaland's new 'Opposition-less' government to be called United Democratic Alliance". The Indian Express. สืบค้นเมื่อ 26 September 2021.
  27. "Party Position pdf" (PDF).
  28. "Alphabetical Party Position in the Rajya Sabha".
  29. "Strengthwise Party Position in the Rajya Sabha". Rajya Sabha. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2017.
  30. "BJP gains back Madhya Pradesh in just 15 months after losing it". India Today. 26 November 2019.
  31. Gyan Varma (15 July 2019). "Meet BL Santhosh, newly appointed general secretary of BJP". live mint. สืบค้นเมื่อ 16 March 2020.
  32. Rajkumar. "सरकार की नीतियों को किसानों तक पहुंचाएगा बीजेपी किसान मोर्चा". m.patrika.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-19. สืบค้นเมื่อ 8 August 2020.
  33. "Facebook accused of boosting far-right BJP in Indian elections". People's World. 17 March 2022. สืบค้นเมื่อ 9 April 2022.
  34. "In Numbers: The Rise of BJP and decline of Congress". The Times of India. 19 May 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2017. สืบค้นเมื่อ 29 June 2017.
  35. "Lok Sabha Election results 2019: EC declares results of all 542 seats, BJP wins 303". Zee News. 25 May 2019. สืบค้นเมื่อ 30 March 2020.
  36. Banerjee 2005, p. 3118.
  37. Malik & Singh 1992, p. 318.
  38. "Men, machinery and mind of RSS behind BJP's poll power punch". Business Standard. 17 March 2019. สืบค้นเมื่อ 18 March 2020.
  39. Swain 2001, p. 60.
  40. Guha 2007, p. 633.
  41. Sen 2005, pp. 251–272.

ข้อมูลอ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้