เสรีนิยมใหม่ (อังกฤษ: neoliberalism) หมายถึง การกำเนิดใหม่ของความคิดที่สัมพันธ์กับเสรีนิยมทางเศรษฐกิจปล่อยให้ทำไปสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในคริสต์ศตวรรษที่ 20[1]: 7  เสรีนิยมใหม่ประกอบด้วยนโยบายเปิดเสรีทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง เช่น การโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชน การรัดเข็มขัดทางการเงิน (fiscal austerity) การลดข้อบังคับ (deregulation) การค้าเสรี[2] และการลดรายจ่ายภาครัฐเพื่อเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในเศรษฐกิจ[10]

คำนี้มีใช้มาตั้งแต่ ค.ศ. 1938 แต่กลายมามีความหมายอย่างในปัจจุบันในคริสต์ทศวรรษ 1970 และ 1980 โดยนักวิชาการสังคมศาสตร์หลายสาขา และนักวิจารณ์ ผู้สนับสนุนนโยบายตลาดเสรีเลี่ยงใช้คำว่า "เสรีนิยมใหม่"[11][12]

นิยามและการใช้คำเปลี่ยนแปลงตามเวลา[4] เดิมทีเป็นปรัชญาเศรษฐกิจซึ่งกำเนิดขึ้นในบรรดานักวิชาการเสรีนิยมยุโรปในคริสต์ทศวรรษ 1930 เป็นความพยายามหา "ทางที่สาม" หรือ "ทางสายกลาง" ระหว่างปรัชญาเสรีนิยมคลาสสิกและการวางแผนสังคมนิยมที่ขัดกัน[13]: 14–15  แรงผลักดันสำหรับความคิดนี้มาจากความปรารถนาเลี่ยงซ้ำรอยความล้มเหลวทางเศรษฐกิจในต้นคริสต์ทศวรรษ 1930 ซึ่งนักเสรีนิยมใหม่ส่วนใหญ่โทษนโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยมคลาสสิก ในอีกหลายทศวรรษให้หลัง การใช้คำ เสรีนิยมใหม่ มักหมายถึงทฤษฎีซึ่งเปลี่ยนแปลงจากลัทธิปล่อยให้ทำไปมากกว่าของเสรีนิยมคลาสสิก และสนับสนุนเศรษฐกิจแบบตลาดภายใต้การชี้นำและกฎรัฐที่เข้มแข็ง เป็นแบบจำลองซึ่งต่อมาเรียก เศรษฐกิจแบบตลาดสังคม (social market economy)

ในคริสต์ทศวรษ 1960 การใช้คำว่า "เสรีนิยมใหม่" เสื่อมลงอย่างหนัก เมื่อมีการนำคำนี้กลับมาใช้อีกในคริสต์ทศวรรษ 1980 โดยเชื่อมโยงกับการปฏิรูปเศรษฐกิจของออกุสโต ปิโนเชต์ (Augusto Pinoche) ในประเทศชิลี การใช้คำนี้ได้เปลี่ยนไป ไม่เพียงแต่คำนี้มีการเชื่อมโยงทางลบซึ่งนักวิจารณ์การปฏิรูปตลาดใช้เป็นหลักแล้ว แต่ยังเปลี่ยนความหมายจากเสรีนิยมแบบสายกลางมาเป็นชุดความคิดหัวรุนแรงและทุนนิยมปล่อยให้ทำไปมากขึ้นด้วย ปัจจุบันนักวิชาการมักใช้คำนี้กับทฤษฎีของนักเศรษฐศาสตร์ ฟรีดริช ฮาเยคและมิลตัน ฟรีดแมน และเจมส์ เอ็ม. บูชาแนน ร่วมกับนักการเมืองและผู้วางแผนนโยบายอย่างมาร์กาเร็ต แทตเชอร์, โรนัลด์ เรแกน และแอลัน กรีนสแพน[4][14] เมื่อความหมายใหม่ของเสรีนิยมใหม่มีการใช้ทั่วไปในบรรดานักวิชาการที่พูดภาษาสเปนแล้ว ก็ได้แพร่สู่การศึกษาเศรษฐกิจการเมืองภาษาอังกฤษด้วย ผลกระทบของวิกฤตการณ์ทั่วโลก ค.ศ. 2008–2009 ยังนำให้มีการศึกษาใหม่ซึ่งวิจารณ์เสรีนิยมใหม่และแสวงทางเลือกการพัฒนา[15]

อ้างอิง แก้

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Haymes
  2. Goldstein, Natalie (2011). Globalization and Free Trade. Infobase Publishing. p. 30. ISBN 978-0-8160-8365-7.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Handbook2
  4. 4.0 4.1 4.2 Taylor C. Boas, Jordan Gans-Morse (June 2009). "Neoliberalism: From New Liberal Philosophy to Anti-Liberal Slogan". Studies in Comparative International Development. 44 (2): 137–61. doi:10.1007/s12116-009-9040-5.
  5. Campbell Jones, Martin Parker, Rene Ten Bos (2005). For Business Ethics. Routledge. ISBN 0415311357. p. 100:
    • "Neoliberalism represents a set of ideas that caught on from the mid to late 1970s, and are famously associated with the economic policies introduced by Margaret Thatcher in the United Kingdom and Ronald Reagan in the United States following their elections in 1979 and 1981. The 'neo' part of neoliberalism indicates that there is something new about it, suggesting that it is an updated version of older ideas about 'liberal economics' which has long argued that markets should be free from intervention by the state. In its simplest version, it reads: markets good, government bad."
  6. Gérard Duménil and Dominique Lévy (2004). Capital Resurgent: Roots of the Neoliberal Revolution. Harvard University Press. ISBN 0674011589 Retrieved 3 November 2014.
  7. Jonathan Arac in Peter A. Hall and Michèle Lamont in Social Resilience in the Neoliberal Era (2013) pp. xvi–xvii
    • The term is generally used by those who oppose it. People do not call themselves neoliberal; instead, they tag their enemies with the term.
  8. Collins English Dictionary – Complete and Unabridged © HarperCollins Publishers 1991, 1994, 1998, 2000, 2003
  9. "Neo-Liberal Ideas". World Health Organization.
  10. [3][4][5][6][7][8][9]
  11. Palley, Thomas I (2004-05-05). "From Keynesianism to Neoliberalism: Shifting Paradigms in Economics". Foreign Policy in Focus. สืบค้นเมื่อ 25 March 2017.
  12. Vincent, Andrew (2009). Modern Political Ideologies. Hoboken, New Jersey: Wiley-Blackwell. p. 339. ISBN 978-1405154956.
  13. Philip Mirowski, Dieter Plehwe, The road from Mont Pèlerin: the making of the neoliberal thought collective, Harvard University Press, 2009, ISBN 0-674-03318-3
  14. Springer, Simon; Birch, Kean; MacLeavy, Julie, บ.ก. (2016). The Handbook of Neoliberalism. Routledge. p. 3. ISBN 978-1138844001.
  15. Pradella, Lucia; Marois, Thomas (2015). Polarising Development: Alternatives to Neoliberalism and the Crisis. United Kingdom: Pluto Press. pp. 1–11. ISBN 978-0745334691.