มุขยมนตรี
มุขยมนตรี (ฮินดี: मुख्यमन्त्री มุขฺยมนฺตฺรี; อังกฤษ: chief minister) เป็นบุคคลซึ่งได้รับเลือกตั้งให้เป็นหัวหน้าผู้บริหารประจำรัฐและดินแดนของสาธารณรัฐอินเดีย แม้รัฐธรรมนูญอินเดียระบุว่า ราชยปาล (ฮินดี: राज्यपाल ราชฺยปาล; อังกฤษ: governor) เป็นหัวหน้าผู้บริหาร แต่ในทางปฏิบัติแล้ว อำนาจบริหารอยู่ที่มุขยมนตรี หน้าที่ของราชยปาลมีเพียงอำนวยการให้พรรคการเมืองที่ได้รับเสียงข้างมากในการเลือกตั้งวิธานสภา (ฮินดี: विधान सभा; อังกฤษ: state legislative assembly) เข้าจัดตั้งมนตรีบริษัท (ฮินดี: मन्त्रिपरिषद् มนฺตฺรีปริษทฺ; อังกฤษ: council of ministers) แล้วราชยปาลจะแต่งตั้งหัวหน้ามนตรีบริษัทนั้นเป็นมุขยมนตรี โดยมุขยมนตรีต้องสาบานตนเข้ารับตำแหน่งต่อหน้าราชยปาล มนตรีบริษัทที่จัดตั้งขึ้นจะรับผิดชอบร่วมกันต่อวิธานสภา มุขยมนตรีได้รับความไว้วางใจจากวิธานสภาชุดใด จะอยู่ในตำแหน่งเท่าอายุของวิธานสภาชุดนั้น แต่ไม่เกิน 5 ปี (เว้นบางรัฐหรือดินแดนที่อยู่ได้ถึง 6 ปี) ทำนองเดียวกับระบบเวสต์มินสเตอร์ และมุขยมนตรีจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันกี่สมัยก็ได้[1]
การได้มา
แก้คุณลักษณะ
แก้รัฐธรรมนูญอินเดียกำหนดว่า มุขยมนตรีต้องมีคุณลักษณะดังนี้ คือ[2]
- เป็นพลเมืองอินเดีย
- เป็นสมาชิกวิธานสภา มิฉะนั้น ต้องได้รับความยินยอมจากราชยปาล
- อายุ 25 ปีขึ้นไป
ผู้ที่มิใช่สมาชิกวิธานสภา และได้รับแต่งตั้งเป็นมุขยมนตรี ต้องได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวิธานสภาภายใน 6 เดือนนับแต่วันแต่งตั้ง มิฉะนั้น พ้นจากตำแหน่งมุขยมนตรี
การเลือกตั้ง
แก้มุขยมนตรีเป็นผู้ได้รับเสียงข้างมากจากวิธานสภาให้ดำรงตำแหน่ง ซึ่งโดยกระบวนการแล้วมีขึ้นด้วยการลงคะแนนเสียงไว้วางใจตามที่ราชยปาลเสนอ
การสาบานตน
แก้เนื่องจากรัฐธรรมนูญกำหนดให้ราชยปาลเป็นผู้แต่งตั้งมุขยมนตรี มุขยมนตรีจึงสาบานตนเข้ารับตำแหน่งต่อหน้าราชยปาลด้วยถ้อยคำดังนี้[3]
|
|
นอกจากนี้ มุขยมนตรียังต้องสาบานว่าจะรักษาความลับของราชการดังนี้[4]
|
|
ค่าตอบแทน
แก้รัฐธรรมนูญแห่งอินเดียให้วิธานสภากำหนดค่าตอบแทนของมุขยมนตรีและมนตรีคนอื่น ๆ[5] ดังนั้น ค่าตอบแทนสำหรับมุขยมนตรีจึงแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Durga Das Basu. Introduction to the Constitution of India. 1960. 20th Edition, 2011 Reprint. pp. 241, 245. LexisNexis Butterworths Wadhwa Nagpur. ISBN 978-81-8038-559-9.
- ↑ Constitution of India, Article 173
- ↑ Constitution of India, Schedule 3, Para 5
- ↑ Constitution of India, Schedule 3, Para 6
- ↑ The Constitution of India, Article 164, Clause 5