ยุทธการที่เยนา–เอาเออร์ชเต็ท

สงครามนโปเลียน

ยุทธการที่เยนา–เอาเออร์ชเต็ท (อังกฤษ: Battle of Jena–Auerstedt) เป็นสองยุทธการที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1806 ในช่วงสงครามนโปเลียน บนที่ราบด้านตะวันตกของแม่น้ำซาเลอ ระหว่างกองทัพของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 กับกองทัพของพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 3 แห่งปรัสเซีย ความปราชัยอย่างขาดลอยของกองทัพปรัสเซียทำให้ราชอาณาจักรปรัสเซียต้องยอมเป็นรัฐบริวารของจักรวรรดิฝรั่งเศส[7]

ยุทธการที่เยนา–เอาเออร์ชเต็ท
ส่วนหนึ่งของ สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่

นโปเลียนตรวจแถวทหารที่ (ตามตำนาน) ตะโกนโจมตีอย่างกระตือรือร้น ("en avant!" - "เดินหน้า!") ในช่วงยุทธการที่เยนา ภาพโดย Horace Vernet ค.ศ. 1836[1]
วันที่14 ตุลาคม ค.ศ. 1806[2]
สถานที่50°55′38″N 11°35′10″E / 50.92722°N 11.58611°E / 50.92722; 11.58611
ผล ฝรั่งเศสชนะ
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
กองทัพใหญ่ยึดครองราชอาณาจักรปรัสเซีย
คู่สงคราม
จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง จักรวรรดิฝรั่งเศส
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
เยนา:
จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง นโปเลียนที่ 1
เอาเออร์ชเต็ท:
จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง หลุยส์-นีกอลา ดาวู
เยนา:
ราชอาณาจักรปรัสเซีย เจ้าชายแห่งโฮเอินโลเออ
ราชอาณาจักรปรัสเซีย แอนสท์ ฟ็อน รือเคิล
เอาเออร์ชเต็ท:
ราชอาณาจักรปรัสเซีย ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์ 
ราชอาณาจักรปรัสเซีย ฟรีดริช ฟ็อน ชเม็ทเทา 
ราชอาณาจักรปรัสเซีย ฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 3
ราชอาณาจักรปรัสเซีย เก็พฮาร์ท ฟ็อน บลึชเชอร์
กำลัง
40,000 นาย[3](เยนา)
26,000 นาย(เอาเออร์ชเต็ท)[3]
รวม:
66,000 นาย
55,000 นาย(เยนา)
64,000 นาย(เอาเออร์ชเต็ท)[4]
รวม:
119,000 นาย
ความสูญเสีย
5,000–6,000 นาย[5] (เยนา)
7,052–7,100 นาย[6] (เอาเออร์ชเต็ท)
รวม:
12,600 นาย
26,000–27,000 นาย[5] (เยนา)[3]
13,000 [6]–15,000 นาย(เอาเออร์ชเต็ท)[3]
รวม:
41,000 นาย

ขุมกำลัง

แก้

กองทัพปรัสเซียในขณะนั้นอยู่ในสภาพย่ำแย่ ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์มีอายุถึง 71 ปีแล้ว ขณะที่ผู้บัญชาการภาคสนามคนอื่นก็อยู่ในวัยหกสิบกว่า กองทัพปรัสเซียยังคงใช้ยุทธวิธีและการฝึกซ้อมจากยุคพระเจ้าฟรีดริชมหาราช จุดอ่อนที่เลวร้ายที่สุดของกองทัพปรัสเซียคือฝ่ายเสนาธิการ หน่วยทหารจำนวนมากถูกบริหารจัดการอย่างย่ำแย่และไม่ได้ติดต่อทำความเข้าใจกันอย่างดีพอ กองทัพปรัสเซียแบ่งกำลังออกเป็นสามกอง ได้แก่:

อีกด้านหนึ่ง กองทัพใหญ่ของฝรั่งเศสมีจอมทัพและผู้บัญชาการที่เชี่ยวชาญกว่ามาก ประกอบด้วยจอมพลทั้งแก่ทั้งหนุ่มและว่าที่จอมพล กองทัพใหญ่ของนโปเลียนที่เมืองเยนาประกอบด้วยทหารทั้งหมด 116,000 นาย และมีผู้บัญชาการกองทัพน้อยดังต่อไปนี้:

นอกจากนี้ ทางเหนือของเยนาบริเวณเมืองเอาเออร์ชเต็ท มีกองทัพน้อยที่ 1 ของจอมพลฌ็อง-บาติสต์ แบร์นาด็อต (20,000 นาย) และกองทัพน้อยที่ 3 ของจอมพลหลุยส์-นีกอลา ดาวู (27,000 นาย) ตั้งอยู่

ภาพรวม

แก้

การรบเริ่มขึ้นเมื่อกองทัพของนโปเลียนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังหลักปะทะกับกองทัพของของพลเอกเจ้าชายแห่งโฮเอินโลเออใกล้กับเมืองเยนา ในตอนแรก จักรพรดรินโปเลียนมีกำลัง 48,000 นาย แต่ด้วยการวางแผนที่รอบคอบและยืดหยุ่น เขาสามารถเพิ่มกำลังได้ถึง 96,000 นาย[8] แต่ในการรบครั้งนี้ มีเพียง 40,000 นายเท่านั้นที่ถูกส่งเข้าไปสู้รบกับกองทัพปรัสเซีย

ในขณะที่ฝ่ายปรัสเซียตอบสนองช้าและไม่สามารถตัดสินใจได้ทันท่วงที ก่อนที่กำลังของพลเอกแอนสท์ ฟอน รือเชิล จำนวน 15,000 นาย จะมาถึงจากเมืองไวมาร์ กองกำลังของโฮเอินโลเออก็ถูกตีแตกแล้ว โดยมีทหารเสียชีวิตหรือบาดเจ็บ 10,000 นาย และถูกจับเป็นเชลย 15,000 นาย[8] เมื่อพลเอกรือเชิลนำทหารของเขาเข้าสู่สนามรบและโฮเอินโลเออเข้ามาคุมการรบด้วยตัวเอง ทหารของพวกเขาถูกโจมตีและถูกส่งถอยกลับไปด้วยความพ่ายแพ้ พลเอกรือเชิลเองก็ได้รับบาดเจ็บ

แม้ว่าเยนาเป็นยุทธการที่ดุเดือด มีทหารฝรั่งเศสถูกเจ็บหรือตายหรือถูกจับกุมประมาณ 5,000 นาย นโปเลียนเองก็เข้าใจผิดว่าเขาเผชิญหน้ากับกองทัพหลักของปรัสเซียแล้ว ขณะที่ทางด้านเหนือที่เอาเออร์ชเต็ท ทั้งจอมพลดาวูและจอมพลแบร์นาด็อตได้รับคำสั่งให้มาช่วยนโปเลียน ดาวูพยายามปฏิบัติตามคำสั่งผ่านเส้นทางเอ็กคาร์ตสแบร์กา (Eckartsberga) ในขณะที่แบร์นาดอตเลือกเดินทัพผ่านดอร์นบวร์ค (Dornburg)

เส้นทางของดาวูสู่ทางใต้ถูกขัดขวางโดยกองกำลังหลักของปรัสเซียที่มีกำลังถึง 64,000 นาย ซึ่งรวมถึงองค์จอมทัพกษัตริย์แห่งปรัสเซีย จอมพลดยุกแห่งเบราน์ชไวค์ และจอมพลเมอเลินดอร์ฟ และจอมพลคาลคร็อยท์ การรบที่ดุเดือดจึงเกิดขึ้น แม้ดาวูมีกำลังน้อยกว่าถึงสองเท่า แต่กองทัพที่สามของเขาซึ่งถูกฝึกฝนและมีวินัยสูง สามารถต้านการโจมตีหลายครั้งก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นฝ่ายรุกและทำให้ทหารปรัสเซียถอยหนี

แต่ถึงแม้ว่าจอมพลแบร์นาดอตอยู่ในระยะที่สามารถได้ยินเสียงการรบจากทั้งสองสนามรบ เขากลับไม่ทำอะไรเพื่อช่วยดาวู โดยปฏิเสธที่จะทำตามคำสั่งของนโปเลียนที่ได้รับเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนหน้านี้[9][10][11]

อ้างอิง

แก้
  1. Gerhard Bauer: Die Ikonographie des Sieges. 1806 in Malerei und Grafik des 19. und 20. Jahrhunderts, in: Karl-Heinz Lutz, Marcus von Salisch (Editors), Jena 1806. Vorgeschichte und Rezeption, Militärgeschichtliches Forschungsamt, Potsdam, 2009, ISBN 978-3-941571-01-3, p. 61–80, here: p. 70.
  2. Bodart 1908, pp. 372–73.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Connelly 2006, p. 101.
  4. Chandler 1966, p. 488.
  5. 5.0 5.1 Bodart 1908, p. 372.
  6. 6.0 6.1 Bodart 1908, p. 373.
  7. Chandler 1966, p. 479–506.
  8. 8.0 8.1 Chandler 1966, p. 1119.
  9. Barton 1921, pp. 138–46.
  10. Petre 1914, pp. 170–73.
  11. Gallaher 2018, pp. 134–35.

บรรณานุกรม

แก้

อ่านเพิ่ม

แก้
  • Barton, D. Plunket (1921). Bernadotte and Napoleon: 1763–1810. London: John Murray. สืบค้นเมื่อ 17 June 2021.
  • Heyman, Neil M. (1966). France against Prussia: The Jena Campaign of 1806. Military Affairs. pp. 186–98.
  • Maude, F. N. (2007). The Jena Campaign: 1806 – The Twin Battles of Jena & Auerstadt Between Napoleon's French and the Prussian Army.
  • Vache, Colonel (2009). Napoleon and the Campaign of 1806: The Napoleonic Method of Organisation and Command to the Battles of Jena & Auerstadt.

ภาพรวม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้