หลุยส์-อาแล็กซ็องดร์ แบร์ตีเย

หลุยส์-อาแล็กซ็องดร์ แบร์ตีเย (ฝรั่งเศส: Louis-Alexandre Berthier) เป็นผู้บัญชาการทหารชาวฝรั่งเศสในช่วงสงครามปฏิวัติฝรั่งเศสและสงครามนโปเลียน เขาดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสงครามสองสมัย และได้เป็นหนึ่งในนายทหารสิบแปดคนแรกที่ได้ยศจอมพลแห่งจักรวรรดิในปี 1804

หลุยส์-อาแล็กซ็องดร์ แบร์ตีเย
เจ้าผู้ครองเนอชาแตลและวาล็องแฌ็ง
เจ้าชายแห่งวากรัม
ภาพเหมือนโดย Jacques Pajou ค.ศ. 1808
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสงคราม
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤศจิกายน 1799 – 2 เมษายน 1800
ก่อนหน้าดูบัว-คร็องเซ
ถัดไปลาซาร์ การ์โน
ดำรงตำแหน่ง
8 ตุลาคม 1800 – 19 สิงหาคม 1807
ก่อนหน้าลาซาร์ การ์โน
ถัดไปอ็องรี ดยุกแห่งเฟ็ลเตร
เจ้าผู้ครองเนอชาแตลและวาล็องแฌ็ง
ดำรงตำแหน่ง
25 กุมภาพันธ์ 1806 – 3 มิถุนายน 1814
ก่อนหน้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 3 แห่งปรัสเซีย
ถัดไปฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 3 แห่งปรัสเซีย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1753(1753-11-20)
แวร์ซาย ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
เสียชีวิต1 มิถุนายน ค.ศ. 1815(1815-06-01) (61 ปี)
บัมแบร์ค ราชอาณาจักรบาวาเรีย
ญาติฌ็อง-บาติสต์ แบร์ตีเย (พ่อ)
César Berthier (brother)
Napoléon Alexandre Berthier (ลูกชาย)
รางวัลมหากางเขนแห่งเลฌียงดอเนอร์
ผู้บัญชาการเครื่องอิสริยาภรณ์แซ็งหลุยส์
Vice-Grand Constable of France
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ฝรั่งเศส
 ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
 ฝรั่งเศส
 ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
สังกัดกองทัพบก
ประจำการ1764–1815
ยศจอมพลแห่งจักรวรรดิ
ผ่านศึกสงครามปฏิวัติอเมริกา
สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส
สงครามนโปเลียน

แบร์ตีเยเป็นบุตรของนายทหารช่าง เขาเรียนทหารช่างตามรอยบิดาและสำเร็จการศึกษาในวัยสิบสองปี และได้บรรจุเป็นร้อยตรีในปี 1772[1] เขาเคยปฏิบัติหน้าที่ในสงครามปฏิวัติอเมริการะหว่างปี 1780 ถึง 1783 และเคยถูกสงสัยว่าเป็นพวกนิยมเจ้าในช่วงที่รอแบ็สปีแยร์เรืองอำนาจ แต่ก็เอาตัวรอดมาได้ เขาก้าวหน้าในชั้นยศอย่างรวดเร็วในช่วงสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส และได้พบกับนโปเลียนครั้งแรกในเดือนมีนาคม 1796 ในช่วงการทัพอิตาลี จากนั้น เขาก็เป็นเสนาธิการประจำนโปเลียนเรื่อยมา[1] เขาเป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่สามารถอ่านลายมือของนโปเลียน และแปลข้อความของนโปเลียนเป็นภาษาที่เข้าใจได้ง่าย ก่อนที่จะถ่ายทอดสู่ผู้ใต้บังคับบัญชาคนอื่น นอกจากนี้ เขาเป็นคนเก่งในการจัดการบริหารองค์กร เขาสามารถวางแผนบริหารกองทัพใหญ่ซึ่งมีกำลังพลนับแสนนายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในปี 1806 ภายหลังนโปเลียนได้รับชัยชนะต่อเนื่องในยุโรปภาคเยอรมัน กษัตริย์แห่งปรัสเซียยอมยกราชรัฐเนอชาแตลให้แก่ฝรั่งเศส ในการนี้ นโปเลียนทรงมอบให้ดินแดนส่วนนี้ให้แบร์ตีเยปกครองในบรรดาศักดิ์ "เจ้าผู้ครองเนอชาแตลและวาล็องแฌ็ง" แต่ตลอดเวลาแปดปีที่แบร์ตีเยปกครองดินแดนส่วนนี้ แบร์ตีเยไม่เคยไปเหยียบเนอชาแตลสักครั้ง ตัวเขาซึ่งเป็นเสนาธิการมีงานยุ่งมากแล้ว เขาจึงปล่อยให้ข้าราชการท้องถิ่นปกครองตัวเอง อย่างไรก็ตาม เนอชาแตลในฐานะรัฐบริวารของฝรั่งเศส ก็มีการส่งทหารหนึ่งกองพันเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพใหญ่

ภายหลังนโปเลียนสละราชสมบัติครั้งแรก แบร์ตีเยเกษียณจากราชการและใช้ชีวิตอยู่ในคฤหาสน์ขนาดหนึ่งพันห้าร้อยไร่ ไม่นานเขาก็กลับเข้ารับราชการภายใต้พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ต่อมาเมื่อนโปเลียนหนีจากเกาะเอลบาในปี 1815 แบร์ตีเยเป็นผู้ตามเสด็จพระเจ้าหลุยส์ลี้ภัยจากปารีสสู่เมืองเกนต์ แต่พอถึงที่นั่น เขากลับถูกองค์กษัตริย์และคนอื่นมองด้วยสายตาไม่ไว้วางใจ อีกด้านหนึ่ง นโปเลียนก็ประกาศถอดยศเขาจากจอมพล ฐานที่เขาตามเสด็จพระเจ้าหลุยส์[2] แบร์ตีเยไม่รู้จะทำอย่างไรต่อ จึงเดินทางไปอยู่บ้านน้องสะใภ้ที่เมืองบัมแบร์ค จากนั้นไม่นาน เขาถูกพบเป็นศพจากการตกจากหน้าต่าง พฤติการณ์ที่ตายของเขาไม่แน่ชัด บันทึกบางฉบับบระบุว่าเขาถูกสังหารโดยองค์กรลับ บ้างระบุว่าเขาฆ่าตัวตาย การขาดทักษะและความสามารถของแบร์ตีเยในยุทธการที่วอเตอร์ลูทำให้นโปเลียนนึกเสียดายมาก จนเคยรำพึงรำพันว่า "ถ้าแบร์ตีเยอยู่ที่นั่น ข้าคงไม่เจอโชคร้ายแบบนี้"[3]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Gambiez, Fernand (1987). "BERTHIER, Louis-Alexandre, (1753-1815), prince de Neufchâtel, prince de Wagram, maréchal". Dictionnaire Napoléon. Éditions Fayard.
  2. Nathan D. Jensen Marshal Louis Alexandre Berthier
  3. "Berthier, The Indispensable Marshal". www.napoleon-series.org.