ฟีลิป เปแต็ง

อ็องรี ฟีลิป เบโนนี โอแมร์ โฌแซ็ฟ เปแต็ง (ฝรั่งเศส: Henri Philippe Benoni Omer Joseph Pétain; 24 เมษายน ค.ศ. 1856 – 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1951) เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อว่า ฟีลิป เปแต็ง (Philippe Pétain) หรือ จอมพล เปแต็ง (Maréchal Pétain) และบางครั้งจะเรียกว่า จอมพลเฒ่า (ฝรั่งเศส: le vieux Maréchal) เป็นเจ้าหน้าที่นายทหารระดับพลเอกชาวฝรั่งเศสที่ได้ดำรงตำแหน่งจอมพลแห่งฝรั่งเศส เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลง ซึ่งในช่วงนั้นเขากลายเป็นที่รู้จักกันคือ ราชสีห์แห่งแวร์เดิง (ฝรั่งเศส: le lion de Verdun) จากนั้นเขาได้ดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐของวิชีฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1940 ถึง ค.ศ. 1944 เปแต็งซึ่งมีอายุ 84 ปีใน ค.ศ. 1940 ดำรงดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐที่มีอายุมากที่สุดของฝรั่งเศส

ฟีลิป เปแต็ง
ประมุขแห่งรัฐฝรั่งเศส
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม ค.ศ. 1940 – 20 สิงหาคม ค.ศ. 1944
นายกรัฐมนตรี ปีแยร์ ลาวาล
ปีแยร์-เอเตียน ฟล็องแด็ง
ฟร็องซัว ดาร์ล็อง
ก่อนหน้า อาลแบร์ เลอเบริง
ในฐานะประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ
ถัดไป ชาร์ล เดอ โกล
ในฐานะผู้นำรัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสคนที่ 78
ดำรงตำแหน่ง
16 มิถุนายน ค.ศ. 1940 – 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1940
ประธานาธิบดี อาลแบร์ เลอเบริง
รอง กามีย์ โชต็อง
ปีแยร์ ลาวาล
ปีแยร์-เอเตียน ฟล็องแด็ง
ฟร็องซัว ดาร์ล็อง
ก่อนหน้า ปอล แรโน
ถัดไป ปีแยร์ ลาวาล
ผู้บัญชาการกองทัพฝรั่งเศส
ดำรงตำแหน่ง
17 พฤษภาคม ค.ศ. 1917 – มกราคม ค.ศ. 1920[1][2]
ประธานาธิบดี แรมง ปวงกาเร
นายกรัฐมนตรี อาแล็กซ็องดร์ รีโบ
ปอล แป็งเลอเว
ฌอร์ฌ เกลม็องโซ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงคราม ปอล แป็งเลอเว
ฌอร์ฌ เกลม็องโซ
ก่อนหน้า รอแบร์ นีแวล
ผู้ปกครองร่วมแห่งอันดอร์รา
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1944
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด อ็องรี ฟีลิป เบโนนี โอแมร์ โฌแซ็ฟ เปแต็ง
24 เมษายน ค.ศ. 1856
โกชี-อา-ลา-ตูร์, ปาดกาแล, จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2
เสียชีวิต 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1951(1951-07-23) (95 ปี)
ปอร์-ฌวงวีล, อีลดีเยอ, ว็องเด, ฝรั่งเศส
คู่สมรส เออเฌนี อาร์ดง เปแต็ง
ศาสนา โรมันคาทอลิก
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้  สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3
 ฝรั่งเศสเขตวีชี
สังกัด กองทัพฝรั่งเศส
ประจำการ ค.ศ. 1876–1944
ยศ นายพลประจำกองพล
การยุทธ์ สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

สงครามโลกครั้งที่สอง

บำเหน็จ จอมพลแห่งฝรั่งเศส
เลฌียงดอเนอร์
เหรียญทหาร (สเปน)

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฟีลิปได้นำกองทัพฝรั่งเศสไปสู่ชัยชนะในยุทธการที่แวร์เดิงซึ่งกินเป็นเวลาเก้าเดือน ภายหลังจากการรุกนีเวลล์(Nivelle offensive) ได้ประสบความล้มเหลว และการลุกฮือประท้วงที่ตามมา เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด และประสบความสำเร็จในการรักษาความเชื่อมั่นของกองทัพ เปแต็งยังคงอยู่ในกองบัญชาการจากสงครามที่เหลือและกลายเป็นวีรบุรุษของชาติ ในช่วงระหว่างสงคราม เขาได้เป็นผู้นำกองทัพฝรั่งเศสในยามสงบ ได้บัญชาการในปฏิบัติการร่วมกันระหว่างฝรั่งเศส-สเปนในช่วงสงครามริฟ และดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีมาสองครั้ง ในช่วงเวลานี้ เขาเป็นที่รู้จักในนามว่า จอมพลเฒ่า (le vieux Maréchal)

ด้วยการล่มสลายของฝรั่งเศสที่กำลังใกล้เข้ามาและคณะรัฐมนตรีต้องการที่จะเจราจาสงบศึก เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1940 นายกรัฐมนตรี ปอล แรโน ได้ประกาศลาออกและได้ให้คำแนะนำกับประธานาธิบดี อาลแบร์ เลอเบริง แต่งตั้งเปแต็งให้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทนที่เขา ซึ่งเขาได้กระทำในวันนั้น ในขณะที่รัฐบาลอยู่ที่บอร์โด คณะรัฐมนตรีได้ลงมติเพื่อการลงนามในข้อตกลงสงบศึกกับเยอรมนีและอิตาลี ต่อมารัฐบาลทั้งหมดได้ย้ายไปที่แกลร์มง-แฟร็องในเวลาอันสั้น จากนั้นก็ไปยังเมืองสปาของวิชีในภาคกลางของฝรั่งเศส รัฐบาลได้ลงมติเพื่อทำการเปลี่ยนแปลงจากสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 มาเป็นรัฐฝรั่งเศสหรือวิชีฝรั่งเศส ซึ่งเป็นระบอบเผด็จการที่เป็นฝ่ายให้ความร่วมมือกับฝ่ายอักษะ ภายหลังจากเยอรมนีและอิตาลีได้เข้ายึดครองและปลดอาวุธของฝรั่งเศสในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1942 รัฐบาลของเปแต็งได้ทำงานอย่างใกล้ชิดให้กับเขตปกครองทางทหารของนาซีเยอรมนี

ภายหลังสงคราม เปแต็งได้ถูกพิจารณาคดีและถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหากบฎ แต่เดิมเขาถูกตัดสินลงโทษด้วยการประหารชีวิต แต่เนื่องจากเขาแก่ชรามากแล้วและด้วยวีรกรรมของเขาในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง คำตัดสินโทษได้ถูกลดหย่อนเป็นการจำคุกตลอดชีวิตแทน เส้นการเดินทางของเขาจากทหารผู้ไร้ชื่อเสียงสู่วีรบุรุษแห่งฝรั่งเศสในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ไปจนถึงผู้ปกครองที่ทำงานในการให้ความร่วมมือในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้ชาร์ล เดอ โกล ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากเขาได้เขียนระบุว่า ชีวิตของเปแต็งนั้น"กลับดูธรรมดา จากนั้นก็รุ่งโรจน์ ต่อมาก็น่าสมเพชโดยลำดับ แต่ไม่เคยดูธรรมดาเลยสักนิด"

ช่วงชีวิตแรกแก้ไข

วัยเด็กและครอบครัวแก้ไข

เปแต็งเกิดในโกซี-อา-ลา-ตูร์(ในจังหวัดปาดกาแล ในทางตอนเหนือของฝรั่งเศส) ใน ค.ศ. 1856 พ่อของเขานามว่า โอเมอร์-เวน็องต์ ซึ่งเป็นชาวนา ลุงทวดของเขาซึ่งเป็นบาทหลวงนิกายคาทอลิก คุณพ่อ Abbe Lefebvre (ค.ศ. 1771 - ค.ศ. 1866) เคยเป็นทหารอยู่ในลากร็องด์อาเม(กองทัพใหญ่)ของนโปเลียน และได้เล่าเรื่องราวของการทำสงครามและการผจญภัยในการทัพของเขาตั้งแต่คาบสมุทรอิตาลีไปจนถึงเทือกเขาแอลป์ในสวิตเซอร์แลนด์ให้แก่ฟิลิปวัยเด็กได้รับฟัง ความประทับใจอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องราวที่ถูกเล่าโดยลุงทวดของเขา โชคชะตาของเขาได้ถูกกำหนดโดยกองทัพนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ชีวิตส่วนบุคคลแก้ไข

เปแต็งครองโสดจนถึงอายุหกสิบปีเศษ และเป็นที่รู้จักกันถึงความเจ้าชู้ของของเขา ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เปแต็งได้แต่งงานกับอดีตแฟนสาวของเขานามว่า เออเฌนี อาร์ดง (ค.ศ. 1877– ค.ศ. 1962) เมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1920 พวกเขายังคงแต่งงานกันจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตของแปแต็ง ภายหลังจากได้ปฏิเสธข้อเสนอการแต่งงานครั้งแรกกับแปแต็ง อาร์ดงได้แต่งงานและหย่าร้างกับฟรองซัวส์ เดอ เฮเรน(François de Hérain) ในปี ค.ศ. 1914 เมื่อเธอมีอายุ 35 ปี ในช่วงการเปิดฉากของยุทธการที่แวร์เดิงใน ค.ศ. 1916 มีการกล่าวกันว่า เปแต็งถูกดึงตัวมาจากโรงแรมปารีสในช่วงตอนกลางคืนโดยเจ้าหน้าที่เสนาธิการทหารซึ่งได้รับรู้ว่าเขาได้อยู่กับเออเฌนี อาร์ดงในคืนนั้น เธอไม่ได้มีบุตรกับเปแต็ง แต่กลับมีลูกชายจากการแต่งงานครั้งแรกของเธอคือ ปีแอร์ เดอ เฮเรน ซึ่งเปแต็งไม่ชอบอย่างยิ่ง

อาชีพทหารช่วงแรกแก้ไข

เปแต็งได้เข้าร่วมกองทัพฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1876 และเข้าศึกษาที่ St Cyr Military Academy ใน ค.ศ. 1887 และ École Supérieure de Guerre (วิลทยาลัยสงครามกองทัพบก)ในปารีส ระหว่าง ค.ศ. 1878 และ ค.ศ. 1899 เขาได้ทำหน้าที่เป็นทหารในกองรักษการณ์ต่าง ๆ กับกองพันต่าง ๆ ของ Chasseurs à pied ทหารราบเบาชั้นนำของกองทัพฝรั่งเศส จากนันเขาก็ได้สลับไปมาระหว่างเจ้าหน้าที่นายทหารและกองร้อยที่ได้รับมอบหมาย

สงครามโลกครั้งที่หนึ่งแก้ไข

จุดเริ่มต้นของสงครามแก้ไข

ยุทธการที่แวร์เดิงแก้ไข

การลุกฮือแก้ไข

จุดจบของสงครามแก้ไข

ช่วงระหว่างสงครามแก้ไข

วีรบุรุษผู้เป็นที่เคารพนับถือของฝรั่งเศสแก้ไข

สงครามริฟแก้ไข

การวิพากษ์วิจารณ์ถึงนโยบายป้องกันแก้ไข

ได้รับเลือกจากอากาเดมีฟร็องแซซแก้ไข

รัฐมนตรีกระทรวงสงครามแก้ไข

การวิจารณ์นโยบายรัฐบาลแก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. Williams, 2005, p. 212.
  2. Atkin, 1997, p. 41.

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข