การสงบศึก 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918

การสงบศึกระหว่างฝ่ายพันธมิตรกับเยอรมนีได้มีการลงนามในรถไฟโดยสารในป่ากงเปียญ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ซึ่งถือว่าเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งบนแนวรบด้านตะวันตก ผู้ลงนามหลัก ได้แก่ จอมพล แฟร์ดีน็อง ฟ็อช ผู้บัญชาการสูงสุดฝ่ายพันธมิตร และมัทธิอัส เออร์ซเบอร์เกอร์ ผู้แทนของเยอรมนี การสงบศึกดังกล่าวเป็นข้อตกลงทางทหารซึ่งเป็นความพ่ายแพ้อย่างเด็ดขาดของเยอรมนี หากแต่มิใช่ทั้งการยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไขหรือสนธิสัญญา

ภาพถ่ายดังกล่าวถ่ายขึ้นหลังจากบรรลุข้อตกลงในการสงบศึกซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในภาพ รถไฟโดยสารคันดังกล่าวเป็นของแฟร์ดีน็อง ฟ็อช และตำแหน่งอยู่ในป่าคองเปียญ แฟร์ดีน็อง ฟ็อชเป็นชายคนที่สองนับจากขวามือ

เงื่อนไข

แก้

การสงบศึกประกอบด้วยเงื่อนไขหลักสำคัญต่อไปนี้:[1]

  • สิ้นสุดความเป็นปรปักษ์ทางทหารภายใน 6 ชั่วโมงหลังลงนาม
  • การเคลื่อนย้ายกองกำลังเยอรมันทั้งหมดออกจากฝรั่งเศส เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก และอาลซัส-ลอแรนในทันที
  • การเคลื่อนย้ายกองกำลังเยอรมันทั้งหมดออกจากดินแดนทางตะวันตกของแม่น้ำไรน์ บวกรัศมีหัวสะพานอีก 30 กิโลเมตรจากฝั่งขวาของแม่น้ำไรน์ที่เมืองไมนทซ์ โคเบลนซ์ และโคโลญน์ พร้อมทั้งให้กองกำลังพันธมิตรและสหรัฐอเมริกายึดครองในภายหลัง
  • การถอนกำลังเยอรมันทั้งหมดในแนวรบด้านตะวันออกกลับสู่ดินแดนเยอรมันเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1914
  • ปฏิเสธสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์กับรัสเซียและสนธิสัญญาบูคาเรสต์กับโรมาเนีย
  • การกักกันกองเรือเยอรมัน
  • การส่งมอบยุทธปัจจัยดังนี้ ปืนใหญ่ 5,000 กระบอก ปืนกล 25,000 กระบอก ปืนครก 3,000 กระบอก เครื่องบิน 1,700 ลำ เครื่องยนต์รถจักร 5,000 เครื่อง และรถเดินราง 150,000 คัน

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Hans Michael Kloth (2008-11-11). "Atempause für den Weltuntergang" (ภาษาเยอรมัน). Der Spiegel.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

49°25′39″N 2°54′23″E / 49.4275°N 2.906389°E / 49.4275; 2.906389