ไรชส์ทาค (สาธารณรัฐไวมาร์)
ไรชส์ทาค (เยอรมัน: Reichstag) ของสาธารณรัฐไวมาร์ ดำรงอยู่ระหว่างค.ศ. 1918-33 สมาชิกไรชส์ทาคถูกเลือกตั้งเข้ามาโดยระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน ทุก ๆ 60,000 คะแนนเสียงที่พรรคการเมืองได้รับ พรรคนั้นจะสามารถส่งผู้แทนหนึ่งคนเข้าไปนั่งในไรชส์ทาค เนื่องจากคุณสมบัติพิเศษบางประการ จึงทำให้เกิดความไม่ลงรอยกันระหว่างการแบ่งคะแนนเสียงและการแบ่งจำนวนผู้แทน
ไรชส์ทาค | |
---|---|
ฝ่ายนิติบัญญัติของสาธารณรัฐไวมาร์ | |
![]() ตราแผ่นดินเยอรมนี | |
ประเภท | |
ประเภท | ระบบสองสภา |
| |
ประวัติศาสตร์ | |
สถาปนา | ค.ศ. 1919 |
ยุบ | ค.ศ. 1933 |
ก่อนหน้า | สมัชชาแห่งชาติไวมาร์ |
ถัดมา | นาซีไรชส์ทาค |
ตำแหน่ง | 661 สมาชิก (ณ วันยุบ) |
การเลือกตั้ง | |
การเลือกตั้งแบบแข่งขันโดยตรง | |
การเลือกตั้งครั้งหลังสุด | 13 มีนาคม ค.ศ. 1938 |
ที่ประชุม | |
อาคารไรชส์ทาค กรุงเบอร์ลิน |
บทความนี้เกี่ยวกับรัฐสภาของสาธารณรัฐไวมาร์ (1919-1933) สำหรับรัฐสภาของจักรวรรดิเยอรมัน (1871-1918) ดูที่ ไรชส์ทาค (จักรวรรดิเยอรมัน)
อำนาจแก้ไข
ระหว่าง ค.ศ. 1920 และ 1923 และนับตั้งแต่ ค.ศ. 1930 เป็นต้นไป กระบวนการต่าง ๆ ถูกหลีกเลี่ยงจากไรชส์ทาคโดยเครื่องมือสองอย่างที่มิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ได้แก่
- การใช้อำนาจเกินขอบเขตตามที่มอบให้แก่ประธานาธิบดีภายใต้กฤษฎีกาฉุกเฉินในมาตรา 48 ของรัฐธรรมนูญ
- การใช้รัฐบัญญัติมอบอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใน ค.ศ. 1919-23 และอีกครั้งใน รัฐบัญญัติมอบอำนาจ ค.ศ. 1933 ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการปกครองแบบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์