ควร์ท ฟ็อน ชไลเชอร์
พลเอกทหารราบ ควร์ท แฟร์ดีนันท์ ฟรีดริช แฮร์มัน ฟ็อน ชไลเชอร์ (เยอรมัน: Kurt Ferdinand Friedrich Hermann von Schleicher) เป็นนายทหารชาวเยอรมัน และต่อมาได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนสุดท้ายในช่วงสาธารณรัฐไวมาร์ ผู้มีบทบาทที่สำคัญในความพยายามของกองทัพเยอรมันเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของสนธิสัญญาแวร์ซาย ชไลเชอร์ได้ก้าวขึ้นสู่อำนาจในฐานะที่ปรึกษาใกล้ชิดกับประธานาธิบดี เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค ในปี ค.ศ. 1930 เขาได้กลายเป็นเครื่องมือในการโค่นล้มรัฐบาลแฮร์มัน มึลเลอร์ และแต่งตั้งให้ไฮน์ริช บรือนิง ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
ควร์ท ฟ็อน ชไลเชอร์ | |
---|---|
![]() พลเอก ฟอน ชไลเชอร์ ในปีค.ศ. 1932 | |
นายกรัฐมนตรีเยอรมนี | |
ดำรงตำแหน่ง 3 ธันวาคม 1932 – 28 มกราคม 1933 | |
ประธานาธิบดี | เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค |
ก่อนหน้า | ฟรันทซ์ ฟ็อน พาเพิน |
ถัดไป | อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ |
ข้าหลวงแห่งปรัสเซีย | |
ดำรงตำแหน่ง 3 ธันวาคม 1932 – 28 มกราคม 1933 | |
ก่อนหน้า | ฟรันทซ์ ฟ็อน พาเพิน |
ถัดไป | ฟรันทซ์ ฟ็อน พาเพิน |
รัฐมนตรีกระทรวงไรชส์แวร์ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 มิถุนายน 1932 – 28 มกราคม 1933 | |
ประธานาธิบดี | เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค |
หัวหน้ารัฐบาล | ฟรันทซ์ ฟ็อน พาเพิน (1932) ตัวเอง (1932–1933) |
ก่อนหน้า | วิลเฮ็ล์ม เกรอเนอร์ |
ถัดไป | แวร์เนอร์ ฟ็อน บล็อมแบร์ค |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ควร์ท แฟร์ดีนันท์ ฟรีดริช แฮร์มัน ฟ็อน ชไลเชอร์ 7 เมษายน ค.ศ. 1882 บรันเดินบวร์คอันแดร์ฮาเฟิล, จักรวรรดิเยอรมัน |
เสียชีวิต | 30 มิถุนายน ค.ศ. 1934 พ็อทซ์ดัม-บาเบิลส์แบร์ค, นาซีเยอรมนี | (52 ปี)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ![]() ![]() |
สังกัด | ![]() ![]() |
ประจำการ | ค.ศ. 1900–1932 |
ยศ | พลเอกทหารราบ |
สงคราม/การสู้รบ | สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง |
ในช่วงเริ่มปี ค.ศ. 1932 เขาได้ทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงครามในคณะรัฐมนตรีฟรันทซ์ ฟ็อน พาเพิน ผู้ซึ่งได้สืบทอดเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ในช่วงระยะเวลาอันสั้นของเขา ชไลเชอร์ได้เจรจากับเกรกอร์ ชตรัสเซอร์ในความเป็นไปได้ที่จะแยกตัวออกจากพรรคนาซี แต่แผนการของพวกเขาล้มเหลว ชไลเชอร์ได้เสนอให้ประธานาธิบดีฮินเดินบวร์คทำการแบ่งแยกรัฐสภาไรชส์ทาคและปกครองแบบระบอบเผด็จการโดยพฤตินัย แนวทางของการปฏิบัติถูกฮินเดินบวร์คปฏิเสธ เมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1933 การเผชิญหน้ากับความอ่อนแอทางการเมืองและสุขภาพที่ย่ำแย่ ชไลเชอร์ได้ลาออกและแนะนำให้แต่งตั้งอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ขึ้นตำแหน่งแทนเขา สิบเจ็ดเดือนต่อมาหลังจากนั้น เขาถูกฆ่าตายตามคำสั่งของฮิตเลอร์ในช่วงคืนมีดยาว[1]
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ พายัพ โรจนวิภาค. ยุคทมิฬ. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2554. 216 หน้า. หน้า 44. ISBN 978-616-7146-22-5
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ควร์ท ฟ็อน ชไลเชอร์