คณะเสนาธิการใหญ่ (เยอรมนี)

คณะเสนาธิการใหญ่ (เยอรมัน: Großer Generalstab) เป็นหน่วยบัญชาการสูงสุดของกองทัพหลวงปรัสเซีย และซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นกองทัพบกจักรวรรดิเยอรมัน รับผิดชอบศึกษาและติดตามสถานการณ์สงครามอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการร่างแผนการเคลื่อนกำลังพลหรือปฏิบัติการทางทหาร สถาบันนี้ดำรงอยู่อย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่ปีค.ศ. 1806 และได้รับจัดตั้งเป็นองค์กรตามกฎหมายในปีค.ศ. 1814 การคัดเลือกบุคคลเข้ามาทำงานในสถาบันนี้จะพิจารณาจากฝีมือและประสบการณ์มากกว่าเส้นสายหรือฐานะ

คณะเสนาธิการใหญ่
(โกรสเซอร์ แกเนอราลชตัพ)
นายทหารประจำคณะเสนาธิการใหญ่ ค.ศ. 1918
ประเทศ เยอรมนี
บทบาทกองบัญชาการเหล่าทัพ
ปฏิบัติการสำคัญสงครามเยอรมัน-เดนมาร์ก
สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย
สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

สถาบันนี้เป็นองค์กรราชการที่มีความเป็นอิสระจากภาคการเมืองอย่างถึงที่สุด อำนาจจัดการตนเองของสถาบันนี้ถูกบัญญัติเป็นข้อกฎหมายพร้อมกับการรวมชาติเยอรมันในปีค.ศ. 1871 ต่อมาเมื่อเยอรมนีพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สถาบันนี้กลายเป็นแหล่งรวมตัวของพวกทหารเยอรมันสายเหยี่ยว สนธิสัญญาแวร์ซายซึ่งลงนามในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919 กำหนดให้ยุบคณะเสนาธิการใหญ่และกรมบัญชาการทหารสูงสุด[1] จอมพลฮินเดินบวร์คจึงลาออกในวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1919 และพลโทเกรอเนอร์ลาออกในวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1919

รายชื่อผู้นำ แก้

หัวหน้าคณะเสนาธิการใหญ่ แก้

รายชื่อหัวหน้าคณะเสนาธิการใหญ่ (Chef des Großen Generalstabs)

เจ้าพนักงานใหญ่ผู้บัญชาการยุทธภัณฑ์ แก้

รายชื่อเจ้าพนักงานใหญ่ผู้บัญชาการยุทธภัณฑ์ (Erster Generalquartiermeister) เป็นรองจากหัวหน้าคณะเสนาธิการใหญ่

อ้างอิง แก้

  1. Christian O.E. Millntot (March 20, 1992). "UNDERSTANDING THE PRUSSIAN-GERMAN GENERAL STAFF SYSTEM" (PDF). U.S. Army War College. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-04-22. สืบค้นเมื่อ April 22, 2019.