ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด
ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด (อังกฤษ: Operation Overlord) เป็นรหัสนามสำหรับยุทธการที่นอร์ม็องดี ปฏิบัติการของฝ่ายสัมพันธมิตรที่ได้เปิดฉากการบุกครองที่ประสบความสำเร็จในดินแดนยุโรปตะวันตกที่อยู่ภายใต้การยึดครองของเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการครั้งนี้ได้เปิดฉากขึ้นเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 ด้วยการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี (ปฏิบัติการเนปจูน, ยังเป็นที่รู้จักกันทั่วไปคือ ดี-เดย์) การโจมตีทางอากาศโดยเหล่าพลร่มที่มาพร้อมกับเครื่องบินบรรทุกจำนวน 1,200 ลำที่ล่วงหน้าออกไปก่อนที่จะมีการโจมตีด้วยการยกพลสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกด้วยเรือจำนวน 5,000 ลำ จำนวนทหารเกือบ 160,000 นายได้ข้ามช่องแคบอังกฤษเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน และทหารของฝ่ายสัมพันธมิตรมีจำนวนมากกว่าสองล้านนายในฝรั่งเศสในช่วงสิ้นเดือนสิงหาคม
ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
LCT with barrage balloons afloat, unloading supplies on Omaha for the break-out from Normandy. | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
| ไรช์เยอรมัน | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
|
| ||||||
กำลัง | |||||||
ความสูญเสีย | |||||||
พลเรือนเสียชีวิต: |
การตัดสินใจที่จะรับรองว่าจะบุกครองข้ามช่องแคบในปี ค.ศ. 1944 ได้ถูกจัดขึ้นที่การประชุมไทรเดนท์ในกรุงวอชิงตันในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1943 นายพล ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการแห่งกองบัญชาการทหารสูงสุดของกองกำลังพันธมิตรรบนอกประเทศ (Supreme Headquarters Allied Expeditionary Force-SHAEF) และนายพล เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการแห่งกองทัพที่ 21 ซึ่งประกอบไปด้วยทั้งหมดของกองกำลังทางภาคพื้นดินที่เกี่ยวข้องที่จะบุกครอง ชายฝั่งของนอร์ม็องดีบนทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศสได้ถูกเลือกให้เป็นที่ตั้งของการบุกครอง ด้วยฝ่ายอเมริกันได้กำหนดพื้นที่คือส่วนหนึ่งของรหัสนามว่า ยูทาห์ และโอมาฮ่า ส่วนฝ่ายอังกฤษที่ซอร์ด และโกลด์ และฝ่ายแคนาดาที่จูโน เพื่อให้เป็นไปตามสภาพที่ได้คาดหวังไว้ในหัวหาดนอร์ม็องดี เทคโนโลยีพิเศษได้ถูกพัฒนาขึ้น รวมทั้งท่าเรือเทียมสองแห่งที่ถูกเรียกว่า มัลเบอร์รี่ ฮาร์เบอร์ และขบวนของรถถังที่ศึกษาเป็นพิเศษที่มีชื่อว่า Hobart's Funnies ในช่วงเดือนที่นำไปสู่การบุกครอง ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ดำเนินการล่อลวงทางทหารอย่างเป็นรูปธรรม ปฏิบัติการบอดีการ์ด การให้ข้อมูลข่าวสารที่ผิดทั้งอิเล็กทรอนิกส์และภาพ ด้วยเหตุนี้ทำให้เยอรมันเกิดเข้าใจผิดเกี่ยวกับวันที่และสถานที่ของการยกพลขึ้นบกหลักของฝ่ายสัมพันธมิตร ฟือเรอร์ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้มอบหมายให้จอมพล แอร์วีน ร็อมเมิล ในความรับผิดชอบของการพัฒนาป้อมปราการตลอดแนวทั้งหมดของกำแพงแห่งแอตแลนติกที่ฮิตเลอร์ได้ป่าวประกาศเอาไว้ในความคาดหมายของการบุกครอง
ฝ่ายสัมพันธมิตรไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้เลยสำหรับวันแรก แต่พวกเขาได้ปักหลักทางภาคพื้นดินที่พวกเขาได้ค่อยๆขยายมากขึ้น เมื่อพวกเขาสามารถเข้ายึดครองท่าเรือแชร์บัวก์ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน และเมืองก็อง เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม การโจมตีตอบโต้กลับที่ล้มเหลวโดยกองทัพเยอรมัน เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม จำนวนทหารที่เหลือ 50,000 นายของกองทัพที่เจ็ดถูกดักล้อมอยู่ในวงล้อมฟาเลส์ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เปิดฉากการบุกครองที่สองจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจากทางตอนใต้ของฝรั่งเศส(รหัสนามว่า ปฏิบัติการดรากูน) เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม และการปลดปล่อยกรุงปารีสที่ตามมา เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม กองทัพเยอรมันได้ล่าถอยไปยังตะวันออกข้ามแม่น้ำแซน เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1944 อันเป็นการยุติของปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด
หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Beevor 2009, p. 82.
- ↑ Beevor 2009, p. 76.
- ↑ 3.0 3.1 Williams 1988, p. x.
- ↑ Beevor 2009, p. 492.
- ↑ Luxembourg Army website.
- ↑ Cision 2014.
- ↑ Copenhagen Post 2014.
- ↑ China Daily 2005.
- ↑ Badsey 1990, p. 85.
- ↑ Zetterling 2000, p. 32.
- ↑ Zetterling 2000, p. 34.
- ↑ Shulman 2007, p. 192.
- ↑ 14.0 14.1 Wilmot 1997, p. 434.
- ↑ Buckley 2006, pp. 117–120.
- ↑ 16.0 16.1 Tamelander & Zetterling 2003, p. 341.
- ↑ Tamelander & Zetterling 2003, p. 342.
- ↑ Zetterling 2000, p. 77.
- ↑ Giangreco, Moore & Polmar 2004, p. 252.
- ↑ Tamelander & Zetterling 2003, pp. 342–343.
- ↑ Zetterling 2000, p. 83.
- ↑ Beevor 2009, p. 519.
- ↑ Flint 2009, pp. 336–337.