ฟาเลส์พ็อกเก็ต หรือ ยุทธการการโอบล้อมที่ฟาเลส์ (เยอรมัน: Kessel von Falaise; 12 – 21 สิงหาคม ค.ศ. 1944) เป็นการสู้รบที่เด็ดขาดของยุทธการที่นอร์ม็องดีในสงครามโลกครั้งที่สอง พ็อกเก็ตหรือการโอบล้อมได้ถูกสร้างขึ้นบริเวณรอบฟาเลส์, จังหวัดกาลวาโดส ซึ่งกองทัพกลุ่มบีที่ประกอบไปด้วยกองทัพที่ 7 และกองทัพพันเซอร์ที่ห้า (ก่อนหน้านี้ที่เรียกว่า พันเซอร์กรุพเพน เวสต์) ถูกโอบล้อมโดยฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก ยุทธการนี้ยังได้ถูกเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยุทธการช่องว่างฟาเลส์ (ภายหลังจากช่องทางที่เยอรมันได้พยายามเปิดออกเอาไว้เพื่อให้พวกเขาสามารถหนีออกมาได้) ช็อมบัวร์กพ็อกเก็ต, ฟาเลส์-ช็อมบัวร์กพ็อกเก็ต, อาร์ช็องตอง-ฟาเลส์พ็อกเก็ต หรือช่องว่าง Trun-ช็องบัวร์ก ยุทธการครั้งนี้ได้ส่งผลลัพธ์ในการทำลายล้างส่วนใหญ่ของกองทัพกลุ่มบีทางด้านตะวันตกของแม่น้ำแซน ซึ่งได้เปิดเส้นทางไปยังกรุงปารีสและชายแดนฝรั่งเศส-เยอรมันสำหรับกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรบนแนวรบด้านตะวันตก

ฟาเลส์พ็อกเก็ต
ส่วนหนึ่งของ ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด, ยุทธการที่นอร์ม็องดี

แผนที่แสดงถึงเส้นทางของการสู้รบตั้งแต่วันที่ 8–17 สิงหาคม ค.ศ. 1944
วันที่12–21 สิงหาคม ค.ศ. 1944
สถานที่
นอร์ม็องดี, ฝรั่งเศส
48°53′34″N 0°11′31″W / 48.89278°N 0.19194°W / 48.89278; -0.19194
ผล

ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะอย่างเด็ดขาด[1]

คู่สงคราม
 สหรัฐ
 สหราชอาณาจักร
 แคนาดา
โปแลนด์ โปแลนด์
 ฝรั่งเศสเสรี
 ไรช์เยอรมัน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหราชอาณาจักร เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี
สหรัฐ โอมาร์ แบรดลีย์
แคนาดา แฮร์รี เครอราร์
สหราชอาณาจักร ไมลส์ เดมพ์ซีย์
สหรัฐ คอร์ทนี่ย์ ฮอดจ์
สหรัฐ จอร์จ เอส. แพตตัน
นาซีเยอรมนี กึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอ
นาซีเยอรมนี วัลเทอร์ โมเดิล
นาซีเยอรมนี เพาล์ เฮาส์เซอร์
นาซีเยอรมนี Heinrich Eberbach
หน่วยที่เกี่ยวข้อง

สหรัฐ กองทัพที่ 1

สหรัฐ กองทัพที่ 3

แคนาดา กองทัพที่ 1

สหราชอาณาจักร กองทัพที่ 2

กองทัพยานเกราะที่ 5

กองทัพที่ 7

Panzergruppe Eberbach
กำลัง
up to 17 divisions 14–15 divisions
ความสูญเสีย
United States:
Unknown
United Kingdom:
Unknown
Free French:
Unknown
Canada:
5,679 casualties[nb 1]
Poland:
ป. 5,150 casualties in total[3]
of which 2,300 for the 1st. Armoured Division.[4]

ป. 60,000:

  • ป. 10,000 killed
  • ป. 50,000 captured
500 tanks/assault guns

หกสัปดาห์ภายหลังดีเดย์ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้บุกครองนอร์ม็องดี เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 กองทัพบกเยอรมันกำลังอยู่ในภาวะความสับสนวุ่นวาย ในขณะที่กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรประสบปัญหาความยุ่งยากในการทะลวงฝ่าแนวเยอรมัน (เมืองก็องควรจะถูกยึดครองในช่วงวันแรกของการบุกครองและยังไม่ได้ถูกยึดจนกระทั่งล่าช้าในเดือนกรกฎาคม) การป้องกันของกองทัพเยอรมันในพื้นที่นอร์ม็องดีนี้เป็นการใช้ทรัพยากรที่ไม่สามารถถูกแทนที่ได้ กองทัพอากาศฝ่ายสัมพันธมิตรที่ได้ควบคุมเหนือน่านฟ้า (เหนือขึ้นไป 100 กิโลเมตรบนหลังแนวข้าศึก) การทิ้งระเบิดและยิงกราดใส่ทหารฝ่ายอักษะ, การเสริมกำลังและวัศดุทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับกองทัพ เช่น เชื้อเพลิงและกระสุน บนแนวรบด้านตะวันออก ปฏิบัติการบากราติออนและการรุกลวอฟ–ซานโดเมียร์ซของสหภาพโซเวียตได้อยู่ในช่วงระหว่างการทำลายล้างกองทัพเยอรมันกลุ่มกลาง ในฝรั่งเศส, กองทัพเยอรมันได้ใช้กองกำลังสำรองที่มีอยู่ (โดยเฉพาะกองกำลังสำรองยานเกราะ) เพื่อยึดแนวหน้าบริเวณก็อง และมีกองกำลังเสริมเพิ่มเติมเพียงเล็กน้อยที่พร้อมที่จะสร้างแนวป้องกันได้สำเร็จ เพื่อทำให้สถานการณ์ที่แย่ลง แผนลับ 20 กรกฎาคม ซึ่งเจ้าหน้าที่ของกองทัพเยอรมัน รวมทั้งบางส่วนที่ประจำการอยู่ในฝรั่งเศส พยายามที่จะลอบสังหารอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และยึดอำนาจ-จนท้ายที่สุดกลับล้มเหลวลง และผลที่ตามมานั้นทำให้เกิดความไว้วางใจที่น้อยลงอย่างมากระหว่างฮิตเลอร์และนายพลของเขา

ในคำสั่งเพื่อแตกหักที่นอร์ม็องดี กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรได้มีปฏิบัติการหลายขั้นตอนอย่างเต็มตัว เริ่มต้นด้วยการโจมตีของอังกฤษและแคนาดาตามแนวรบด้านตะวันออกบริเวณรอบก็องในปฏิบัติการกู๊ดว๊ด เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม กองทัพเยอรมันได้ตอบโต้ด้วยการส่งยานเกราะสำรองจำนวนมากเพื่อป้องกัน จากนั้น, เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม จำนวนนับพันของเครื่องบินทิ้งระเบิดอเมริกันได้พรมทิ้งระเบิดหลุมลึก 6,000 เมตรบนฝั่งตะวันตกของแนวเยอรมันบริเวณรอบของแซ็ง-โลในปฏิบัติการคอบรา ได้ยินยอมให้อเมริกันเพื่อที่จะผลักดันกองทัพผ่านช่องว่างนี้ในแนวเยอรมัน ภายหลังจากการต้านทานตอนแรกบางส่วน กองกำลังเยอรมันได้ถูกครอบงำและอเมริกันได้บุกฝ่าทะลวง เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พลโท จอร์จ เอส. แพตตัน ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการแห่งกองทัพสหรัฐที่สามที่เพิ่งก่อตั้งมาใหม่-ซึ่งรวมถึงส่วนขนาดใหญ่ของทหารที่ได้บุกฝ่าทะลวงแนวเยอรมันได้-และด้วยกองกำลังสำรองของเยอรมันมีไม่กี่หน่วยอยู่ด้านหลังของแนวหน้า, การแข่งขันจึงเริ่มขึ้น กองทัพที่สามได้ผลักดันอย่างรวดเร็วไปยังทางทิศใต้และตะวันออก, พบกับการต่อต้านที่เล็กน้อยมากของเยอรมัน ในขณะเดียวกัน กองทัพอังกฤษและแคนาดาก็ได้ผลักดันไปยังทางใต้ (ปฏิบัติการบลูโค้ท) ในความพยายามเพื่อที่จะเก็บยานเกราะของเยอรมันที่ได้เข้ามาพัวพันด้วย ภายใต้แรงการโจมตีของอังกฤษและแคนาดา, เยอรมันได้ถอนกำลัง; การถอนกำลังอย่างเป็นระเบียบท้ายที่สุดแล้วต้องพังทะลายลงเนื่องจากการขาดแคลนเชื้อเพลิง แม้ว่าจะขาดแคลนทรัพยากรที่จะเอาชนะการบุกทะลวงของสหรัฐและในขณะเดียวกัน การรุกของอังกฤษและแคนาดาจากทางตอนใต้ของ Caumont และก็อง จอมพล กึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอ ผู้บัญชาการแห่งกองทัพกลุ่มบีไม่ได้รับอนุญาตจากฮิตเลอร์เพื่อถอนกำลัง แต่ได้รับคำสั่งให้ดำเนินการรุกตอบโต้กลับที่ Mortain เข้าปะทะการบุกทะลวงของสหรัฐ กองพลพันเซอร์ที่หมดไปทั้งสี่ไม่เพียงพอที่จะเอาชนะกองทัพสหรัฐที่หนึ่งได้ ด้วยความหายนะของปฏิบัติการลึททิชได้ขับไล่ต้อนเยอรมันให้เข้าลึกถึงวงล้อมของฝ่ายสัมพันธมิตร

เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม, ผู้บัญชาการกองกำลังภาคพื้นดินของฝ่ายสัมพันธมิตร พลเอก เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี ได้สั่งให้กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรให้เข้ามาบรรจบกันในพื้นที่ฟาเลส์-ช็อมบัวร์ก เพื่อโอบล้อมกองทัพกลุ่มบี ด้วยกองทัพสหรัฐที่หนึ่งจะคุมเชิงทางตอนใต้ ส่วนฐานทัพของอังกฤษและแคนาดาจะคุมเชิงทางตอนเหนือของการโอบล้อม เยอรมันได้เริ่มถอนกำลัง เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม และวันที่ 19 สิงหาคม ฝ่ายสัมพันธมิตรได้บรรจบกันใน Chambois ช่องว่างได้ถูกบังคับให้เปิดออกในแนวฝ่ายสัมพันธมิตรด้วยการโจมตีตอบโต้กลับของเยอรมัน ช่องทางที่ใหญ่ที่สุดที่ได้บังคับเปิดออกผ่านกองพลยานเกราะโปแลนด์ที่ 1 บนเนินเขา 262 ที่บัญชาการตำแหน่งที่ปากของวงล้อม เมื่อตอนเย็นของวันที่ 21 สิงหาคม วงล้อมได้ถูกปิดสนิท ด้วยทหารเยอรมันจำนวน 50,000 นายที่ติดอยู่ข้างใน มีทหารเยอรมันหลายคนหนีออกมาได้ แต่ต้องสูญเสียในกำลังคนและเครื่องมืออุปกรณ์จำนวนมาก ไม่กี่วันต่อมา, ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ปลดปล่อยกรุงปารีสสำเร็จ และเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ส่วนที่เหลือของกองทัพกลุ่มบี ได้ล่าถอยข้ามแม่น้ำแซน ซึ่งเป็นอันสิ้นสุดลงของปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด

อ้างอิง แก้

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Williams204
  2. Stacey, p. 271
  3. "World War II: Closing the Falaise Pocket". History Net. สืบค้นเมื่อ 12 August 2017.
  4. "The Canadians in the Falaise Pocket". Info-Poland. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2010.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "nb" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="nb"/> ที่สอดคล้องกัน