หาดโอมาฮา
หาดโอมาฮา (อังกฤษ: Omaha Beach) เป็นรหัสเรียกขานของจุดยกพลขึ้นบก หนึ่งในห้าส่วนของการโจมตีเขตยึดครองของเยอรมันในประเทศฝรั่งเศส โดยฝ่ายสัมพันธมิตรในการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดีเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ชายหาดตั้งอยู่ที่ชายฝั่งทะเลนอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส หันหน้าเข้าสู่ช่องแคบอังกฤษ มีระยะทางยาว 8 กิโลเมตร จากทางตะวันออกของแซ็งตอนอรีน-เด-แปร์ต (Sainte-Honorine-des-Pertes) ถึงทางตะวันตกของเวียร์วีล (Vierville-sur-Mer) บนฝั่งขวาของชะวากทะเลแม่น้ำดูฟว์ (Douve)
หาดโอมาฮา | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เป็นส่วนหนึ่งของ ปฏิบัติการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดีร์ | |||||||
![]() ทหารจากกองพลที่ 1 กำลังยกพลขึ้นบกที่ชายหาดนอร์ม็องดีร์ - ถ่ายภาพโดยโรเบิร์ต เอฟ. ซาร์เจนต์ | |||||||
| |||||||
คู่ขัดแย้ง | |||||||
![]() |
![]() | ||||||
ผู้บัญชาการหรือผู้นำ | |||||||
Omar Bradley Norman Cota Clarence R. Huebner |
Dietrich Kraiss | ||||||
กำลัง | |||||||
• ทหารราบ 43,250 • เรือประจัญบาน 2 • เรือลาดตระเวน 3 • เรือพิฆาต 12 • เรืออื่น 105 |
• ทหารราบ 7,800 • ป้อมปืนใหญ่ 8 • 35 pillboxes • 4 artillery pieces • หลุมปืนครก 6 • ปืนต่อต้านรถถัง 18 • ฐานยิงจรวด 45 • รังปืนกล 85 • ป้อมรถถัง 6 | ||||||
กำลังพลสูญเสีย | |||||||
3,000 | 1,200 |
กองกำลังสัมพันธมิตรทำการบุกโจมตีกองทัพนาซีเยอรมันที่ยึดครองประเทศฝรั่งเศส และทวีปยุโรปอยู่ โดยเป็นการสนธิกำลังของกองพลพลร่มที่ 101 กับกองพลพลร่มที่ 82 และกองพลทหารราบที่ 4 ของสหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นกองกำลังผสมกองทัพน้อยที่ 7 ภายใต้การบังคับบัญชาของ พลเอกโอมาร์ แบรดลี่ย์ โดยที่กองพลพลร่มที่ 101 กับกองพลพลร่มที่ 82 จะเดินทางโดยเครื่องบิน จากประเทศอังกฤษ กระโดดร่มลงเหนือแนวหลังของแนวป้องกันตามแนวหาดนอร์ม็องดีร์ เพื่อก่อกวนและโจมตี แนวป้องกัน รวมทั้งยึดพื้นที่ให้กับทางกองพลทหารราบที่ 4 เข้าบุกในตอนเช้าตรู่โดยเรือยกพลขึ้นบกเบา
ภูมิประเทศและการป้องกันแก้ไข
หาดโอมาฮาเป็นหาดรูปพระจันทร์เสี้ยว ปลายหาดทั้งสองด้านเป็นหน้าผาหิน หาดค่อยๆ ลาดลงไปในน้ำเป็นความยาวเฉลี่ย 275 เมตร ระหว่างจุดน้ำลงถึงและจุดน้ำขึ้นถึง เหนือเส้นแนวน้ำเป็นตลิ่งก้อนกรวดสูง 2.4 เมตร และอาจกว้างถึง 14 เมตรในบางพื้นที่ ปลายสุดทางด้านตะวันตกของหาดก้อนกรวดเป็นเขื่อนหินป้องกันชายฝั่ง (ส่วนขายขยายเพิ่มไปทางตะวันออกเป็นไม้) สูง 1.5–4 เมตร ส่วนที่เหลือสองในสามของหาดหลังเขื่อนป้องกันชายฝั่งทอดตัวลงต่ำจบกับตลิ่งทราย หลังตลิ่งทรายและเขื่อนป้องกันชายฝั่งเป็นสันทรายเป็นชั้นๆ ทอดตัวอยู่ โดยแคบเรียวไปทางปลายทั้งสองของหาดและยาวเข้าไปในแผ่นดินถึง 180 เมตรเมื่อวัดจากตรงกึ่งกลางหาด มีผาชันหรือตลิ่งชันสูง 30–50 เมตร ถัดมา ซึ่งถูกตัดแบ่งหุบเขาขนาดเล็กซึ่งปกคลุมด้วยต้นไม้ หรือสามารถวาดภาพได้เป็นห้าจุดตามความยาวของหาด มีชื่อรหัสจากตะวันตกไปตะวันออกว่า ดี-1, ดี-3, อี-1, อี-3 และ เอฟ-1[1]
การเตรียมการป้องกันของเยอรมันและการที่ไม่มีการป้องกันต่างๆในเขตน้ำลึกแสดงให้เห็นว่า แผนการป้องกันคือการหยุดการโจมตีไว้ที่ชายหาด[2] มีการสร้างสิ่งกีดขวางสี่แถวในน้ำ สิ่งกีดขวางแถวแรกไม่ต่อเนื่องกัน มีช่องว่างเล็กน้อยในตอนกลางของส่วนด็อกไวต์และช่องว่างขนาดใหญ่ครอบคลุมทั่วทั้งส่วนอีซีเรด แถวสิ่งกีดขวางห่างจากเส้นน้ำขึ้น 250 เมตร ประกอบด้วย รั้วเบลเยี่ยม (Belgian Gates) ผูกทุ่นระเบิด 200 รั้ว แถวที่สองถัดมาอีก 30 เมตรเป็นแถวสิ่งกีดขวางต่อเนื่องกันเป็นรั้วไม้ที่ปักลงในทรายหันปลายออกไปทางทะเล และทุกๆ หนึ่งในสามของรั้วจะฝังทุ่นระเบิดรถถังไว้ แต่วิธีนี้กับไม่ได้ผลเท่าที่ฝ่ายเยอรมันคาดหวังไว้ อีก 32 หลา (30 ม.) ของชายฝั่ง เส้นนี้เป็นแนวบันไดลาด 450 อันต่อเนื่อง มีการออกแบบและติดตั้งทุ่นระเบิดเพื่อบังคับให้พาหนะพื้นราบยกขึ้นและพลิกคว่ำหรือกระตุ้นให้กับระเบิดทำงาน เส้นสุดท้าย สุดท้ายเป็นแนวต่อเนื่องของเชกเฮดจ์ฮอก (Czech hedgehog) 165 หลา (150 เมตร) จากชายฝั่ง[3] พื้นที่ระหว่างชายฝั่งกรวดและตลิ่งชันมีทั้งกับระเบิดมีสายและทุ่นระเบิดกระจัดกระจายไปตามทางลาด[4][5]
แผนโจมตีแก้ไข
ส่วนของทัพเรือแก้ไข
การทิ้งระเบิดก่อนยกพลขึ้นบกแก้ไข
การโจมตีระลอกแรกแก้ไข
รถถังขึ้นหาดแก้ไข
ทหารราบขึ้นหาดแก้ไข
ทหารช่างขึ้นหาดแก้ไข
การโจมตีระลอกสองแก้ไข
สถานการณ์ฝั่งอเมริกาแก้ไข
สถานการณ์ฝั่งเยอรมันแก้ไข
บุกเข้าไปในแนวเขตของข้าศึกแก้ไข
การจู่โจมที่ตลิ่งชันแก้ไข
ทัพเรือสนับสนุนแก้ไข
เยอรมันปกป้องในดินแดนแก้ไข
หัวหาดแก้ไข
ปฏิกิริยาของฝ่ายเยอรมันแก้ไข
สิ้นสุดวันแก้ไข
ผลที่ตามมมาแก้ไข
ระเบียงภาพแก้ไข
ป้อมปืนพันเซอร์ IVของเยอรมันถูกติดตั้งบนที่กำบังที่หาดโอมาฮา เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "Assault Plan". Omaha Beachhead. United States Army Center of Military History. 1994 [20 September 1945]. pp. 11–16. สืบค้นเมื่อ 2007-06-10.
- ↑ "Omaha Beachhead". United States Army Center of Military History. 1994 [20 September 1945]. p. 20. สืบค้นเมื่อ 2007-06-10.
|chapter=
ignored (help) - ↑ Badsey, Stephen (2004). Omaha Beach. Sutton Publishing Limited. p. 40. ISBN 0-7509-3017-9. Unknown parameter
|coauthors=
ignored (|author=
suggested) (help) - ↑ Badsey, Stephen; Bean, Tim (2004). Omaha Beach. Sutton Publishing. p. 40. ISBN 0-7509-3017-9.
- ↑ "Enemy Defenses". Omaha Beachhead. United States Army Center of Military History. 1994 [20 September 1945]. p. 23. สืบค้นเมื่อ 2007-06-10.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: หาดโอมาฮา |
- Omaha Beach Mémoires - Maps & resources in french
- Omaha Beach Memorial
- 29th Infantry Division Historical Society
- American D-Day: Omaha Beach, Utah Beach & Pointe du Hoc
- 352nd Infantrie Division History
- D-Day : État des Lieux : Omaha Beach
- Photos of Omaha Beach and the American Cemetery, with text by Ernie Pyle and President Clinton
- Website & resources on D-Day landing at Omaha beach IT/EN/FR/DE languages
- IX Engineer Command
- Illustrated article about Omaha Beach at 'Battlefields Europe'
- Information about visiting Omaha Beach 'Visiting Omaha Beach'
- Oral history interview with Franklin Johnson, whose first combat experience was on Omaha Beach from the Veterans History Project at Central Connecticut State University
พิกัดภูมิศาสตร์: 49°22′29″N 0°53′31″W / 49.37472°N 0.89194°W