หม่อมเจ้า
หม่อมเจ้า นั้นมีมาตั้งแต่ตอนต้นยุคกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีหลักฐานปรากฏชัดเจนเพราะว่ามีศักดินาอยู่ในพระอัยการพลเรือนที่ได้ตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ผู้ที่จะดำรงพระยศเป็นหม่อมเจ้าได้มีดังนี้
- เป็นพระโอรส พระธิดา ในเจ้าฟ้า ที่พระมารดามิได้เป็นเจ้า หรือมิได้เป็นนางห้ามพระราชทาน (มิได้เสกสมรสหรือรับตราโปรดเกล้าฯให้เป็นสะใภ้หลวง) อาทิ หม่อมเจ้าในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทั้งนี้หากพระบิดาเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอกหรือชั้นทูลกระหม่อม ก็มักจะได้รับการสถาปนายกขึ้นเป็นพระองค์เจ้า อาทิหม่อมเจ้าในสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย และหม่อมเจ้าในสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 7 [1]
- เป็นพระโอรส พระธิดา ในพระองค์เจ้าลูกหลวง (พระองค์เจ้าชั้นเอก) ที่พระมารดามิได้เป็นพระองค์เจ้า ทั้งนี้หากพระมารดาเป็นพระองค์เจ้า พระบุตรจะประสูติเป็นพระองค์เจ้าชั้นตรี และหากพระมารดาเป็นเจ้าฟ้า พระบุตรจะประสูติเป็นเจ้าฟ้าชั้นตรี [2]
- เป็นพระโอรส พระธิดา ในพระองค์เจ้าหลานหลวงชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอ (พระองค์เจ้าชั้นโท) แต่ทั้งนี้จะต้องทรงเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอโดยแท้มาแต่ประสูติ
- เป็นพระโอรส พระธิดา ในพระองค์เจ้าหลานหลวงชั้นพระวรวงศ์เธอ (พระองค์เจ้าชั้นตรี) หรือในหม่อมเจ้าหลานหลวงที่ได้รับการสถาปนายกขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ และในพระบรมราชโองการสถาปนาพระอิสริยยศได้ระบุไว้ว่า ถ้ามีพระบุตรให้เป็นหม่อมเจ้า อาทิพระบรมราชโองการสถาปนาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า สายราชสกุลบริพัตรและสายราชสกุลยุคล ในต้นรัชสมัยรัชกาลที่ 6 [3] หรืออาทิหม่อมเจ้าชั้นพระราชปนัดดา(เหลน)ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากราชสกุลจักรพันธุ์ และราชสกุลภาณุพันธุ์ ที่พระบิดาได้รับการสถาปนายกขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 5 [4] ก็เป็นหม่อมเจ้าในคุณลักษณะนี้
- เป็นพระโอรส พระธิดา ในกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง) ซึ่งมีพระชนนีที่มิได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าจอม
- เป็นพระโอรส พระธิดา ในพระองค์เจ้าลูกเธอในกรมพระราชวังบวร
เจ้านายที่ดำรงพระยศหม่อมเจ้านี้ หากได้ทรงรับราชการสนองพระเดชพระคุณมาด้วยดี มีความดีความชอบต่อแผ่นดิน หรือต่อองค์พระมหากษัตริย์ ก็อาจได้รับการสถาปนาเลื่อนพระยศเป็นพระองค์เจ้าได้ ซึ่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก็มีอยู่เป็นอันมาก
หม่อมเจ้านับเป็นเจ้านายชั้นพระอนุวงศ์ และเป็นเจ้านายในลำดับสุดท้าย ถัดจากชั้นหม่อมเจ้าลงไปหรือถ้านับจากชั้นบุตรของหม่อมเจ้าแล้วนั้นถือเป็นสามัญชน ไม่นับว่าเป็นเจ้า แม้จะมีคำนำหน้านามเป็นหม่อมราชวงศ์หรือหม่อมหลวงก็ตาม [5] [6]
หม่อมเจ้าในสมัยกรุงศรีอยุธยา
แก้ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีหม่อมเจ้ามาแต่สมัยต้นกรุงเนื่องมีหลักฐานปรากฏชัดเจนเพราะมีศักดินาดังกล่าวอยู่ในพระอัยการพลเรือนที่ได้ตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ[7]
หม่อมเจ้าที่ปรากฏพระนามในสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น หม่อมเจ้าบัวหรือหม่อมเจ้าหญิงอำไพ (เจ้าแม่วัดดุสิต) พระราชธิดาในสมเด็จพระเอกาทศรถ, หม่อมเจ้าเจิดอุภัย พระสวามีในเจ้าแม่วัดดุสิต, หม่อมเจ้าอาทิตย์ (พระองค์เจ้าอาทิตย์ กรมหมื่นพิทักษ์ภูเบศร์) ในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์ กรมขุนเสนาพิทักษ์
หม่อมเจ้าในสมัยกรุงธนบุรี
แก้หม่อมเจ้าในสมัยกรุงธนบุรีนั้นส่วนมากเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ สถาปนาราชวงศ์จักรี หม่อมเจ้าเหล่านี้จึงถูกถอดพระอิสริยยศเป็นสามัญชน บางพระองค์ได้รับใช้ใกล้ชิดราชสำนักก็จะได้รับแต่งตั้งให้มียศฐาบรรดาศักดิ์
หม่อมเจ้าในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
แก้หม่อมเจ้าในราชวงศ์จักรี
แก้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกพระองค์มีพระเจ้าน้องยาเธอ พระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าหลานเธอ ทั้งฝ่ายหน้าฝ่ายในหลายพระองค์ทกๆ แผ่นดิน พระเจ้าน้องยาเธอ พระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าหลานเธอก็มีความเจริญพระราชวงศ์ ด้วยมีบุตรบุตรีและนัดดาประนัดดาสืบแพร่หลายเป็นอันมาก ผู้ที่เป็นบุตรบุตรีเจ้าฟ้าแลพระองค์เจ้านั้นก็เป็นหม่อมเจ้า[8]
— พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นั้นตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 5 พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงมีพระราชโอรสหลายพระองค์ พระราชโอรสนั้นก็ทรงมีพระโอรสที่ดำรงพระยศเป็นหม่อมเจ้าต่อมา ทำให้ราชวงศ์จักรีมีหม่อมเจ้าหลายพันพระองค์ ซึ่งหากหม่อมเจ้าพระองค์ใด ทำคุณประโยชน์แก่แผ่นดิน ก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นเป็นพระองค์เจ้า
หม่อมเจ้าที่ยังทรงพระชนม์อยู่ในปัจจุบัน (เรียงลำดับตามชันษา)
แก้พระนาม | ประสูติ | พระบิดา | พระมารดา |
---|---|---|---|
หม่อมเจ้าอุทัยเที่ยง ชยางกูร | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2473 | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป | หม่อมแหวนศุลี ชยางกูร ณ อยุธยา |
หม่อมเจ้าจรูญฤทธิเดช ชยางกูร | 10 มกราคม พ.ศ. 2476 | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป | หม่อมแหวนศุลี ชยางกูร ณ อยุธยา |
หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ | 24 ตุลาคม พ.ศ. 2476 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช | หม่อมพเยาว์ ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา |
หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล | 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ | หม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา |
หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล | 22 มกราคม พ.ศ. 2490 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ | หม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา |
หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล | 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร | หม่อมบัวทอง ยุคล ณ อยุธยา |
หม่อมเจ้านภดลเฉลิมศรี ยุคล | 23 ตุลาคม พ.ศ. 2496 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ | หม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา |
หม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล | 1 มกราคม พ.ศ. 2521 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล | หม่อมไฉไล ยุคล ณ อยุธยา |
อดีตหม่อมเจ้าที่ยังทรงพระชนม์อยู่ในปัจจุบัน (เรียงลำดับตามชันษา)
แก้พระนาม | ประสูติ | พระบิดา | พระมารดา | สิ้นสุด | สาเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
อินทุรัตนา บริพัตร (หม่อมเจ้าอินทุรัตนา ในสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต) |
2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2465 | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต | หม่อมสมพันธุ์ บริพัตร ณ อยุธยา | 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า[9][a] |
พันธุ์วโรภาส เศวตรุนทร์ (หม่อมเจ้าพันธุ์วโรภาส ภาณุพันธุ์) |
4 สิงหาคม พ.ศ. 2476 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช | หม่อมมาลี ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา | 31 มีนาคม พ.ศ. 2501 | ลาออกจากฐานันดรศักดิ์[10] |
พันธุ์สวลี กิติยากร (หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล) |
24 กันยายน พ.ศ. 2476 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล | หม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล | 10 เมษายน พ.ศ. 2499 | ลาออกจากฐานันดรศักดิ์[11] |
วุฒิเฉลิม วุฒิชัย (หม่อมเจ้าวุฒิเฉลิม วุฒิชัย) |
21 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร | หม่อมประพันธ์ วุฒิชัย ณ อยุธยา | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 | ลาออกจากฐานันดรศักดิ์[12] |
ภุมรีภิรมย์ เชลล์ (หม่อมเจ้าภุมรีภิรมย์ ยุคล) |
22 มีนาคม พ.ศ. 2482 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ | ฟองจันทร์ ศิริวัติ | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 | ลาออกจากฐานันดรศักดิ์[13] |
ปัทมนรังษี เสนาณรงค์ (หม่อมเจ้าปัทมนรังษี ยุคล) |
12 สิงหาคม พ.ศ. 2484 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ | หม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา | 29 มกราคม พ.ศ. 2508 | ลาออกจากฐานันดรศักดิ์ |
ศรีสว่างวงศ์ บุญจิตราดุลย์ (หม่อมเจ้าศรีสว่างวงศ์ ยุคล) |
17 สิงหาคม พ.ศ. 2489 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร | หม่อมทองแถม ยุคล ณ อยุธยา | 27 ธันวาคม พ.ศ. 2521 | ลาออกจากฐานันดรศักดิ์[14] |
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล (หม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล) |
24 ตุลาคม พ.ศ. 2493 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร | หม่อมทองแถม ยุคล ณ อยุธยา | 16 มิถุนายน พ.ศ. 2567 | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า |
จุฑาวัชร วิวัชรวงศ์ (หม่อมเจ้าจุฑาวัชร มหิดล) |
29 สิงหาคม พ.ศ. 2522 | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว | สุจาริณี วิวัชรวงศ์ | 13 มกราคม พ.ศ. 2540 | ถอดออกจากฐานันดรศักดิ์ |
วัชรเรศร วิวัชรวงศ์ (หม่อมเจ้าวัชรเรศร มหิดล) |
27 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว | สุจาริณี วิวัชรวงศ์ | 13 มกราคม พ.ศ. 2540 | ถอดออกจากฐานันดรศักดิ์ |
ภานุมา ยุคล (หม่อมเจ้าภานุมา ยุคล) |
20 มิถุนายน พ.ศ. 2524 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล | หม่อมไฉไล ยุคล ณ อยุธยา | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552 | ลาออกจากฐานันดรศักดิ์ |
จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ (หม่อมเจ้าจักรีวัชร มหิดล) |
26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว | สุจาริณี วิวัชรวงศ์ | 13 มกราคม พ.ศ. 2540 | ถอดออกจากฐานันดรศักดิ์ |
วัชรวีร์ วิวัชรวงศ์ (หม่อมเจ้าวัชรวีร์ มหิดล) |
14 มิถุนายน พ.ศ. 2528 | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว | สุจาริณี วิวัชรวงศ์ | 13 มกราคม พ.ศ. 2540 | ถอดออกจากฐานันดรศักดิ์ |
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา (หม่อมเจ้าสิริวัณวรี มหิดล) |
8 มกราคม พ.ศ. 2530 | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว | สุจาริณี วิวัชรวงศ์ | 15 มิถุนายน พ.ศ. 2548 | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า[15][b] |
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2470/A/253.PDF
- ↑ https://th.m.wikipedia.org/wiki/การเฉลิมพระยศเจ้านาย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ยกพระวรวงษ์เธอ เป็นพระเจ้าวรวงษ์เธอ, เล่ม ๒๗, ตอน ก, ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๓, หน้า ๙๙
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2443/003/17.PDF
- ↑ https://th.m.wikipedia.org/wiki/พระบรมวงศานุวงศ์
- ↑ https://www.silpa-mag.com/culture/article_26972
- ↑ ฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ไทย ตอนที่ 3 พระยศหม่อมเจ้า. จากเว็บไซต์ oknation.net [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 19-02-57.
- ↑ ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. ISBN 974-221-818-8
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า, เล่ม 44, 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470, หน้า 253
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวังที่ ๑/๒๕๐๑ เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาออกจาฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์, เล่ม 75, ตอนที่ 32, 22 เมษายน พ.ศ. 2501, หน้า 1354
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวังที่ ๓/๒๔๙๙ เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาออกจาฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์, เล่ม 73, ตอนที่ 59, 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2499, หน้า 2126
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวังที่ ๔/๒๔๙๙ เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาออกจาฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์, เล่ม 73, ตอนที่ 61, 7 สิงหาคม พ.ศ. 2499, หน้า 2222
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวังที่ ๑/๒๕๐๖ เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาออกจาฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์, เล่ม 80, ตอนที่ 21, 5 มีนาคม พ.ศ. 2506, หน้า 634
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาออกจาฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์, เล่ม 96, ตอนที่ 18, 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522, หน้า 587
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาปนา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ พระธิดาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร, เล่ม 122, ตอนที่ 10 ข, 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2548, หน้า 1
หมายเหตุ
แก้- ↑ ต่อมาทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496
- ↑ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562