หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล
หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล (9 กรกฎาคม พ.ศ. 2494) เป็นโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร ประสูติแต่บัวทอง ไตลังคะ ท่านชายทรงเป็นรัชทายาทลำดับที่ 4 ตามกฏมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์
หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล | |
---|---|
ประสูติ | 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 |
หม่อม | เปรมศิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา (หย่า) หม่อมมาลินี ยุคล ณ อยุธยา |
พระบุตร |
|
ราชสกุล | ยุคล |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร |
พระมารดา | บัวทอง ไตลังคะ |
พระประวัติ
แก้หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล มีพระนามลำลองว่า ท่านชายเม็ดบัว ประสูติเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 เป็นโอรสในพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร กับบัวทอง ไตลังคะ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนาฏศิลป์ไทย เป็นนัดดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ และเป็นพระราชปนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระเชษฐาร่วมพระบิดาที่สำคัญหนึ่งองค์คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล [1] ได้รับประทานพระนาม "ฑิฆัมพร" จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล
เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
กรณียกิจ
แก้หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล ทรงร่วมในพระราชพิธีต่าง ๆ และเสด็จแทนพระองค์อยู่บ่อยครั้ง รวมถึงได้รับเชิญเป็นองค์ประธานและร่วมงานต่าง ๆ
ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 หม่อมเจ้าทิฆัมพรทรงเป็นหนึ่งในผู้ถวายพระเต้าน้ำอภิเษกแด่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในระหว่างการสรงมุรธาภิเษก[2] โดยหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล ถวายบังคม 3 ครั้ง แล้วเสด็จขึ้นมณฑปพระกระยาสนาน แล้วทูลเกล้าฯ ถวายพระเต้าน้ำอภิเษกต่าง ๆ รวม 22 พระเต้า พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562
ในวันที่ 5 กรกฎาคม พุทธศักราช 2563 เวลา 18 นาฬิกา 10 นาที พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล เสด็จแทนพระองค์ ไปทรงจุดเทียนพรรษา ที่ทรงพระราชอุทิศถวายเป็นพุทธบูชา แด่พระพุทธรูปสำคัญที่ประดิษฐาน ณ พระศรีรัตนเจดีย์, หอศาสตราคม ในพระบรมมหาราชวัง และพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เนื่องในวันอาสาฬหบูชา และเทศกาลวันเข้าพรรษา 2563 เพื่อน้อมรำลึกถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ คือเป็นพระพุทธเจ้า ผู้สามารถแสดงสิ่งที่ตรัสรู้ ให้ผู้อื่นรู้ตาม ด้วยการแสดงธรรมเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นพระสูตรแรกที่พระพุทธองค์ทรงแสดงขึ้นในโลก ประกอบด้วยหลักธรรมสำคัญ คือ สิ่งไม่ควรเสพสองอย่าง, มัชฌิมาปฏิปทา และอริยสัจสี่ จึงเป็นหลักธรรมปฏิบัติ ให้กับพุทธศาสนิกชน เพื่อการดำรงชีวิตอย่างไม่ประมาท[3]
นอกจากนี้ หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล ยังได้รับพระกรุณาธิคุณจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ให้เสด็จแทนพระองค์ไปในวโรกาสต่างๆ อาทิ
- วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2561 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงโปรดให้หม่อมเจ้า ฑิฆัมพร ยุคล เสด็จแทนพระองค์ในการฌาปนกิจศพนายวรุฒ วรธรรม ที่เมรุวัดลัฏฐิวัน จังหวัดเชียงใหม่ [4]
- วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2563 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ โปรดให้ หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล เสด็จแทนพระองค์ไปยังหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเปิดนิทรรศการจิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ 42
- วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2563 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ โปรดให้ หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล เป็นผู้แทนพระองค์เปิดงานเกษตรกำแพงแสน ครั้งที่ 24 ในวันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม 2563 ภายใต้ Theme ในการจัดงาน คือ “KU เฮ้ว เฮ้ว”[5]
ชีวิตส่วนองค์
แก้หม่อมเจ้า[6]ฑิฆัมพร ยุคล เสกสมรสกับเปรมศิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา และหม่อมมาลินี ยุคล ณ อยุธยา (พิศาลสารกิจ) มีโอรส 1 คน คือ[7]
หม่อมราชวงศ์ทิตตาทร ยุคล
นอกจากนี้หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล ยังทรงมีความเชี่ยวชาญในการทำอาหาร ไม่ว่าจะเป็นอาหารไทย อาหารตะวันตก และยังร่วมเป็นพิธีกรพิเศษในรายการ FOOD PRINCE: เที่ยวกับลิง กินกับเจ้า ในระหว่าง พ.ศ. 2555-2556 กับ เมทนี บุรณศิริ อีกด้วย[8] รวมถึงได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษเรื่องการทำอาหารให้แก่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
พระเกียรติยศ
แก้ธรรมเนียมพระยศของ หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล | |
---|---|
การทูล | ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | กระหม่อม/หม่อมฉัน |
การขานรับ | กระหม่อม/เพคะ |
ลำดับโปเจียม | 22 |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2562 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[11][12]
- พ.ศ. 2562 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๓ (ว.ป.ร.๓)
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ บ้านเม็ดบัว พักหัวใจบนแม่ริม
- ↑ หมายกำหนดการ ที่ ๑๐/๒๕๖๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ เก็บถาวร 2019-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล เสด็จแทนพระองค์ไปทรงจุดเทียนพรรษาที่ทรงพระราชอุทิศถวายเป็นพุทธบูชา
- ↑ หม่อมเจ้า ฑิฆัมพร ยุคล เสด็จแทนพระองค์ในการฌาปนกิจศพ โอ วรุฒ วรธรรม ที่เมรุวัดลัฏฐิวัน
- ↑ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ โปรดให้ หม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคล เป็นผู้แทนพระองค์ เสด็จมาเป็นประธานเปิดงานเกษตรกำแพงแสน ครั้งที่ 24
- ↑ ราชสกุล “ยุคล” กับการเมืองไทย
- ↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ แจ๊คแฟนฉันแตะมือพล่ากุ้งป่วนวาเลนไทน์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙, ตอน ๓๕ ข , ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕, หน้า ๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕, ตอน ๑๖ ข ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า กับเหรียญรัตนาภรณ์ และพระราชทานยศทหารชั้นนายพลเป็นกรณีพิเศษ, เล่ม ๑๓๖, ตอน ๑๖ ข, ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒, หน้า ๒
- ↑ โปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชฯ-เหรียญรัตนาภรณ์ ‘ม.จ.จุลเจิม-ม.จ.เฉลิมศึก’ ขึ้น ‘พลเอก’