พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ (พระนามเดิม หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร;[1] ประสูติ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2500) เป็นพระวรชายาพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี | |
---|---|
พระองค์เจ้าชั้นโท กรมหมื่นสุทธนารีนาถ | |
ประสูติ | 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 โรงพยาบาลกาย ลอนดอน สหราชอาณาจักร |
พระสวามี | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2520–2534) |
พระธิดา | สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร |
พระมารดา | พันธุ์สวลี กิติยากร |
ศาสนา | พุทธเถรวาท |
ลายพระอภิไธย |
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ เป็นธิดาพระองค์ใหญ่ของหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร กับท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร[1] พระองค์เป็นทั้งพระภาติยะและอดีตพระสุณิสาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องจากได้ทรงอภิเษกสมรสกับพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งในขณะนั้นยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ และพระองค์มีพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาฯ ถือเป็นเจ้านายพระองค์แรกที่ดำรงพระอิสริยยศเป็นพระวรชายา[2] และพระองค์ยังมีพระธิดาเพียงพระองค์เดียวคือสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
ภายหลังการหย่าในปี พ.ศ. 2534 พระองค์ยังมีสถานะเป็นเจ้านายและได้รับการเฉลิมพระนามว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ[3] ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติและทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2562 พระองค์ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมฝ่ายใน ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ[4]
พระประวัติ
พระชนมชีพในวัยเยาว์
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ มีพระนามเดิมว่า หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร[1] ประสูติเมื่อวันเสาร์ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ปีระกา นพศก จ.ศ. 1319 ตรงกับวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ณ โรงพยาบาลกายส์ เขตเซาท์วาร์ก กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ[5] เป็นธิดาคนใหญ่ของหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร พระเชษฐาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง กับท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร (เดิม: หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล) เหตุที่หม่อมหลวงโสมสวลีประสูติที่ลอนดอนสืบเนื่องมาจากบิดา คือ หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ ได้ไปศึกษากฎหมายในอังกฤษหลังพระราชทานน้ำสังข์แล้ว จนเมื่อหม่อมหลวงโสมสวลีมีอายุได้ 2 ปี จึงได้กลับมายังประเทศไทย[6]
พระนาม โสมสวลี แปลว่า "ผู้สืบเชื้อสายมาจากพระจันทร์" คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ[7] เป็นนามที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ครอบครัวและสหายในโรงเรียนราชินีมักเรียกสั้น ๆ ว่า "คุณโสม"[8] ส่วนพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเรียกว่า "โสม" เฉย ๆ[9] มีน้องสาวเพียงคนเดียวคือหม่อมหลวงสราลี กิติยากร หรือ "คุณน้ำผึ้ง"[10] ซึ่งเป็นนักแสดงและพิธีกร[11]
หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากรได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เข้าศึกษาในระดับอนุบาลที่โรงเรียนจิตรลดา รุ่นที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2504[12] รุ่นเดียวกับสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี[6] แต่เมื่อสำเร็จการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ ย้ายไปเป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2510 พระองค์ก็ทรงลาออกจากโรงเรียนเดิมและย้ายไปประทับที่เชียงใหม่โดยเข้าเรียนที่โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย[13] เป็นเวลา 2 ปี และเมื่อบิดาได้ย้ายกลับมายังกรุงเทพมหานคร ทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระยะหนึ่ง[6] แต่ด้วยมิสะดวกต่อการรับส่ง จึงได้ย้ายมาศึกษาอยู่ที่โรงเรียนราชินี เนื่องจากเป็นเส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ไปยังที่ทำงานของบิดา[8]
หม่อมหลวงโสมสวลีและน้องสาว เติบโตในวังเทเวศร์และได้รับการเลี้ยงดูอย่างสามัญ มีพระบิดาไปรับส่งที่โรงเรียน ในวัยเยาว์พระองค์ทรงปฏิบัติหน้าที่งานบ้านด้วยพระองค์เอง เช่น จัดที่นอนให้เป็นระเบียบ กวาดบ้านถูพื้น รวมไปถึงการปลูกผักและตัดหญ้า[10] ทั้งนี้โปรดการประกอบอาหาร และวิชาภาษามากกว่าวิชาใด ๆ[8] แต่พระองค์ไม่ถูกกับวิชาคำนวณ เมื่อพระองค์สำเร็จการศึกษาระดับ ม.ศ. 2 พระองค์ก็ขอร้องกับบิดามารดา เพื่อขอออกมาศึกษาวิชาที่พระองค์ชอบ[8]
อภิเษกสมรส
วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2519 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประกอบพิธีหมั้นระหว่างพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะนั้นยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร กับหม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต[14][15]
วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2520 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีอภิเษกสมรส ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี วังสระปทุม และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร[16] ในการนี้ได้เสด็จออก ณ ท้องพระโรง พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย และสีหบัญชร พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท พระบรมมหาราชวัง เพื่อรับการถวายพระพรชัยมงคล
วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2520 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จออก ณ ท้องพระโรงกลาง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง ให้คณะทูตถวายพระพรชัยมงคล
พระองค์ทรงตั้งพระครรภ์พระราชกุมารพระองค์แรก แต่ด้วยทรงมีปัญหาความเครียดส่วนพระองค์จึงแท้งพระโอรสขณะมีอายุครรภ์ได้ 4 เดือน ต่อมาจึงตั้งพระครรภ์เป็นครั้งที่สองและก็มีปัญหาด้านความเครียดส่วนพระองค์อีกเช่นกัน จนเกือบคลอดก่อนกำหนดขณะอายุครรภ์ได้ 6 เดือน พระองค์ต้องบรรทมพักผ่อนและให้แพทย์ฉีดยา[17] และมีพระประสูติกาลพระธิดาในเวลาต่อมา คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2521
วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2534 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศเฉลิมพระนามพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์นั้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ[18] โดยสร้อยพระนาม "พระวรราชาทินัดดามาตุ" หมายถึง "พระมารดาของพระราชนัดดาพระองค์แรกแห่งพระมหากษัตริย์ผู้ประเสริฐ"
ครั้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติและทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2562 พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมฝ่ายใน ตามจารึกพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ด้วยเป็นพระมารดาผู้ทรงอภิบาลพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ กอปรกับทรงประกอบพระกรณียกิจสนองพระเดชพระคุณสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย[4]
ชีวิตส่วนพระองค์
พระองค์ชื่นชอบงานฝีมือฝึกฝนด้านหัตถกรรมอย่าง การร้อยพวงมาลัย, จัดดอกไม้ และเย็บปักถักร้อย โดยโปรดงานนิตติ้งมากที่สุด[10] โปรดเลี้ยงสัตว์คือ ปลาทอง หากพระองค์จะเสด็จไปประทับที่ใดก็ต้องเอาปลาทองที่ทรงเลี้ยงไปด้วย[19] โปรดการเล่นเครื่องดนตรี คือ กีตาร์ และเปียโน[9] ดังคำให้สัมภาษณ์ของท่านผู้หญิงพันธุ์สวลีตอนหนึ่งว่า "คุณโสมชอบเล่นกีตาร์ ดิฉัน [ท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี] ให้ท่านผู้หญิงอรุณ กิติยากร มาสอนเปียโนอยู่เป็นประจำ"[9] นอกจากนี้ยังสามารถทรงเครื่องดนตรีไทยได้บ้าง ได้แก่ ระนาดเอก และฆ้องวง ทั้งนี้ทรงมีพื้นฐานด้านบัลเลต์, ศิลปะการแสดง และการเต้นลีลาศ[20] แต่สิ่งที่พระองค์ชื่นชอบและเป็นที่รู้จักที่สุดคือการประกอบอาหาร ซึ่งพระองค์ได้ทำพระกระยาหารไปถวายยังพระบรมวงศานุวงศ์[21] เมื่อปลายปี พ.ศ. 2553 ในช่วงมหาอุทกภัย พระองค์ก็ทรงประกอบอาหารแจกจ่ายไปยังประชาชนที่ประสบภัยในจังหวัดนครราชสีมา[22] และหลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชช่วงปลายปี พ.ศ. 2559 พระองค์ทรงทอดไก่ประทานแก่ประชาชนที่มาร่วมถวายสักการะพระบรมศพด้วยพระองค์เอง[23]
พระองค์เป็นพระมารดาที่ห่วงใยในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา พระราชธิดาเพียงพระองค์เดียว ทรงกล่าวว่า "ไม่หวงมากนัก แต่มีความเป็นห่วงมากกว่า ทั้งเรื่องความประพฤติ การวางตัว..."[17] และทรงสอนอีกด้วยว่า "...ให้รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น นอกจากช่วยเหลือตัวเองแล้ว ก็ต้องช่วยเหลือผู้อื่นด้วย มีเมตตา..." และจะทรงดุเมื่อพระราชธิดาทรงทำผิด[20] พระองค์เคยกล่าวไว้ในรายการ วูดดี้เกิดมาคุย ว่า "...เราถือคติเลี้ยงวัวให้ผูกรักลูกต้องตี"[21] ด้วยพระองค์ตีสมเด็จเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาเมื่อครั้งที่ยังทรงศึกษาอยู่โรงเรียนราชินีด้วยก้านมะยม เพราะทรงเอาวงเวียนไปทิ่มขาเพื่อน พระองค์เจ้าโสมสวลีจึงตีเพื่อให้พระธิดารู้ว่าเพื่อนก็รู้สึกเจ็บเช่นกัน[17] นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นธิดาที่มีความกตัญญูต่อบุพการี แม้บางปีจะมีพระราชกรณียกิจมาก แต่เมื่อถึงวันแม่แห่งชาติ ก็จะทรงร้อยพวงมาลัยด้วยพระองค์เอง และทรงขับรถยนต์พระที่นั่งไปหาท่านผู้หญิงพันธุ์สวลีที่พระตำหนักปากช่องหรือที่พัทยาเป็นประจำทุกปี[24]
ปัจจุบันพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถทรงประทับที่พักสองแห่งสลับกัน แห่งแรกคือ วังเทเวศร์ ตั้งอยู่บริเวณถนนกรุงเกษม ปากคลองผดุงกรุงเกษม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ทางทิศใต้ติดกับวังเทวะเวสม์ ทางทิศตะวันออกติดกับวัดนรนาถสุนทริการาม และประทับคอนโดใจกลางเมืองอีกแห่งหนึ่ง[19] ทั้งนี้พระองค์ยังทรงอุปการะสิรพัชรา โสพัชรมณี ชื่อเล่น ใบพลู ไว้ในพระอุปถัมภ์[25][26][27] ตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็ก[28] ทรงกล่าวถึงสิรพัชราว่า "...พระองค์หญิงเลี้ยงเขาเป็นลูกอีกคน..." ทั้งนี้ยังทรงติดต่อกับผู้อื่นผ่านทางโลกออนไลน์ โดยเฉพาะเพื่อนของสิรพัชรา[20]
พระกรณียกิจ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจด้านต่าง ๆ แบ่งเบาพระราชภาระเจ้านายพระองค์อื่นในการเสด็จแทนพระองค์ไปทรงประกอบพระกรณียกิจต่าง ๆ จนลุล่วงด้วยดี สมกับที่ทรงวางพระราชหฤทัยตลอดมา
และวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ รศ.ดร.นายแพทย์พิชิต สุวรรณประกร เป็นผู้แทนพระองค์นำถุงยังชีพ 3,000 ถุง ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย ในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ[29]
โครงการ/มูลนิธิในพระอุปถัมภ์
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถทรงมีความสนพระทัยในด้านสังคมสงเคราะห์ และการสาธารณสุข ทรงรับโครงการต่าง ๆ ของสภากาชาดไทย ไว้ในพระอุปถัมภ์หลายโครงการ และทรงจัดตั้งมูลนิธิและโครงการส่วนพระองค์อีกหลายโครงการ อาทิ
- มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ทรงเป็นนายกกิตติมศักดิ์)
- มูลนิธิเพชรรัตน-สุวัทนา (ทรงเป็นนายกกิตติมศักดิ์)
- มูลนิธิศาสตราจารย์ นายแพทย์ หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร
- มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย (ทรงดำรงตำแหน่งนายกกิตติมศักดิ์ตลอดพระชนม์ชีพ)[1]
- มูลนิธิสงเคราะห์เด็กของศาลเยาวชนและครอบครัว
- มูลนิธิบ้านบางแค
- มูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย
- มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก ของศาลเยาวชนและครอบครัว
- มูลนิธิสถาบันแสงสว่าง
- มูลนิธิธรรมจารินีวิทยา
- มูลนิธิสงเคราะห์เด็กของศาลเยาวชนและครอบครัว
- โครงการช่วยลดการติดเอดส์จากแม่สู่ลูก สภากาชาดไทย
- โครงการคืนชีวิตให้พ่อแม่เพื่อลูกน้อยที่ติดเอดส์
- กองทุนยาพระวรราชาทินัดดามาตุ สำหรับผู้ติดเชื้อเอดส์ สภากาชาดไทย
- กองทุนนมสำหรับเด็กในโครงการช่วยลดการติดเอดส์จากแม่สู่ลูก
- กองทุนโรคมะเร็งในเด็ก
- สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี
- สมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย
- สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่
- สมาคมพัฒนาแพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย
- สภาแม่ดีเด่นแห่งชาติ
- โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา
- วัดหนองน้ำขุ่น อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
ผลงานการแสดง
ในวัยเยาว์พระองค์เคยแสดงละครโทรทัศน์ครั้งแรกทางช่อง 4 บางขุนพรหม เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ทรงรับบทเป็น นางพิมพิลาไลยในวัยเด็ก และเป็นนักแสดงประกอบในภาพยนตร์เรื่อง น้ำผึ้งขม (พ.ศ. 2517) ทั้งแสดงละครเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในบางวาระ[20] นอกจากนี้พระองค์แสดงละครเวทีสองเรื่องคือ "รักษาป่า" และหลังจากอภิเษกสมรสกับอดีตพระราชสวามีก็ทรงแสดงละครเวทีเรื่อง "เกาะสวรรค์" ร่วมกับสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และหม่อมหลวงสราลี กิติยากร พระขนิษฐา[30][31]
ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2557 ทรงร่วมแสดงในละครเวที เรื่อง ซูสีไทเฮา เดอะ มิวสิคัล ในบทนางนิวฮูลู่ ซึ่งเป็นมารดาของซูสีไทเฮา[32] เพื่อหารายได้สมทบทุนมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยากของพระองค์[31] และในปลายปีเดียวกันนั้นพระองค์ได้ทรงร่วมแสดงในละครโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เรื่อง รักเร่[33] ทรงรับบทเป็น พร้อมจิต[34] ต่อมาใน พ.ศ. 2559 ทรงร่วมแสดงในละครเวทีเรื่อง ม่านประเพณี ประกาศิตอาญาสวรรค์ ในบทพระมหาเทวีสวรรค์[35][36]
พระเกียรติยศ
ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
ตราประจำพระองค์ | |
ธงประจำพระองค์ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
ลำดับโปเจียม | 7 |
พระอิสริยยศ
- 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 – 3 มกราคม พ.ศ. 2520 : หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร
- 3 มกราคม พ.ศ. 2520 : หม่อมหลวงโสมสวลี มหิดล[37]
- 3 มกราคม พ.ศ. 2520 – 12 สิงหาคม พ.ศ. 2534 : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาฯ[16]
- 12 สิงหาคม พ.ศ. 2534 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ[18]
- 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ[38]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2520 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายใน)[39]
- พ.ศ. 2562 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายใน)[38]
- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายใน)[40]
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[41]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[42]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[43]
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[44]
- พ.ศ. 2523 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[45]
- พ.ศ. 2562 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๑ (ว.ป.ร.๑)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
เยอรมนีตะวันตก | พ.ศ. 2527 | Grand Cross (ชั้น 1 พิเศษ) เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี[46] | |
เนปาล | พ.ศ. 2527 | Member of The Most Glorious Order of Ojaswi Rajanya | |
สเปน | พ.ศ. 2530 | Knight Grand Cross of The Order of Isabella the Catholic | |
บรูไน | Family Order of Brunei 2nd Class - Darjah Kerabat Seri Utama Yang Amat Dihormati - D.K. (Seri Utama) | ||
ญี่ปุ่น | พ.ศ. 2534 | ชั้น 1 ชั้นสายสะพาย เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ | |
เนเธอร์แลนด์ | พ.ศ. 2547 | Knight Grand Cross เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา |
พรรณพืช และสถานที่อันเนื่องด้วยพระนาม
- กล้วยไม้โสมสวลี – มีลักษณะลำต้นขนาด กะทัดรัด สูง 40-50 เซนติเมตร ดอกมีสีม่วงครามอ่อน มีลายเส้นสีขาวอ่อนๆ แฝงอยู่ในกลีบ เมื่อดอกเริ่มบานใหม่ๆจะมีสีเข้ม แต่เมื่อบานเต็มที่สีม่วงของดอกจะสว่างขึ้น ส่วน คอดอกเป็นสีขาว ก้านช่อของดอกไม่ยาวมาก ปลูกเลี้ยงง่าย หากหน่อสุดแล้ว จะออกดอกตลอดทั้งปี จึงเหมาะนำไปทำเป็นกล้วยไม้ประดับชนิดตั้งแสดงทั้งต้นและดอก
- อาคารโสมสวลี – คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่
- อาคารโสมสวลี – มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี
- อาคารโสมสวลี 48 พรรษา – ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค
- อาคารโสมสวลี – คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม
- วัดพระวรราชาทินัดดามาตุ – จังหวัดเพชรบูรณ์
- ศาลาโสมสวลี 52 ปี – วัดกระทิง จังหวัดศรีสะเกษ
- หอคัมภีร์ธรรมกิติยากรในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ – วัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย จังหวัดลำพูน
- อาคารเฉลิมพระเกียรติพระชันษา 60 ปี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ – ศาลเจ้าพ่อเสือ จังหวัดนครปฐม
- พระพุทธนาคนินนาทวรราชาทินัดดามาตุ สัฏฐิวรรษมงคล – พระพุทธรูปประจำวันประสูติ
พงศาวลี
อ้างอิง
- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "ความเป็นมาของมูลนิธิ". มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-11. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ. ราชาศัพท์. เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ, 2555, หน้า 43
- ↑ พระเจ้าวรวงศ์เธอ-ตอนที่-2 "พระเจ้าวรวงศ์เธอ (ตอนที่ ๓)". สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. 26 พฤษภาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2559.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 4.0 4.1 "ประกาศสถาปนา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (15ง): 7. 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-05. สืบค้นเมื่อ 2019-05-05.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "Search birth records". findmypast.co.uk. สืบค้นเมื่อ 25 August 2012.
KITIYAKARA Soamsawali Southwark London 1957
- ↑ 6.0 6.1 6.2 พระราชประวัติและพระบรมฉายาลักษณ์เนื่องในพระราชพิธีอภิเษกสมรส สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาฯ กับความเป็นมาของตำแหน่งมกุฎราชกุมาร, หน้า 175
- ↑ ใกล้เบื้องพระยุคลบาท 'กับลัดดาซุบซิบ', หน้า 100
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 พระราชประวัติและพระบรมฉายาลักษณ์เนื่องในพระราชพิธีอภิเษกสมรส สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาฯ กับความเป็นมาของตำแหน่งมกุฎราชกุมาร, หน้า 176
- ↑ 9.0 9.1 9.2 พระราชประวัติและพระบรมฉายาลักษณ์เนื่องในพระราชพิธีอภิเษกสมรส สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาฯ กับความเป็นมาของตำแหน่งมกุฎราชกุมาร, หน้า 186
- ↑ 10.0 10.1 10.2 "สายใยผูกพันอันน่าประทับใจของ พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ กับ พระขนิษฐา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-05-03.
- ↑ เปิดธุรกิจส่วนตัวสะใภ้จิราธิวัฒน์[ลิงก์เสีย]
- ↑ "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ". โรงเรียนจิตรลดา. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ คณะอุร์สุลินแห่งสหภาพโรมัน ประเทศไทย - พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินิดดามาตุ เสด็จมาร่วมงานคืนสู่เหย้าชาวเรยีนาฯ
- ↑ "แถลงการณ์พระราชวัง เรื่องทรงหมั้น" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (150): 3743. 7 ธันวาคม พ.ศ. 2519.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ข่าวในพระราชสำนัก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (157ง): 4103. 28 ธันวาคม พ.ศ. 2519.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 16.0 16.1 "พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (13ก): 62. 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 17.0 17.1 17.2 "พระองค์โสม ทรงภูมิใจใน องค์ภา เป็นลูกที่ดี ทำงานเพื่อประเทศชาติ". ไทยรัฐ. 29 มีนาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 18.0 18.1 "พระบรมราชโองการ ประกาศเฉลิมพระนาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (140ก ฉบับพิเศษ): 1. 12 สิงหาคม พ.ศ. 2534.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 19.0 19.1 "พระองค์โสม โปรดปลาทอง องค์ภา โปรดสัตว์แปลก". ไทยรัฐออนไลน์. 11 ตุลาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 20.0 20.1 20.2 20.3 "โสมสกาวกลางหทัยไทยทั้งมวล". Hiclass Society. 13 พฤษภาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 21.0 21.1 "พระองค์โสม ประทานสัมภาษณ์พิเศษในวู้ดดี้เกิดมาคุย". กะปุกดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระองค์โสมฯ ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจ จ.นครราชสีมา". ครอบครัวข่าวสาม. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "พระองค์โสม ทรงทอดไก่ประทานพสกนิกรที่มาร่วมถวายสักการะพระบรมศพ". มติชน. 22 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ อัครเดช สุภัคกุล (23 กันยายน 2554). "วันประสูติท่านหญิงพันธุ์สวลี". คมชัดลึก. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-18. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงเปิดงานวันแม่ ประจำปีการศึกษา 2552". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-11. สืบค้นเมื่อ 2011-05-03.
- ↑ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมบำเพ็ญพระราชกุศลพระราชทาน เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-27. สืบค้นเมื่อ 2011-05-03.
- ↑ แวดวงคาทอลิก - พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จเป็นองค์ประธานวันแม่
- ↑ ""องค์ภา" ทรงรับคำท้าไอซ์ บัคเก็ต เพื่อบริจาคมูลนิธิ รพ.ศิริราช". มติชนออนไลน์. 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ ""พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ" มอบถุงยังชีพ 3 พันชุดช่วยผู้ประสบภัยสึนามิ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-16. สืบค้นเมื่อ 2011-03-18.
- ↑ "พระองค์โสม รับสั่งตื่นเต้นเล่นร้อง ละครเวที ซูสีไทเฮา เดอะมิวสิคัล". ไทยรัฐ. 21 มีนาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 31.0 31.1 "พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ ทรง "ร้อง เล่น" ละครเวที ซูสีไทเฮา เดอะมิวสิคัล". ประชาชาติธุรกิจ. 23 เมษายน 2557. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระองค์โสมทรงแสดงละครเวที ซูสีไทเฮา เดอะ มิวสิคัล". ไทยรัฐ. 10 มีนาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงร่วมพิธีบวงสรวงละคร รักเร่ บทประพันธ์ โสภาค สุวรรณ". ช่อง 7. 7 พฤศจิกายน 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-13. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระองค์โสม ร่วมแสดงละครทีวี "รักเร่" ช่อง 7 สี". ไทยรัฐ. 10 พฤศจิกายน 2557. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""พระองค์โสม"ทรงฝากละครเวที "ม่านประเพณีประกาศิตอาญาสวรรค์"". คมชัดลึก. 25 กันยายน 2559. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""ม่านประเพณี" เบิกโรงแล้ว "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ" ทรงร่วมแสดง". ผู้จัดการออนไลน์. 28 กันยายน 2559. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "หมายกำหนดการ ที่ 23/2519 พระราชพิธีอภิเษกสมรส" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 29 (157ง): 4123. 28 ธันวาคม พ.ศ. 2519.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 38.0 38.1 "ประกาศสถาปนา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (15ข): 7. 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-05. สืบค้นเมื่อ 2019-05-05.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์มหาจักรีบรมราชวงศ์ เก็บถาวร 2019-05-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 94, ตอน 9 ง ฉบับพิเศษ, 27 มกราคม พ.ศ. 2520, หน้า 6
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 101, ตอน 67 ง ฉบับพิเศษ, 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2527, หน้า 7
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 108, ตอน 140 ง ฉบับพิเศษ, 12 สิงหาคม พ.ศ. 2534, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 109, ตอน 154 ง ฉบับพิเศษ, 14 ธันวาคม พ.ศ. 2535, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ปฐมดิเรกคุณภรณ์ จำนวน ๘ พระองค์) เก็บถาวร 2011-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 112, ตอน 17 ข เล่มที่ 003, 4 ธันวาคม พ.ศ. 2538, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ (จำนวน ๑๒ ราย), เล่ม 124, ตอน 4 ข, 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2550, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม 98, ตอน 4 ง, 13 มกราคม พ.ศ. 2524, หน้า 94
- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาต ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (60ง ฉบับพิเศษ): 12. 16 พฤษภาคม 2528. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
- บรรณานุกรม
- แถมสิน รัตนพันธุ์. ใกล้เบื้องพระยุคลบาท 'กับลัดดาซุบซิบ'. พิมพ์ครั้งที่ 7, กรุงเทพฯ : ร่วมด้วยช่วยกัน, พฤษภาคม 2548. 270 หน้า. ISBN 974-9785-18-5
- ประยุทธ สิทธิพันธ์. พระราชประวัติและพระบรมฉายาลักษณ์เนื่องในพระราชพิธีอภิเษกสมรส สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาฯ กับความเป็นมาของตำแหน่งมกุฎราชกุมาร. กรุงเทพฯ : บำรุงนุกูลกิจ. ม.ป.ป.