หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร (2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2547) เป็นอดีตรองประธานศาลฎีกา และหนึ่งในสมาชิกคณะองคมนตรีไทยในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นพระโอรสในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ กับหม่อมหลวงบัว กิติยากร เป็นพระเชษฐาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นพระบิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ และเป็นพระอัยกาฝ่ายพระมารดาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
หม่อมราชวงศ์ อดุลกิติ์ กิติยากร ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม., ภ.ป.ร.2 | |
---|---|
องคมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 9 เมษายน พ.ศ. 2535 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 (73 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
บิดา | พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ |
มารดา | หม่อมหลวงบัว กิติยากร |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร |
บุตร | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ หม่อมหลวงสราลี กิติยากร |
ประวัติและครอบครัวแก้ไข
หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร เป็นพระโอรสในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ กับหม่อมหลวงบัว กิติยากร (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์) เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 มีชื่อเล่นว่า คุณชายอ้วน[1] มีพี่น้อง 4 คน คือ หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร, สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง, และท่านผู้หญิงบุษบา สธนพงศ์ และเป็นพระมาตุลาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ สมรสกับ หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล[2] (พระธิดาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล กับหม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล) เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2499[3] มีธิดา 2 คน[4] คือ
- หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร (ประสูติ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2500) ต่อมาได้รับสถาปนาเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาฯ[5], พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ[6] และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ[7] อภิเษกสมรสกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ขณะยังทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร มีพระราชธิดา 1 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
- หม่อมหลวงสราลี กิติยากร (เกิด 8 เมษายน พ.ศ. 2509) สมรสกับธีรเดช จิราธิวัฒน์ มีบุตร 2 คน[8]
การศึกษาแก้ไข
- โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- วิชากฎหมายจากสำนักอบรมกฎหมายมิดเดิลเทมเปิล ประเทศอังกฤษ
- เนติบัณฑิตไทย จากสำนักอบรมเนติบัณฑิตยสภา
การทำงานแก้ไข
- ผู้ช่วยผู้พิพากษา รับตำแหน่งผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงใหม่
- ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง
- ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
- อธิบดีศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง
- รองประธานศาลฎีกา
- องคมนตรี[9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[10]
- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
- พ.ศ. 2531 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[13]
- พ.ศ. 2535 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2) [14]
ลำดับสาแหรกแก้ไข
ลำดับสาแหรกของหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ปกมนตรี. เขียนถึงสมเด็จ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:เลมอนที. 2547, หน้า 74
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักพระราชวัง ที่ ๓/๒๔๙๙ เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ (หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล), เล่ม ๗๓, ตอน ๕๙, ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ หน้า ๒๑๒๖
- ↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ ชีวประวัติหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร, เล่ม ๙๔, ตอน ๑๓ ก, ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๐, หน้า ๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เฉลิมพระนาม (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ), เล่ม ๑๐๘, ตอน ๑๔๐ก ฉบับพิเศษ, ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๔, หน้า ๑
- ↑ "ประกาศสถาปนา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (15ง): 7. 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-05. สืบค้นเมื่อ 2020-02-23.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ เปิดธุรกิจส่วนตัวสะใภ้จิราธิวัฒน์[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี (หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม ๑๐๘ ตอน ๗๘ ฉบับพิเศษ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ หน้า ๑
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย)เล่ม ๑๐๖ ตอน ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ หน้า ๑
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-08-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓, ตอน ๑๒ ฉบับพิเศษ, ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๙, หน้า ๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๕, ตอน ๒๑๖, ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญรัตนาภรณ์ (หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร, ท่านผู้หญิงบุษบา กิติยากร สธนพงศ์, คุณกัญดา ธรรมมงคล), เล่ม ๑๑๐, ตอน ๒ ง, ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๖ ๔, หน้า
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |