เจ้าจอมมารดาอ่วม ในรัชกาลที่ 5
เจ้าจอมมารดาอ่วม ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เจ้าจอมมารดาอ่วม | |
---|---|
เกิด | อ่วม พิศลยบุตร 10 เมษายน พ.ศ. 2399 ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 26 เมษายน พ.ศ. 2434 (35 ปี) ประเทศสยาม |
มีชื่อเสียงจาก | พระสนมในรัชกาลที่ 5 |
คู่สมรส | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
บุตร | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ |
บิดามารดา |
|
เป็นพระปัยยิกา (ทวด) ใน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ประวัติ
แก้เป็นธิดาของพระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ (เจ้าสัวยิ้ม พิศลยบุตร) อภิมหาเศรษฐีเจ้าของเรือกลไฟชื่อ "เจ้าพระยา" เดินทางระหว่างกรุงเทพฯ - สิงคโปร์ ซึ่งเป็นเพียงลำเดียวในสมัยนั้น มารดาชื่อ "ปราง" (สกุลเดิม "สมบัติศิริ") ท่านเกิดเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2399[1] มีน้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน คือ
- หลวงสาทรราชายุกต์ (เจ้าสัวยม พิศลยบุตร)
- เจ้าจอมเอม (พิศลยบุตร) ใน ร.5
- เจ้าจอมช่วง (พิศลยบุตร) ใน ร.5
- หม่อมลมุล (พิศลยบุตร) ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
- หม่อมหุ่น (พิศลยบุตร) ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
- หม่อมศรี (พิศลยบุตร) ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
เมื่อท่านมีอายุได้ 17-18 ปี ขณะนั้นเป็นช่วงต้นรัชกาลที่ 5 บ้านของท่านอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อกระบวนพยุหยาตราชลมารคผ่านเสด็จครั้งใด เจ้าจอมและน้องชายก็ดูหน้าต่างเพื่อชมพระบารมีเสมอ มีอยู่ครั้งหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นพักตร์รูปร่างหน้าตาของเจ้าจอม จึงทรงรับมาเป็นเจ้าจอมในพระองค์ท่านก็ได้ถวายตัวรับใช้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนับตั้งแต่นั้นมา
ท่านได้ประสูติกาลพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ
- พระองค์เจ้าชายกิติยากรวรลักษณ์ พระราชโอรสองค์ที่ 12 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน 7 ปีจอ ตรงกับวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2417 ในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาเป็น"กรมพระจันทบุรีนฤนาถ" ทรงเป็นต้นราชสกุลกิติยากร
เจ้าจอมมารดาอ่วมมีสุขภาพที่ไม่แข็งแรง เจ็บป่วยเรื่อยมาหลังจากประสูติพระราชโอรส และในที่สุดท่านก็ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2434
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของเจ้าจอมมารดาอ่วม ในรัชกาลที่ 5 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ เจฟฟี่ ไฟน์สโตน. จุฬาลงกรณ์ราชสันตติวงศ์ พระบรมราชวงศ์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ:พิษณุโลกการพิมพ์. 2532
- สาระ มีผลกิจ. ราชสำนักฝ่ายในสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส, 2551. 296 หน้า. ISBN 9744516817 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
- ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ฐานบุ๊คส์, ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2554. 368 หน้า. ISBN 9786167058580