ท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา)

ท้าววนิดาพิจาริณี มีนามเดิมว่า บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุญธร; 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2429 – 2 มีนาคม พ.ศ. 2513) บ้างเรียก หม่อมบาง[a] เป็นอนุภรรยาของเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เป็นพระอัยยิกาฝ่ายพระชนนีในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระปัยยิกาฝ่ายพระราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

คุณ

ท้าววนิดาพิจาริณี
(บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา)

ท้าววนิดาพิจาริณีเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2493
เกิดบาง บุญธร
4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2429[1]
เสียชีวิต2 มีนาคม พ.ศ. 2513 (84 ปี)
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จังหวัดพระนคร
ตำแหน่งท้าววนิดาพิจาริณี (2493–2513)
คู่สมรสเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์)
บุตรหม่อมหลวงสงบ สนิทวงศ์
หม่อมหลวงบัว กิติยากร
หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์
ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค
บุพการีรวย บุญธร
แหว บุญธร

ประวัติ แก้

ชีวิตตอนต้น แก้

ท้าววนิดาพิจาริณี เกิดเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2429[1] เป็นบุตรคนที่สามจากทั้งหมดห้าคนของนายรวย บุญธร กับนางแหว (สกุลเดิม ณ บางช้าง)[3] มารดาของนายรวยเป็นสตรีจากสกุลบุณยรัตพันธุ์[1] ซึ่งสกุลนี้มีบรรพชนเป็นพราหมณ์พฤฒิบาศ รับราชการกรมวังมาแต่กรุงเก่า[4] ในวัยเยาว์ นายรวยเคยสนองพระเดชพระคุณ เป็นจางวางในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย ซึ่งมีเจ้าจอมมารดามาจากสกุลบุณยรัตพันธุ์ ทรงรับไว้เป็นบุตรบุญธรรม[1] ส่วนนางแหว เป็นราชินิกุล ณ บางช้าง เป็นบุตรีของนายทัด และเป็นหลานสาวของจางวางด้วงในกรมพระพิพิธโภคภูเบนทร โดยนายทัดเป็นน้องชายของหม่อมแย้มในกรมหลวงวงศาธิราชสนิท[5] สืบเชื้อสายจากท่านยายเจ้ามุข พี่สาวของพระชนกทอง พระราชชนกของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี[6][7]

ท้าววนิดาพิจาริณีมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ได้แก่ ไหว หวั่น เชียงเมี่ยง และม่อย[5] โดยหวั่น เศวตะทัต ผู้เป็นพี่สาว ได้สมรสกับขุนญาณอักษรนิติ (ผล เศวตะทัต) มีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อ อุบะ ได้เข้าเป็นอนุภรรยาของเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์อีกคนหนึ่ง

ท้าววนิดาพิจาริณีมีอุปนิสัยสงบเสงี่ยมตามวิสัยของกุลสตรีไทยโบราณ รวมทั้งมีคุณสมบัติในการทำและปรุงอาหารได้รสชาติดี[8]

ชีวิตสมรสและครอบครัว แก้

ท้าววนิดาพิจาริณีเข้าเป็นภรรยาของเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) ซึ่งท้าววนิดาพิจาริณีมีศักดิ์เป็นลูกผู้น้องของสามี ทั้งสองมีบุตรธิดาด้วยกันทั้งหมดสี่คน ได้แก่[9]

  1. หม่อมหลวงสงบ สนิทวงศ์ ถึงแก่กรรมตั้งแต่เด็ก[10]
  2. หม่อมหลวงบัว กิติยากร (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 – 19 กันยายน พ.ศ. 2542)[11] เสกสมรสกับพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ มีพระโอรส-ธิดาหนึ่งพระองค์ กับอีกสามคน[12] หนึ่งในนั้นคือสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
  3. พลโท นายแพทย์ หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ (26 สิงหาคม พ.ศ. 2459 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2530) สมรสกับท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา มีบุตรสามคน[13]
  4. ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค (23 มิถุนายน พ.ศ. 2465 – 23 เมษายน พ.ศ. 2543) สมรสกับสุรเทิน บุนนาค มีบุตรสองคน[14]

ท้าววนิดาพิจาริณีและเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์เป็นผู้เลี้ยงดูสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่มีชันษา 3 เดือน ในระหว่าง พ.ศ. 2475-2477 เมื่อหม่อมหลวงบัว กิติยากร ธิดา ต้องติดตามหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร ผู้สามี ไปปฏิบัติราชการตำแหน่งเลขานุการเอก ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา[15] หลังเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว ท้าววนิดาพิจาริณียังอาศัยอยู่ที่บ้านถนนพระราม 6 กระทั่งช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จึงย้ายไปอาศัยกับหม่อมหลวงบัวที่วังเทเวศร์ ก่อนย้ายไปอาศัยกับหม่อมหลวงจินดาที่ตำบลบางซ่อน หลังบ้านที่บางซ่อนถูกระเบิดจากภัยสงคราม จึงได้ย้ายกลับมารวมกันที่วังเทเวศร์อีกครั้ง[16] กระทั่งในช่วงบั้นปลายชีวิตจึงได้ไปอาศัยร่วมกับครอบครัวของท่านผู้หญิงมณีรัตน์ที่บ้านนอกเมือง ตำบลหลักสี่ อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร[17]

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น "ท้าววนิดาพิจาริณี" เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2493[18] อันถือเป็นการสถาปนายศบรรดาศักดิ์ชั้นท้าวนาง สำหรับข้าราชสำนักฝ่ายใน ตามโบราณราชประเพณีเป็นครั้งสุดท้าย

ถึงแก่อนิจกรรม แก้

ท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) เข้ารักษาตัวด้วยอาการปอดบวมและหัวใจวายตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 กระทั่งถึงแก่อนิจกรรมเมื่อเวลา 01.19 น. ของวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2513 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์[19] พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานน้ำอาบศพ การนี้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศไม้สิบสองประกอบศพ พร้อมเครื่องประกอบอิสริยยศ ตั้งศพ ณ ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร[20] และพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2513 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[21]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

ลำดับสาแหรก แก้

อ้างอิง แก้

หมายเหตุ
  1. "หม่อม" เป็นคำนำหน้าสตรีที่เป็นอนุภรรยาของขุนนางชั้นเจ้าพระยาและพระยาชั้นผู้ใหญ่ ครั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวตราพระราชกฤษฎีกาคำนำหน้าสตรี พ.ศ. 2460 คำว่าหม่อมสำหรับภรรยาขุนนางเป็นอันยกเลิกไป[2]
เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 พุทธานุวัตร, หน้า 1
  2. เล็ก พงษ์สมัครไทย. "คำว่า หม่อม ใช้มาตั้งแต่เมื่อใด? หม่อมแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร?". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 28 Jul 2022.
  3. สมภพ ภิรมย์, ศาสตราจารย์ น.อ.. "สาแหรกครอบครัว (Family Tree) ลำดับพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์เฉพาะสายที่สืบราชสมบัติ". พระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์. 2528
  4. สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ภาค 3, หน้า 131
  5. 5.0 5.1 พุทธานุวัตร, หน้า 2
  6. ทรงวิทย์ แก้วศรี. เกียรติคุณหม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์, มมป., หน้า 15
  7. พุทธานุวัตร, หน้า 17
  8. พุทธานุวัตร, หน้า 6
  9. พุทธานุวัตร, หน้า 3
  10. เสด็จฯ ดอย จดหมายเหตุรายวันคราประทับภูพิงคราชนิเวศน์ เชียงใหม่ พ.ศ. 2513. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในการพระราชทานเพลิงศพท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) ท.จ.ว., หน้า 14
  11. ราชินีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันถึงแก่พิราลัยหม่อมหลวงบัว กิติยากร
  12. "ประวัติ หม่อมหลวงบัว กิติยากร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-29. สืบค้นเมื่อ 2012-04-22.
  13. "อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลโทนายแพทย์ มล. จินดา สนิทวงศ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-04-22.
  14. "ชมรมสายสกุลบุนนาค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-07. สืบค้นเมื่อ 2012-04-22.
  15. สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ. รัตนราชินีศรีประเทศ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, หน้า 14-15
  16. พุทธานุวัตร, หน้า 5-6
  17. พุทธานุวัตร, หน้า 8
  18. "เรื่องพระราชทานบรรดาศักดิ์ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (25ง): 1703–1704. 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2493. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  19. พุทธานุวัตร, หน้า 9
  20. พุทธานุวัตร, หน้า 11
  21. เสด็จฯ ดอย จดหมายเหตุรายวันคราประทับภูพิงคราชนิเวศน์ เชียงใหม่ พ.ศ. 2513. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในการพระราชทานเพลิงศพท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) ท.จ.ว., หน้าปก
  22. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2493" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1805 (25): 1807. 2 พฤษภาคม 2493.
  23. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (29 ง): 2049. 12 พฤษภาคม 2496. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  24. 24.0 24.1 ลำดับราชินิกูลบางช้าง. พระนคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร. 2501. p. 73.
บรรณานุกรม