หม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล

หม่อมใหญ่ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล

หม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์; 4 ตุลาคม พ.ศ. 2452 – 28 ธันวาคม พ.ศ. 2527)[1] เป็นหม่อมใหญ่ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล

หม่อมหลวง

สร้อยระย้า ยุคล

เกิดหม่อมหลวงสร้อยระย้า
4 ตุลาคม พ.ศ. 2452
อำเภอบางรัก จังหวัดพระนคร อาณาจักรสยาม
เสียชีวิต28 ธันวาคม พ.ศ. 2527 (75 ปี)
โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล (พ.ศ. 2475–2527)
บุตรท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร
หม่อมเจ้าฐิติพันธุ์ ยุคล
คุณหญิงรังษีนภดล ยุคล
บิดามารดาหม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์
ยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
ลายมือชื่อ

ประวัติ

แก้

หม่อมหลวงสร้อยระย้าเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2452 เป็นธิดาคนโตจากทั้งหมดของหม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ กับยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม มังกรพันธุ์) มีน้องบิดามารดาเดียวกันอีกสามคน ได้แก่ หม่อมหลวงซัง สนิทวงศ์ ท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์ และหม่อมหลวงคงคา สนิทวงศ์[2]: 35  โดยชื่อ "สร้อยระย้า" ตั้งตามชื่อสายพันธุ์ข้าวที่บิดาผสมขึ้นออกรวงในวันที่บุตรสาวเกิดพอดี[3]: 41 

หม่อมหลวงสร้อยระย้าสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 มีพระโอรส-ธิดาสามองค์ คือ[4]

  1. ท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร (เดิม หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล หรือ ท่านหญิงปิ๋ม; ประสูติ 24 กันยายน พ.ศ. 2476) กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร[5] มีธิดาหนึ่งพระองค์และหนึ่งคน คือพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ และหม่อมหลวงสราลี กิติยากร
  2. หม่อมเจ้าฐิติพันธุ์ ยุคล (ท่านชายกบ; 11 ตุลาคม พ.ศ. 2478 – 27 สิงหาคม พ.ศ. 2538) มีหม่อมสามคน คือหม่อมอุ่นเรือน (สกุลเดิม ธรรมเสน), หม่อมวาสนา (สกุลเดิม ใสเครือ) และโชติกา ขวัญฐิติ (เดิม นิภาพร รอดอ่อน; หม่อมลูกปลา) มีโอรส-ธิดาสามคน คือ หม่อมราชวงศ์นิภานพดารา, หม่อมราชวงศ์จุลรังษี และหม่อมราชวงศ์พงศ์ฐิติพันธุ์ ยุคล
  3. คุณหญิงรังษีนภดล ยุคล (เดิม หม่อมเจ้ารังษีนภดล ยุคล หรือ ท่านหญิงอ๋อย; 2 ตุลาคม พ.ศ. 2480 – 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2560) กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับหม่อมหลวงตวง สนิทวงศ์[6] ต่อมาได้หย่าและสมรสใหม่กับนายแพทย์วิเชียร ตระกูลสิน มีโอรส-ธิดากับสามีคนแรกสี่คน คือ สายฝน, ดุลสิทธิ์, รังษิดล และตรรค สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

หม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2527 สิริอายุ 75 ปี ในการนี้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศไม้สิบสองเป็นเกียรติยศ และเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2528 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[7]

เกียรติยศ

แก้

ฐานันดรศักดิ์

แก้
  • 4 ตุลาคม พ.ศ. 2452 − 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 : หม่อมหลวงสร้อยระย้า
  • 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 − 1 มกราคม พ.ศ. 2458 : หม่อมหลวงสร้อยระย้า สนิทวงษ์[8]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2458 − 24 มีนาคม พ.ศ. 2468 : หม่อมหลวงสร้อยระย้า สนิทวงษ์ ณ กรุงเทพ[9]
  • 24 มีนาคม พ.ศ. 2468 − 5 มิถุนายน พ.ศ. 2472 : หม่อมหลวงสร้อยระย้า สนิทวงศ์ ณ อยุธยา[9]
  • 5 มิถุนายน พ.ศ. 2472 − 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 : หม่อมหลวงสร้อยระย้า สนิทวงศ์[9]
  • 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 − 28 ธันวาคม พ.ศ. 2527 : หม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

ลำดับสาแหรก

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Mom Luang Soiraya Sanidvongs
  2. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพคุณยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์, 2529. 129 หน้า.
  3. ศุภกร โรจนนินทร์, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ. ปาฐกถา "เปรม บุรี" ครั้งที่ 19. [ม.ป.ท.] : [ม.ป.พ.], 22 ธันวาคม 2565. 53 หน้า.
  4. พิมาน แจ่มจรัส. รักในราชสำนัก. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์, พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2544. 448 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-341-064-3
  5. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักพระราชวัง ที่ ๓/๒๔๙๙ เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์, เล่ม 73, ตอน 59 ง, 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 หน้า 2126
  6. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักพระราชวัง ที่ ๒/๒๔๙๙ เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์, เล่ม 73, ตอน 59 ง, 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 หน้า 2125
  7. สร้อยระย้า ยุคล, หม่อมหลวง - ชีวประวัติ (สองเล่มชุด)[ลิงก์เสีย]
  8. "ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 3" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ง): 836. 27 กรกฎาคม 2456.
  9. 9.0 9.1 9.2 กนกวลี ชูชัยยะ (2537). "การใช้สร้อย "ณ อยุธยา" ต่อท้ายนามสกุลสำหรับราชสกุล". สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2504" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 78 (40): 1282. 9 พฤษภาคม 2504. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-03-26.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  วิกิซอร์ซมีงานที่เกี่ยวข้องกับ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8244/2542 (คดีมรดกหม่อมหลวงสร้อยระย้า)