วังเทเวศร์ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของวังปากคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ หม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร และทายาทในราชสกุลกิติยากร ตั้งอยู่บริเวณถนนกรุงเกษม ปากคลองผดุงกรุงเกษม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ทางทิศใต้ติดกับวังเทวะเวสม์ ทางทิศตะวันออกติดกับวัดนรนาถสุนทริการาม

วังเทเวศร์
แผนที่
ชื่ออื่นวังพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเปิดใช้งาน
ประเภทวัง
ที่ตั้งแขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร
เมือง กรุงเทพมหานคร
ประเทศ ไทย
พิกัด13°46′15″N 100°30′02″E / 13.77083°N 100.50056°E / 13.77083; 100.50056
ข้อมูลทางเทคนิค
พื้นที่26ps
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนวังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาท (วังเทเวศร์)
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขอ้างอิง0005595

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานที่ดินบริเวณป้อมหักกำลังดัสกรซึ่งไม่ได้ใช้งานแล้ว สร้างพระตำหนักพระราชทาน รวมกับที่สวนอีก 2 แปลงที่ทรงซื้อไว้ และที่ดินฝ่ายเจ้าจอมมารดาเหม พระมารดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ ซึ่งพระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ น้อมเกล้าฯ ถวายรวมเป็นอาณาบริเวณตั้งแต่ริมแม่น้ำเจ้าพระยามาจนถึงบริเวณถนนกรุงเกษม

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปีพ.ศ. 2475 ทายาทของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ได้แบ่งขายที่ดินวังปากคลองผดุงกรุงเกษม ทำให้พื้นที่ในวังปากคลองผดุงกรุงเกษมแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ บริเวณตำหนักหม่อมเจ้านักขัตรมงคล ปัจจุบันเป็นที่พำนักของทายาทราชสกุลกิติยากร ต่อมาภายหลังเป็นวังเทเวศร์, บริเวณตำหนักหม่อมเจ้า ขจรจบกิตติคุณ กิติยากร ซึ่งต่อมาได้ขายที่ดินและตำหนักให้แก่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปีพ.ศ. 2508 [1]

ตำหนักในวังปากคลองผดุงกรุงเกษม ประกอบด้วย

  • พระตำหนักใหญ่ เป็นพระตำหนักที่ประทับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2439 เป็นตึก 2 ชั้น ทรงสี่เหลี่ยม ตกแต่งหน้าต่างชั้นบนเป็นซุ้มโค้งกลมประดับกระจกเป็นรัศมีพระอาทิตย์ครึ่งดวง เฉลียงชั้นสองของมุขหน้าเป็นเฉลียงกว้าง บนเสาของราวลูกกรงตั้งกระถางหล่อปลูกต้นไม้ เสาเหลี่ยมรับเฉียงประกอบด้วยซุ้มโค้งกลม ตัวอาคารมีเฉลียงเล็กทุกด้าน ผนังประกอบด้วยเสาอิงแบบดอริกและไอโอนิก ผนังชั้นล่างสลักเป็นลายอิฐ ผนังส่วนใต้หลังคาเจาะช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า สลักปูนเป็นกรอบและมีหูช้างสลักลายประดับใต้ชายคา ช่องลมเหนือประตูตกแต่งด้วยลายไม้ฉลุลายละเอียด บริเวณสนามวงกลมด้านหน้าตั้งตุ๊กตาปูนปั้นแบบกรีก กระถางปูนประดับลายปูนปั้น
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ทรงประทับอยู่ที่ตำหนักนี้ตลอดพระชนม์ชีพ ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) ได้ซื้อตำหนักนี้เป็นที่อยู่ของตระกูลอนิรุธเทวา หลังจากที่ได้ขายบ้านบรรทมสินธุ์ ที่ถนนพิษณุโลกให้รัฐบาลแล้ว ซึ่งปัจจุบันพระตำหนักนี้อยู่ในความดูแลของ พ.อ.เฟื่องวิชชุ์ อนิรุทธเทวา ทายาทรุ่นที่ 3 ของ พระยาอนิรุทธเทวา[2]

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°46′16″N 100°30′3″E / 13.77111°N 100.50083°E / 13.77111; 100.50083

  1. "งดงามทรงคุณค่า กว่า 120 ปี "พระตำหนักใหญ่" แห่งวังปากคลองผดุงกรุงเกษม". mgronline.com. 2022-08-13.
  2. "งดงามทรงคุณค่า กว่า 120 ปี "พระตำหนักใหญ่" แห่งวังปากคลองผดุงกรุงเกษม". mgronline.com. 2022-08-13.