วังเทวะเวสม์
วังเทวะเวสม์ เป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระราชทานสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เมื่อปี พ.ศ. 2457 บนที่ดิน 24 ไร่ 3 งาน 78 ตารางวา ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ทางทิศเหนือของวังบางขุนพรหม ทางทิศใต้ของวังเทเวศร์ บนถนนสามเสน ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ โดยเป็นบ้านประจำตระกูล "เทวกุล"
วังเทวะเวสม์ | |
---|---|
ตำหนักใหญ่ | |
ที่มา | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ |
ข้อมูลทั่วไป | |
สถานะ | เปลี่ยนสภาพ |
ประเภท | วัง |
ที่ตั้ง | แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร |
เมือง | กรุงเทพมหานคร |
ประเทศ | ไทย |
เริ่มสร้าง | พ.ศ. 2457 |
พิธีเปิด | พ.ศ. 2461 |
ปรับปรุง | พ.ศ. 2538 |
เจ้าของ | ธนาคารแห่งประเทศไทย |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
พื้นที่ | 24 ไร่ 3 งาน 78 ตารางวา |
การออกแบบและการก่อสร้าง | |
สถาปนิก | เอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์ |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | วังเทวะเวสม์ |
ขึ้นเมื่อ | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 |
เป็นส่วนหนึ่งของ | โบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร |
เลขอ้างอิง | 0000027 |
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของธนาคารแห่งประเทศไทย |
ตำหนักใหญ่ วังเทวะเวสม์ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างโดยเอดเวิร์ด ฮีลีย์ สถาปนิกชาวอังกฤษ ลักษณะเป็นอาคารแบบยุโรป 3 ชั้น หันหน้าไปทางแม่น้ำเจ้าพระยา ศิลปะแบบนีโอคลาสสิค ประกอบด้วยเสาไอโอนิก (Ionic) ที่มุขทางเข้าตำหนัก และเสาแบบคอรินเธียน (Corinthian) ที่ผนังอาคารชั้นบน ซึ่งออกแบบโดย การก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2461
อาคารย่อย ประกอบด้วยตึก 8 อาคาร ออกแบบโดยเอมิลโย โจวันนี กอลโล (E.G. Gollo) สถาปนิกชาวอิตาเลียน ผู้ดูแลการก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม
- ตำหนักใหญ่
- เรือนหม่อมพุก
- เรือนหม่อมลม้าย
- เรือนหม่อมปุ่น - (ปัจจุบัน ยังเป็นที่พำนักของทายาทราชสกุลเทวกุล)
- เรือนหม่อมจันทร์
- ตำหนักพระโอรสพระธิดา ประสูติแต่หม่อมพุก
- ตำหนักหม่อมเจ้าปรีดิเทพพงษ์ - (ปัจจุบันขายให้ นายบัณฑูร ล่ำซำ นัดดา (หลานตา) ของหม่อมเจ้าปรีดิเทพพงษ์ ไปสร้างใหม่ที่ "บ้านสามญาณ" ใกล้วัดญาณสังวราราม ตั้งชื่อว่า เรือนเทวะเวสม์)
- เรือนแพริมน้ำ
ปัจจุบัน อาคารทั้ง 8 อาคาร มีจำนวน 5 อาคาร คือ ตำหนักใหญ่ เรือนหม่อมลม้าย เรือนหม่อมจันทร์ ตึกหม่อมปุ่น และเรือนแพริมน้ำ
หลังจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2466 กระทรวงสาธารณสุขได้ซื้อวังเทวะเวสม์จากทายาท และได้ใช้เป็นที่ตั้งกระทรวงตั้งแต่ พ.ศ. 2493 เมื่อหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขมากขึ้นและคับแคบ ประกอบกับธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งอยู่ที่วังบางขุนพรหมติดกันทางทิศใต้ ต้องการขยับขยาย จึงได้มีการเจรจาแลกพื้นที่กัน โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้ซื้อที่ดิน 400 ไร่ ในจังหวัดนนทบุรี พร้อมทั้งสร้างอาคารให้ แลกกับการเข้าไปเป็นเจ้าของพื้นที่ทั้งหมดของวังเทวะเวสม์ เมื่อ พ.ศ. 2530
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการบูรณะซ่อมแซมโบราณสถานในวังเทวะเวสม์ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 ได้บูรณะเรือนแพ และตำหนักใหญ่ แล้วเสร็จ เปิดเป็นพิพิธภัณฑสถาน มีห้องแสดงพระประวัติของบุคคลสำคัญ และห้องแสดงวิธีอนุรักษ์โบราณสถานวังบางขุนพรหมและวังเทวะเวสม์ในเชิงวิชาการด้านสถาปัตยกรรม สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาเสด็จฯ มาทรงเป็นประธานในพิธีเปิดวังเทวะเวสม์ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547
อ้างอิง
แก้- วังเทวะเวสม์ เก็บถาวร 2007-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ชม "วังเทวะเวสม์" วังแห่งบิดาการต่างประเทศ เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- คืนความสง่างามให้...วังเทวะเวสม์ เก็บถาวร 2007-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- บ้านสามญาณ ล่ำซำ พุทธมามกะ และข้าแผ่นดิน[ลิงก์เสีย]
- http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=1966
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ วังเทวะเวสม์
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์