ยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
ยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม มังกรพันธุ์; 5 มีนาคม พ.ศ. 2436 – 16 มีนาคม พ.ศ. 2529) เป็นภรรยาของหม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ เป็นมารดาของหม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล และท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์ เป็นพระปัยยิกาฝ่ายพระชนนีของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ
ยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา | |
---|---|
เกิด | ยี่สุ่น มังกรพันธุ์ 5 มีนาคม พ.ศ. 2436 |
เสียชีวิต | 16 มีนาคม พ.ศ. 2529 (93 ปี) โรงพยาบาลสมิติเวช กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ |
บุตร | 4 คน |
บิดามารดา | กิมเฮง มังกรพันธุ์ ทองอยู่ ปักษานนท์ |
ประวัติ
แก้ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา
แก้ยี่สุ่นเกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2436 เป็นธิดาของศาสนาจารย์ กิมเฮง มังกรพันธุ์ กับทองอยู่ (สกุลเดิม ปักษานนท์)[1]: 30 ในครอบครัวเชื้อสายจีน[2]: 43 บิดาเป็นอาจารย์สอนศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์[2]: 41 เป็นศิษยาภิบาลประจำคริสตจักรวัฒนา[3] และคริสตจักรที่ 1 สำเหร่[4] บิดาเห็นความสำคัญของการศึกษาจึงส่งให้บุตรสาวไปเรียนที่โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของอาคารคณะพยาบาลศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช)[2]: 41 เธอพูดภาษาอังกฤษได้คล่อง แต่งกายดี วางตัวเหมาะสมตามธรรมเนียมร่วมสมัย พร้อมกับรักษาคุณลักษณะของหญิงไทยได้อย่างไร้ข้อบกพร่อง[1]: 30
ชีวิตสมรส
แก้หลังเข้าสู่วัยสาวได้ไม่นาน ยี่สุ่นสมรสกับหม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ โอรสในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ซึ่งสำเร็จวิชาแพทย์จากยุโรปท่านแรกของเมืองไทย ผู้เพียบพร้อมไปด้วยวัยวุฒิ คุณวุฒิ โภคสมบัติ ทรัพย์สิน และบริวาร ตามความต้องการของผู้ใหญ่ ตามประวัติส่วนตัวของยี่สุ่นระบุว่า "...ต้องใช้คุณสมบัติหลายประการเป็นเครื่องรักษาฐานะ ต้องใช้ความมีน้ำใจเมตตากรุณาเป็นเครื่องผูกไมตรี และต้องใช้ความอุตสาหะวิริยะอย่างมาก เพื่อที่จะอดกลั้น อดทน และข่มใจให้ได้ต่อเนื่อง กระทั่งเหตุอันไม่พึงปรารถนาผ่านพ้นไป และความน่ายินดีทั้งหลายทั้งปวงเข้ามาแทนที่"[1]: 31 ในครอบครัวของสามี ยี่สุ่นวางตัวได้อย่างเหมาะสมและมีใจเอื้ออารี เป็น "คุณพี่" ของบรรดาภรรยาของสามี และเป็น "แม่เลี้ยง" ของลูกต่างภรรยาที่อาศัยร่วมเรือนเดียวกันอย่างกลมเกลียว[1]: 33
ยี่สุ่นมีบุตรกับหม่อมราชวงศ์สุวพันธ์ทั้งหมด 4 คน ดังนี้[1]: 35
- หม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล (4 ตุลาคม พ.ศ. 2452 – 24 ธันวาคม พ.ศ. 2527) เสกสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล
- หม่อมหลวงซัง สนิทวงศ์ (ไม่มีข้อมูล – พ.ศ. 2520) สมรสกับรำไพศรีสอางค์ สนิทวงศ์ (พระนามเดิม หม่อมเจ้ารำไพศรีสอางค์ รพีพัฒน์)
- ท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์ (28 ธันวาคม พ.ศ. 2457 – 17 สิงหาคม พ.ศ. 2543) สมรสกับเชียด อภัยวงศ์
- หม่อมหลวงคงคา สนิทวงศ์ – เสียชีวิตตั้งแต่ยังเยาว์
พระธิดาคนหนึ่งของหม่อมหลวงสร้อยระย้า คือ หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล สมรสกับหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร มีธิดาด้วยกัน คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ อภิเษกสมรสกับพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระธิดาเพียงพระองค์เดียว คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา[2]: 43
ปัจฉิมวัย
แก้ยี่สุ่นเริ่มมีอาการเจ็บป่วยและรักษาตัวที่โรงพยาบาลสมิติเวช การนี้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีได้ประทานแจกันดอกไม้เยี่ยม ส่วนพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงเยี่ยมและประทานเกียรติแก่ยี่สุ่นอย่างสูง[1]: 37
ยี่สุ่นถึงแก่กรรมลงเมื่อเวลา 19.30 น. ของวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2529 ที่โรงพยาบาลสมิติเวช[5]: 21 ศพบำเพ็ญกุศลที่ศาลากวีนิรมิต วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร การนี้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โปรดเกล้าฯ พระราชทานหีบกุดั่นเทียบเท่าผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้า พระราชทานพวงมาลาวางหน้าหีบศพ ทรงรับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ และพระราชทานเพลิงเป็นกรณีพิเศษ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพวงมาลา สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ประทานพวงมาลา[1]: 37–38
การทำงาน
แก้ยี่สุ่นแต่งงานกับหม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ในช่วงที่เขามุ่งมั่นในการทำเกษตรกรรม ยี่สุ่นติดตามสามีไปทุกหนแห่ง หากเป็นท้องที่ทุรกันดารก็ต้องขี่ม้าเข้าไป[1]: 35 สังเกตได้จากนามของบุตร คือ "สร้อยระย้า" โดยตั้งตามชื่อข้าวที่หม่อมราชวงศ์สุวพันธ์ผสมขึ้นใหม่ ซึ่งออกรวงเป็นระย้า เขาจึงตั้งชื่อข้าวพันธุ์ดังกล่าวว่า "สร้อยระย้า" บุตรสาวคนนี้เกิดขึ้นมาในช่วงที่ข้าวพันธุ์นี้ออกรวงพอดี[2]: 43 จนกระทั่งช่วง 16 ปีสุดท้ายในการทำงานของหม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ ยี่สุ่นจะทำงานประดุจผู้ช่วยพยาบาล[1]: 35 ด้วยการใช้ความสามารถด้านภาษาให้เกิดประโยชน์ มีบทบาทสำคัญในการเขียนใบสั่งยาเป็นภาษาอังกฤษ และทำเอกสารส่งผู้ป่วยจากพื้นที่เกษตรกรรมเข้าโรงพยาบาลในเขตเมือง[2]: 44 การทำงานสนับสนุนสามีนี้สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยที่เป็นเด็กและสตรีได้จำนวนมาก[1]: 35
นอกจากนี้ยี่สุ่นยังมีความสามารถด้านการประกอบอาหาร โดยเขียนตำราอาหาร ตำราอาหารของคุณยี่สุ่น ถูกรวบรวมไว้ในตำราอาหาร ตำหรับสายเยาวภา ได้แก่ เยลลี่ผลฝรั่ง แกงอันโจวี แกงตะพาบน้ำเทียม น้ำพริกผัด ขาหมูต้มเค็ม แบบไหหลำ และแกงฮังเล[1]: 81–84
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพคุณยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์, 2529. 129 หน้า.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 ศุภกร โรจนนินทร์, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ. ปาฐกถา "เปรม บุรี" ครั้งที่ 19. [ม.ป.ท.] : [ม.ป.พ.], 22 ธันวาคม 2565. 53 หน้า.
- ↑ "ประวัติโรงเรียน". สมาคมวังหลัง-วัฒนา. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Board BCC". หอประวัติศาสตร์ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ เกียรติคุณหม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์, 2529. 308 หน้า.