จักรีวัชร วิวัชรวงศ์

พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

นายแพทย์ ท่านชายจักรีวัชร วิวัชรวงศ์ มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าจักรีวัชร มหิดล (ท่านชายอ่อง; 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526)[1] เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 3 ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สุจาริณี วิวัชรวงศ์ และเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ปัจจุบันพำนักอยู่สหรัฐ และยังเป็นพระเชษฐาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา

ท่านชายจักรีวัชร วิวัชรวงศ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 (41 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
บุพการี
ญาติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ปู่)

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (ย่า)

เยาวลักษณ์ โกมารกุล ณ นคร (ยาย)
ที่อยู่อาศัยสหรัฐ
ชื่อเล่นท่านชายอ่อง

ประวัติ

แก้

ท่านชายจักรีวัชร ประสูติเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีจอ จัตวาศก จ.ศ. 1344 ตรงกับวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 มีพระเชษฐาพระอนุชาและพระกนิษฐาร่วมพระมารดาสี่องค์ ได้แก่


นอกจากนี้ท่านชายอ่องยังมีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาต่างพระมารดาทั้งสองพระองค์ ได้แก่

1. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

2. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร

การย้ายออกนอกราชอาณาจักร

แก้

หลังจากเสร็จสิ้นพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ด้วยความขัดแย้งในครอบครัว ทำให้หม่อมสุจาริณี มหิดล ณ อยุธยา ในขณะนั้น พาพระโอรส-ธิดาไปประทับยังสหราชอาณาจักร โดยภายหลังพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศที่ "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร" ทรงรับสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา (ขณะนั้นทรงดำรงพระยศที่ "หม่อมเจ้าบุษย์น้ำเพชร มหิดล") พระธิดาองค์เล็ก มาประทับในไทย ซึ่งวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2540 มีหนังสือผ่านสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำสหราชอาณาจักรเพื่อแจ้งต่อฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่า[2] ท่านชายทั้งสี่ได้ถูกถอดออกจากสถานะพระราชวงศ์และไม่มีสิทธิ์ในการใช้ฐานันดร "หม่อมเจ้า" อีกต่อไป ทั้งนี้ได้เปลี่ยนให้ไปใช้นามสกุลพระราชทาน "วิวัชรวงศ์" แทน[2] อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏประกาศการถอดฐานันดรศักดิ์ในราชกิจจานุเบกษา ที่โดยปกติแล้วการลาออกและการถอดถอนจากฐานันดรศักดิ์ของเจ้านายชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปจะต้องลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา

เดินทางกลับไทย

แก้

จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ ได้กลับไทย เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2566[3] และเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ได้เดินทางมาที่ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ เพื่อเดินทางกลับนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยออกเดินทางจากประเทศไทย เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2566 โดยสายการบินเอมิเรตส์[4]

ต่อมาเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2567 จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ ได้โพสต์เฟซบุ๊คส่วนตัวว่า ได้มากลับกราบนมัสการพระอาจารย์ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร นับเป็นการเดินทางกลับประเทศไทยเป็นครั้งที่ 2

การศึกษา

แก้
  • มัธยมศึกษา โรงเรียนพังโบร์น(Pangbourne College) และ โรงเรียนซันนิ่งเดล(Sunningdale School) มณฑลเบิร์กเซียร์ ประเทศอังกฤษ
  • มัธยมศึกษา Trinity Prep School , USA
  • ปริญญาตรี สาขาจิตวิทยา คณะศิลปะและวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยไมอามี รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา (Psychology, College of Arts and Sciences , University of Miami)
  • ปริญญา โท-เอก แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยไมอามี รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา (Doctor of Medicine (MD) , University of Miami)

พิธีกร

แก้
  • รายการ CMIC ทางช่อง YouTube:chakriwat vivacharawongse, MD (พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน)

เกียรติยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
หม่อมเจ้าจักรีวัชร มหิดล
(พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2540)
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนกระหม่อม/หม่อมฉัน
การขานรับกระหม่อม/เพคะ

ชื่อและฐานันดรศักดิ์

แก้
  • หม่อมเจ้าจักรีวัชร มหิดล (26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 - 13 มกราคม 2540)
  • จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ (13 มกราคม พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน)

ลำดับสาแหรก

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "HSH Prince Chakrivajra". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-19. สืบค้นเมื่อ 2015-04-21.
  2. 2.0 2.1 กราบทูล หม่อมเจ้าจุฑาวัชร มหิดล. 13 มกราคม 2540. นายวิทย์ รายนานนท์. สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน
  3. ก้อง (2023-08-13). "'ท่านอ่อง' กลับไทยอีกคน ตั้งใจมาไหว้ 'เสด็จทวด - เสด็จปู่ ร.9'".
  4. "ท่านอ้น-ท่านอ่องเดินทางกลับสหรัฐฯ แล้ว หลังมาไทยในรอบ 27 ปี ขอประชาชนปกป้อง-รักษาประเทศให้ตั้งอยู่ได้บนความยุติธรรมและเสมอภาค". THE STANDARD. 2023-08-15.