สุจาริณี วิวัชรวงศ์
สุจาริณี วิวัชรวงศ์ (เกิด 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2505) หรือนามเดิมคือ หม่อมสุจาริณี มหิดล ณ อยุธยา[1][2] เคยเป็นอดีตหม่อมในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และเป็นอดีตนักแสดงชาวไทย มีชื่อแรกเกิดว่า ยุวธิดา ผลประเสริฐ ชื่อเล่น เบนซ์ และเคยใช้ชื่อในการแสดงว่า ยุวธิดา สุรัสวดี มีผลงานการแสดงภาพยนตร์และละครจำนวนหนึ่งช่วงปี พ.ศ. 2520–2522 แล้วออกจากวงการบันเทิง เป็นพระมารดาใน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
สุจาริณี วิวัชรวงศ์ | |
---|---|
เกิด | 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 ยุวธิดา ผลประเสริฐ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
บิดา | ธนิต ผลประเสริฐ |
มารดา | เยาวลักษณ์ โกมารกุล ณ นคร |
คู่สมรส | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2537–2539) |
บุตร | จุฑาวัชร วิวัชรวงศ์ วัชเรศร วิวัชรวงศ์ จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ วัชรวีร์ วิวัชรวงศ์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา |
อาชีพ | นักแสดง |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2520–2522 |
ผลงานเด่น | กาหลง - เลือดในดิน (2520) ช้อย - แสนแสบ (2521) |
ปัจจุบันสุจาริณีและพระราชโอรสทั้งสี่องค์ ได้แก่ จุฑาวัชร วิวัชรวงศ์, วัชเรศร วิวัชรวงศ์, จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ และวัชรวีร์ วิวัชรวงศ์ พำนักอยู่สหรัฐ[3]
ประวัติ
แก้ชีวิตตอนต้น
แก้สุจาริณีมีชื่อแต่แรกเกิดว่า ยุวธิดา ผลประเสริฐ เป็นธิดาของธนิต ผลประเสริฐ และเยาวลักษณ์ โกมารกุล ณ นคร[4] (วงศ์นาคน้อย) เยาวลักษณ์ เป็นนักร้องวงดนตรีสุนทราภรณ์ ที่มีชื่อเสียงและมีผลงานเพลงจำนวนหนึ่ง เธอเป็นธิดาของ นายเล็ก วงศ์นาคน้อย กับนางสมัคร วงศ์นาคน้อย คุณตา ของเธอ คือ นายฉันท์ โกมารกุล ณ นคร คุณตาของเธอ ยังเป็นพี่น้องกับ เจ้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร) อีกด้วยสกุล โกมารกุล ณ นคร เป็นราชสกุลเชื้อสายตรงพระเจ้าตากสินมหาราช
หมวดหมู่:ราชสกุลในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ยุวธิดา เธอ สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยนาฏศิลป
ธนิต ผลประเสริฐ (ชื่อเดิม เรือง[5]) บิดาของเธอเป็นอดีตนักแต่งเพลงและนักดนตรีของวงดนตรีสุนทราภรณ์ ซึ่งก่อนหน้านี้เขาได้สมัครเป็นหน่วยกล่อมขวัญในกองทัพไทยช่วงสงครามเกาหลี[6]และสงครามเวียดนาม[5] ทั้งนี้บันทึกจากหนังสือ "อนุสรณ์สุนทราภรณ์ครบรอบ 30 ปี" ระบุว่าธนิตเขียนทำนองเพลงให้วงดนตรีสุนทราภรณ์จำนวน 300 – 400 เพลง[5] [7]
ในวงการบันเทิง
แก้สุจาริณีเข้าสู่วงการแสดงจากการชักนำของศรินทิพย์ ศิริวรรณ โดยใช้ชื่อในการแสดงว่า ยุวธิดา สุรัสวดี และยุวธิดา ผลประเสริฐ ที่เป็นชื่อจริงด้วย แสดงละครโทรทัศน์เรื่อง "กฎแห่งกรรม" และ "มนุษย์ประหลาด" จากนั้นรับบทตัวประกอบในภาพยนตร์ "15 หยก ๆ 16 ไม่หย่อน" (พ.ศ. 2520) กำกับโดยชนะ คราประยูร และบทรองใน "เลือดในดิน" (พ.ศ. 2520) คู่กับสรพงศ์ ชาตรี และอรัญญา นามวงศ์ กำกับโดยสมสกุล ยงประยูร[8] และได้รับบทนำเป็น ช้อย ในภาพยนตร์เรื่อง "แสนแสบ" (พ.ศ. 2521) คู่กับไพโรจน์ สังวริบุตร กำกับโดยไพรัช กสิวัฒน์ "ไอ้ถึก" (พ.ศ. 2522) คู่กับสรพงศ์ ชาตรี กำกับโดยจรัล พรหมรังสี อำนวยการสร้างโดยชาญ มีศรี [8] และ "หัวใจที่จมดิน" (พ.ศ. 2522) กำกับโดยเชาว์ มีคุณสุต คู่กับพิศมัย วิไลศักดิ์, พิศาล อัครเศรณี, อุเทน บุญยงค์ และมารศรี ณ บางช้าง [9][10][11]
ช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2522 ยุวธิดาได้ออกจากวงการบันเทิง โดยปรากฏตามข่าวเพียงว่า "เธอ ยุวธิดา ผลประเสริฐ อดีตนางเอกดาวรุ่งหันหลังให้กับวงการบันเทิงด้วยความจำเป็นหลายประการ..."[12]
อภิเษกสมรสและการหย่า
แก้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะนั้นยังดำรงพระยศเป็นสยามมกุฎราชกุมาร ทรงอภิเษกสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถแล้ว ได้มีปฏิสันถารกับสุจาริณีที่ขณะนั้นเป็นนักแสดงสาวที่มีชื่อเสียง และมีความสัมพันธ์ต่อกันช่วงปี พ.ศ. 2522-2530 ก่อนอภิเษกสมรสกัน สุจาริณีได้ให้ประสูติพระโอรส-ธิดา จำนวนห้าองค์ ได้แก่[13][14]
- จุฑาวัชร วิวัชรวงศ์ หรือ ท่านชายอ้วน (29 สิงหาคม พ.ศ. 2522)[15] สมรสกับริยา กอห์ฟ (Riya Gough)
- วัชเรศร วิวัชรวงศ์ หรือ ท่านชายอ้น (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2524)[16]
- จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ หรือ ท่านชายอ่อง (26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526)[17]
- วัชรวีร์ วิวัชรวงศ์ หรือ ท่านชายอิน (14 มิถุนายน พ.ศ. 2528)[18]
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา (8 มกราคม พ.ศ. 2530)
ล่วงมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 ทั้งสองได้อภิเษกสมรส โดยมีพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จพระราชดำเนินมาร่วมพิธี แต่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนีพันปีหลวงมิได้เสด็จพระราชดำเนินด้วย หลังพระราชพิธีอภิเษกสมรสจึงเปลี่ยนชื่อเป็น หม่อมสุจาริณี มหิดล ณ อยุธยา ทั้งยังได้รับการแต่งตั้งให้มียศเป็น พันตรีหญิง แห่งกองทัพบกไทย และปรากฏตัวร่วมกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในพระราชพิธีต่าง ๆ หลังพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเมื่อพ.ศ. 2539 หม่อมสุจาริณีและพระโอรส-ธิดาทั้งห้าองค์ได้ลี้ภัยไปยังประเทศอังกฤษด้วยเหตุขัดแย้งกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทำให้มีการโปรยใบประกาศรอบพระตำหนักนนทบุรี กล่าวหาว่าหม่อมสุจาริณีคบชู้กับพลอากาศเอกอนันต์ รอดสำคัญ ผู้ช่วยสมุหราชองครักษ์[19] ตามมาด้วยการถอดยศทหารอากาศคนดังกล่าว ด้วยข้อหาผิดวินัยและหลบหนีคดีอาญา[20][21](ทั้งหมดคือข้อกล่าวหา ซึ่งพิสูจน์ไม่ได้ว่าคือความจริงหรือไม่?)
หลังหม่อมสุจาริณีลี้ภัยไปยังต่างประเทศ เธอและพระโอรสทั้งสี่องค์ถูกถอดจากฐานันดรศักดิ์และตำแหน่ง และใช้นามสกุลพระราชทานว่า วิวัชรวงศ์ ขณะที่หม่อมเจ้าบุษย์น้ำเพชร พระธิดาองค์เล็ก ได้กลับสู่ประเทศไทยโดยอยู่ในการดูแลของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร[22] ปัจจุบันคือสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา[23][24] ส่วนสุจาริณีและพระโอรสทั้งสี่องค์ได้พำนักในสหรัฐจนถึงปัจจุบัน[25]
ผลงานภาพยนตร์
แก้- พ.ศ. 2521 15 หยก ๆ 16 ไม่หย่อน
- พ.ศ. 2521 เลือดในดิน
- พ.ศ. 2521 แสนแสบ
- พ.ศ. 2521 กาม
- พ.ศ. 2522 ไอ้ถึก
- พ.ศ. 2522 หัวใจที่จมดิน
- พ.ศ. 2522 รอยไถ
ละคร
แก้ปี | เรื่อง | บทบาท |
---|---|---|
2514 | กฎแห่งกรรม | |
มนุษย์ประหลาด | ||
2520 | คมพยาบาท | น้อย |
2521 | ป่าฆาตกร |
เกียรติยศ
แก้ชื่อและฐานันดรศักดิ์
แก้- ยุวธิดา ผลประเสริฐ (26 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 - กุมภาพันธ์ 2537)
- หม่อมสุจาริณี มหิดล ณ อยุธยา (กุมภาพันธ์ 2537 - พ.ศ. 2539)
- สุจาริณี วิวัชรวงศ์ (พ.ศ. 2539 - ปัจจุบัน)
ทางทหาร
แก้- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2535 พันตรีหญิง[26]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2537 พันโทหญิง[27]
- 26 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ถูกถอดยศทหาร [28]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[29]
อ้างอิง
แก้- ↑ สุจาริณี วิวัชรวงศ์
- ↑ หม่อมสุจาริณี มหิดล ณ อยุธยา
- ↑ Pavin Chachavalpongpun (15 December 2014). "A Thai Princess' Fairy Tale Comes to an End". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 6 April 2015.
- ↑ "ยุวธิดา ผลประเสริฐ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-29. สืบค้นเมื่อ 2020-06-26.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 บ้านคนรักสุนทราภรณ์ (24 มิถุนายน 2553). เสี้ยวหนึ่งของชีวิต กับ ครูธนิต ผลประเสริฐ เก็บถาวร 2011-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกดูเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
- ↑ คีตา พญาไท (10 มิถุนายน 2553). ครูแก้ว อัจฉริยะกุล กับ ครูธนิต ผลประเสริฐ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกดูเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
- ↑ ศิวัสว์ ผุลลาภิวัฒน์. "ประวัติเพลงคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". สโมสรนิสิตเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 8.0 8.1 "รายชื่อนักแสดง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-31. สืบค้นเมื่อ 2007-12-08.
- ↑ ผลงานวงการบันเทิง
- ↑ วงการภาพยนตร์
- ↑ ชีวิตวงการบันเทิง
- ↑ อนุทินดารา. ไทยรัฐ. 27 สิงหาคม 2522. หน้า 4
- ↑ Jeffrey Finestone. The royal family of Thailand: the descendants of King Chulalongkorn. Bangkok : Phitsanulok Pub. Co. 1989, p. 275-276
- ↑ Mom Sucharini Vivajrawongse (née Yuvadhida Polpraserth)
- ↑ "HSH Prince Chudhavajra". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-11. สืบค้นเมื่อ 2011-08-26.
- ↑ HSH Prince Vajaresra
- ↑ "HSH Prince Chakrivajra". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-19. สืบค้นเมื่อ 2011-08-26.
- ↑ HSH Prince Vajravira
- ↑ Christy Campbell (20 October 1996). "Adultery princess casts shadow on untouchables". Web archive. The Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-03-17. สืบค้นเมื่อ 20 July 2011.
When the Queen and Prince Philip arrive in Bangkok next week to begin their state visit to Thailand they will find sanctuary from media salaciousness.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารออกจากประจำการ และพ้นจากราชองครักษ์พิเศษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (44ง): 4. 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2539.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถอดยศทหาร (พลอากาศเอก อนันต์ รอดสำคัญ)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (24ข): 57. 18 ธันวาคม พ.ศ. 2539.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "Principessa Sirivannavari Nariratana di Thailandia". L'Uomo Vogue Italia. 20 พฤศจิกายน 2556. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) (อิตาลี) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาพระอิสริยยศ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ พระธิดาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 122 (10ข): 1. 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2548.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ เจฟฟรี่ ไฟน์สโตน. จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ พระบรมราชวงศ์แห่งประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พิษณุโลกการพิมพ์,2532. หน้า 275 - 276
- ↑ Harriet Alexander (13 December 2014). "Thailand's future uncertain as princess loses royal status". Telegraph. สืบค้นเมื่อ 6 April 2015.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารต่ำกว่าชั้นนายพล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (8 ฉบับพิเศษ): 27. 22 มกราคม 2536.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารต่ำกว่าชั้นนายพล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (22 ข): 32. 28 ธันวาคม 2537.
- ↑ ถูกปลด
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (4 ข): 27. 23 กุมภาพันธ์ 2537.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Yuwathida Pornprasert เก็บถาวร 2019-01-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประวัติจาก photoontour